วิธีดูแลรักษาปอด ให้พร้อมรับมือโควิด-19 ด้วยอุปกรณ์บริหารปอด ที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเครื่องเป่า!

วิธีดูแลรักษาปอด

อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า โรคโควิด-19 มีจุดมุ่งหมายในการทำลายปอดโดยตรง จึงทำให้ผู้ที่ติดเชื้อ มักป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยด้วยกันเอง ที่ไม่ได้มีอาการปอดอักเสบ ดังนั้น การมีปอดที่แข็งแรงในสถานการณ์แบบนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญมากเลยล่ะค่ะ บทความนี้จึงมี วิธีดูแลรักษาปอด ด้วยเครื่องบริหารปอด หรือที่หลาย ๆ คนมักเรียกว่า เครื่องเป่าบริหารปอด แต่แท้จริงแล้วเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ไม่ได้ใช่เป่า?!? แต่จะใช้อย่างไรนั้น มาอ่านบทความนี้เลยค่ะ

วิธีดูแลรักษาปอด

สารบัญ

สินค้า COVID ลดราคา สั่งซื้อผ่านไลน์ คลิก

วิธีดูแลรักษาปอด ด้วยอุปกรณ์บริหารปอด มีผลดีอย่างไร?

แน่นอนว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แบบนี้ การดูแลรักษาปอดให้สมบูรณ์แข็งแรง เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ควบคู่ไปกับการป้องกันตนเอง โดย ศ.พญ.อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้แนะนำ วีธีดูแลรักษาปอด ด้วยการฝึกการขยายตัวของปอด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทรวงอก โดยการใช้อุปกรณ์บริหารปอดค่ะ

เครื่องบริหารปอด

อุปกรณ์บริหารปอด รุ่น Pulmogain มีชุดกรองอากาศ สายใส สามารถมองเห็นสิ่งสกปรกได้ สามารถถอดล้างทำความสะอาดได้ สนใจคลิกเลย!!!

         เครื่องบริหารปอด หรือ อุปกรณ์บริหารปอด ชนิดนี้มีชื่อว่า Incentive spirometer หรือที่นิยมเรียกกันว่า Triflow หรือ Triball เป็นอุปกรณ์กายภาพบำบัดชนิดหนึ่ง ที่มักใช้กันทั่วไปในโรงพยาบาลค่ะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และลดอาการแทรกซ้อนของผู้ที่ต้องผ่าตัด (โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องและทรวงอก) นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้ในการเพิ่มและฟื้นฟูสมรรถภาพปอดให้ผู้สูงอายุ ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายหนักไม่ได้ อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสการเป็นปอดอักเสบได้ด้วยค่ะด้วยข้อดีที่สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และลดความเสี่ยงการเป็นโรคปอดอักเสบได้นั้น เครื่องบริหารปอดหรืออุปกรณ์บริหารปอด จึงถูกยกมาเป็นตัวช่วยในการรับมือกับโรคโควิด-19 ที่มีเป้าหมายในการทำลายปอดและระบบหายใจโดยตรง ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงนี้ ที่ต้องหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เพราะเจ้าอุปกรณ์บริหารปอดตัวนี้ สามารถดูแลปอดให้แข็งแรงได้ง่าย ๆ ที่บ้าน สามารถใช้งานได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง ให้สามารถมีปอดที่แข็งแรงได้ แม้ไม่ได้ออกกำลังกายค่ะ

อุปกรณ์บริหารปอด

         นอกจากนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์แนวหน้า ระบุไว้ว่า เมื่อวันที่ 27 เมษายน 64 ได้มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 รายหนึ่ง ออกมาแชร์ประสบการณ์ตอนที่ตนรักษาที่โรงพยาบาลลงบนโซเชียล โดยกล่าวว่า ตนได้ป่วยเป็นโรคโควิด-19 โดยมีปัญหาเชื้อไวรัสโคโรน่าลงปอด จนทำให้ปอดบางส่วนเสียหาย หลังจากที่ได้รับการรักษาจนเกือบหายดี แพทย์ได้นำอุปกรณ์บริหารปอด (Incentive spirometer) มาใช้ประกอบการรักษาตน เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่ถูกทำลาย ให้กลับมาแข็งแรง และเพิ่มประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อในการหายใจอีกด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่า อุปกรณ์บริหารปอดนี้ สามารถนำมาประกอบการรักษาโรคโควิด-19 และเสริมสร้างสมรรถภาพปอดได้จริงค่ะ

สนใจ อุปกรณ์บริหารปอด เหมือนโรงพยาบาลใช้ นำเข้าจากอิตาลี Click!!!

อุปกรณ์บริหารปอด ไม่ได้ใช้เป่าเหมือนที่หลายคนเข้าใจ!

หลายคนมักเรียกอุปกรณ์บริหารปอดนี้ว่า เครื่องเป่าบริหารปอด เพราะเข้าใจว่าอุปกรณ์นี้ ใช้งานด้วยวิธีการเป่า ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดนะคะ แน่นอนว่าต่อให้เป่าแรงแค่ไหน ลูกบอลด้านในก็ไม่ลอยขึ้นค่ะ แถมยังเป็นการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ด้วย เพราะวิธีการใช้งานที่ถูกต้องของอุปกรณ์บริหารปอดนี้คือการดูดค่ะ

วิธีดูแลรักษาปอด

         สาเหตุที่ต้องดูดนั้น ก็เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้งานหายใจเข้าลึก ๆ ให้อากาศสามารถเข้าปอดได้เต็มที่ เพื่อให้ปอดขยายตัว และทำงานได้อย่างปกติ อีกทั้งยังเป็นการช่วยกระตุ้นการขับเสมหะต่าง ๆ ออกมา ลดการคั่งค้างของเสมหะในปอด ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้ ซึ่ง ศ.พญ.อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้แนะนำวิธีการใช้งานดังนี้ค่ะวิธีการใช้งานอุปกรณ์บริหารปอด (Incentive spirometer) ที่ถูกต้อง

  • นั่งตัวตรง หรือปรับระดับพนักพิงหลังเตียงผู้ป่วยให้สูงขึ้น (ท่านั่ง)
  • สูดลมหายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ ประมาณ 3 – 5 ครั้ง
  • อมบริเวณ Mouthpiece ปิดริมฝีปากให้สนิท ไม่ให้มีลมรั่วออกมา จากนั้นค่อย ๆ ดูดจนลูกบอลลอยขึ้น ทั้ง 3 ลูก โดยค้างไว้ประมาณ 5 วินาที
  • ผ่อนลมหายใจออกยาว ๆ พัก 10 – 30 วินาที แล้วทำซ้ำประมาณ 10 รอบ
  • เมื่อทำครบให้ไอแรง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเสมหะค้างในปอด และปอดขยายตัวได้ดี

วิธีดูแลรักษาปอด ด้วยท่าฝึกหายใจ เสริมสร้างความแข็งแรงให้ปอด

นอกจาก วิธีการดูแลรักษาปอด ด้วยอุปกรณ์บริหารปอดแล้ว การฝึกบริหารวิธีการหายใจ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจไม่น้อยเลยล่ะค่ะ โดยจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ปอด และช่วยฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ สามารถทำควบคู่ไปกับการใช้อุปกรณ์บริหารปอดได้ โดย อ.พญ.ฑิมภ์พร วิทูรพงศ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้แนะนำวิธีการหายใจฟื้นฟูปอด 4 วิธีด้วยกันค่ะ

วิธีทำให้ปอดแข็งแรง

1.ฝึกหายใจแบบใช้กล้ามเนื้อกระบังลม ช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีเริ่มจากการนั่งตัวตรง นำมือข้างหนึ่งวางไว้ที่บริเวณท้อง อีกข้างไว้ที่บริเวณหน้าอก ค่อย ๆ หายใจเข้า หน้าท้องจะขยายจนดันมือออก ส่วนมือที่วางบริเวณหน้าอกจะอยู่ค่อนข้างนิ่ง เมื่อผ่อนลมหายใจออก ท้องจะยุบกลับลงไป (หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องยุบ)2.ฝึกหายใจแบบเน้นการขยายตัวที่ปอดส่วนล่างนั่งหลงตรงให้สบาย ๆ วางมือบริเวณชายโครงทั้งสองข้าง หายใจเข้าให้ชายโครงดันมือทั้งสองข้าง เมื่อหายใจออก ชายโครงจะยุบกลับลงไป (หายใจเข้าชายโครงขยาย หายใจออกชายโครงยุบ)3.ฝึกหายใจแบบเป่าปากนั่งตัวตรง นำมือข้างหนึ่งวางไว้ที่บริเวณท้อง อีกข้างไว้ที่บริเวณหน้าอก หายใจเข้าทางจมูก ให้หน้าท้องขยายจนดันมือออกมา (เหมือนวิธีที่ 1) เมื่อหายใจออกให้ทำปากเป็นรูปตัวโอ (O) เป่าลมออกทางปากช้า ๆ ท้องจะค่อย ๆ ยุบลง4.ฝึกหายใจร่วมกับการเคลื่อนไหวทรวงอก

  • เริ่มจากการนั่งบนเก้าอี้ให้สบาย ยกแขนทั้งสองข้างขึ้น เหนือศีรษะ พร้อมกับหายใจเข้าช้า ๆ เอาแขนลง พร้อมกับหายใจออกช้า ๆ
  • นั่งหลังตรง หงายมือข้างลำตัว กางแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้าช้าๆ เอาแขนลงพร้อมกับหายใจออกช้า ๆ
  • ก้มตัวพร้อมกับไขว้มือไว้ด้านหน้า หายใจเข้าช้า ๆ ค่อย ๆ นั่งหลังตรง พร้อมกางแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะเป็นรูปตัววี (V) เอาแขนลง หายใจออกช้า ๆ พร้อมกับโน้มตัวลง แล้วไขว้มือกลับสู้ท่าเริ่มต้น

*ทำซ้ำวิธีข้างต้นอย่างละ 3-5 ครั้ง*


สรุป

ในช่วงที่ไวรัสระบาดรุนแรงแบบนี้ การเตรียมปอดให้แข็งแรงไว้ เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลยล่ะค่ะ เพราะยิ่งปอดของเราแข็งแรงเท่าไหร่ โอกาสที่จะติดไวรัสก็น้อยลง หรือหากติด ก็มีโอกาสที่เชื้อจะลงปอดหรือป่วยเป็นปอดอักเสบน้อย ส่วนผู้ที่เป็นอยู่แล้ว หากปฏิบัติตามวิธีข้างต้น ก็จะช่วยทำให้ปอดกลับมาแข็งแรง และลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำได้ ซึ่ง อุปกรณ์บริหารปอด เป็นตัวช่วยหนึ่ง ที่ทำให้การดูแลปอดเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย โดยไม่ต้องเสี่ยงไปออกกำลังกายนอกบ้านเลยค่ะ

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup