การมองเห็นภาพต่าง ๆ ผ่านสายตาที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น และการเห็นเป็นตะกอนหรือการเห็นเป็นหยากไย่ ซึ่งเกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่นานนั้นก็เป็นอาการหนึ่งที่แสดงว่าคุณอาจกำลังเป็นวุ้นในตาเสื่อม นอกจากนี้ อาการวุ้นตาเสื่อม ยังมีอะไรอีกบ้าง แล้วเกิดจากสาเหตุใด และที่สำคัญใครคือกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นวุ้นในตาเสื่อมบ้าง ต้องอ่านบทความนี้เลยค่ะ
สารบัญ
- วุ้นในตาเสื่อม คืออะไร? ทำไมถึงเป็น?
- ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นวุ้นตาเสื่อม?
- เช็กอาการวุ้นตาเสื่อม
- วุ้นในตาเสื่อมรักษาให้หายได้ไหม ทำอย่างไร?
- ป้องกันโรควุ้นในตาเสื่อม
วุ้นในตาเสื่อม คืออะไร? ทำไมถึงเป็น?
วุ้นในตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) คือ โรคหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับดวงตา โดยเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับส่วนของวุ้นในตา หรือวุ้นตา (Vitreous) ซึ่งทำหน้าที่ในการคงรูปร่างของดวงตาไว้ มีส่วนประกอบเป็นน้ำโดยส่วนใหญ่ ร่วมด้วยเส้นใยคอลลาเจน กรดไฮยาลูรอนิก และ เกลือแร่ต่าง ๆ ทำให้วุ้นในตาของคนเรามีลักษณะเป็นเจลหรือเป็นวุ้นขึ้น ซึ่งวุ้นในตาเสื่อมก็เป็นการเสื่อมสลายของวุ้นส่วนนี้นั่นเอง
หลาย ๆ ท่านคงมีข้อสงสัยว่าเจ้าวุ้นตาเสื่อมนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกท่านได้ทราบกัน วุ้นตาเสื่อม เกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย ซึ่งบางครั้งก็เกิดขึ้นกับดวงตาทั้งสองข้าง บางครั้งก็เกิดกับดวงตาเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น โดยสาเหตุหลัก ๆ ก็มีดังนี้
สาเหตุของวุ้นตาเสื่อม
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนของอายุที่เพิ่มมากขึ้นนี้ก็นำมาซึ่งความเสื่อมสลายขององค์ประกอบของวุ้นในตาทั้งเส้นใยคอลลาเจน กรดไฮยาลูรอนิก และ เกลือแร่ต่าง ๆ ทำให้วุ้นในตาเสื่อมได้
- โรคเบาหวาน จะส่งผลต่อวุ้นในดวงตาได้ ซึ่งก็จะเกิดขึ้นได้ปล่อยกับผู้ที่มีภาวะของโรคเบาหวานรุนแรงแล้วกระทบต่อจอประสาทตา ทำให้เกิดเลือดออกในดวงตา
- การมีภาวะสายตาสั้น เป็นภาวะที่ทำให้ต้องเพ่งดวงตาเพื่อการใช้งานไม่ว่าจะเป็นการทำงานระหว่างวัน โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์ หรือ การใช้ไลน์ ส่วนนี้ก็เป็นตัวเร่งให้เกิดการเสื่อมของวุ้นในตาได้
- เป็นโรคที่มีความเกี่ยวเนื่องกับดวงตามาก่อน ไม่ว่าจะเป็นโรควุ้นตาอักเสบ หรือ โรคม่านตาอักเสบ
- การเกิดอุบัติเหตุ โดยอุบัติเหตุนั้นก็มีผลกระทบไปสู่ดวงตา ก็ทำให้เกิดการเสื่อมของวุ้นในตาได้
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นวุ้นในตาเสื่อม?
ถัดมาเราขอพาทุกท่านไปพบกับกลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อการเป็นวุ้นในตาเสื่อม เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นกับตนเอง และคนที่เรารัก Allwell ได้รวบรวมบุคคลที่อาจจะเสี่ยงเป็นวุ้นในตาเสื่อม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่ใช้สายตามาก แยกออกได้เป็นดังนี้
บุคคลที่เสี่ยงเป็นวุ้นตาเสื่อม มีดังนี้
- ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
- ผู้ที่มีการใช้สายตาในการทำงานอย่างหนัก หรือการใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 8 – 12 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์
- ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเกี่ยวกับดวงตามาก่อน
- ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการรักษาโรคต้อกระจก
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
สัญญาณเตือน! อาการวุ้นในตาเสื่อม
ไม่ว่าคุณจะเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ แต่รู้ไว้ก็ย่อมดีกว่า คุณสามารถเช็กอาการที่เกิดขึ้นกับดวงตาของคุณเองได้ว่าเป็นอาการของโรคดังกล่าวหรือไม่ เพื่อที่จะรู้ได้เท่าทัน หากมีอาการเข้าข่าย เราจะได้รักษาให้ทันท่วงที โดยอาการวุ้นในตาเสื่อม มีดังนี้
อาการวุ้นตาเสื่อม มีดังนี้
- เห็นแสงวาบในตา หนึ่งในอาการที่ปรากฏอย่างเด่นชัดว่าเป็นอาการว่าวุ้นในตาของคุณกำลังเสื่อมก็คือ การมองเห็นแสงวาบคล้ายกับแสงของการถ่ายภาพโดยใช้แฟลชในที่มืด หรือ ที่สลัว หรือ มองเห็นแสงวาบเหมือนแสงฟ้าแลบ
- เห็นตะกอนในตา เมื่อมองภาพจะเห็นตะกอนที่ดวงตาของตัวเอง ซึ่งการมองเห็นตะกอนนี้จะเห็นอย่างชัดเจนเมื่อพื้นหลังเป็นสีสว่าง หรือ มองไปยังท้องฟ้า
- เห็นหยากไย่ในตา การมองเห็นหยากไย่ จุด เส้น ลักษณะคล้ายลูกน้ำภายในดวงตา โดยเฉพาะเมื่อมีกิริยาการกลอกตาไป – มา
- เห็นม่านสีเทาในตา โดยม่านสีเทานี้จะปรากฏในดวงตาของคุณ
- ทัศวิสัยการมองเห็นแคบลง ส่วนของการมองเห็นที่แคบลง หรือ สูญเสียการมองเห็นในสายตาข้างใดข้างหนึ่ง
วุ้นในตาเสื่อมรักษาให้หายขาดได้ไหม?
หลายๆ คนอาจจะมีความกังวลว่า ถ้าหากเป็นแล้วจะสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่? บทความนี้จะมาบอกว่าวุ้นในตาเสื่อมสามารถรักษาให้หายได้ โดยผู้ที่มีอาการวุ้นในตาเสื่อมมีกระบวนการรักษา ที่เป็นไปตามการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งมีดังนี้
วิธีการรักษา วุ้นตาเสื่อม มีดังนี้
- การตรวจประเมินโดยจักษุแพทย์
แรกเริ่มของการรักษาก็เป็นการตรวจประเมินโดยจักษุแพทย์ทำการหยอดยาที่ช่วยขยายม่านตาให้สามารถมองเห็นบริเวณวุ้นในตาให้ชัดเจน จากนั้นจักษุแพทย์ก็ทำการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ แล้วถ่ายภาพจอประสาทตาแล้วทำการประเมินต่อไป
- การรักษา ส่วนนี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธีหลัก ๆ คือ
2.1 การปล่อยไว้
ส่วนนี้ต้องผ่านการประเมินของจักษุแพทย์แล้วว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต รวมไปถึงไม่ลุกลามจนเป็นอันตรายต่อดวงตาโดยรวม
2.2 การรักษาด้วยเลเซอร์
หยากไย่ในตา รักษาโดยการเลเซอร์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็ต้องอยู่ภายใต้การแนะนำของจักษุแพทย์เพราะเป็นการรักษาที่ใช้เลเซอร์ชนิดพิเศษ
2.3 การผ่าตัด
โดยเริ่มจากการนำวุ้นในตาที่มีความเสื่อมออก แล้วฉีดสารละลายจากภายนอกที่มีองค์ประกอบใกล้เคียงกับวุ้นในตาของคนเรา เพื่อทำให้ดวงตาของคนเราคงรูปอยู่ได้
ตาขาวเป็นสีเหลือง สัญญาณอันตราย เช็กด่วน! เกิดจากอะไรป้องกันโรควุ้นในตาเสื่อมอย่างไรดี?
โรควุ้นในตาเสื่อม ใกล้ตัวกว่าที่หลายคนคิด แม้ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์จะรักษาให้หายได้ แต่การที่เสี่ยงเป็นเลยจะดีที่สุดนะคะ เพราะโรคนี้เป็นแล้วก็ทรมาน เสียทั้งเงินค่ารักษาและเวลา ฉะนั้น ทางที่ดีคือเริ่มป้องกันและดูแลดวงตา ไม่ให้เสี่ยงต่ออาการวุ้นตาเสื่อม โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนะคะ
ลดเสี่ยงโรควุ้นในตาเสื่อม
- ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เล่นมือถือ หรืออ่านหนังสือในที่แสงน้อย
- พยายามไม่เปิดไฟนอน หรือนอนหลับในที่แสงจ้า
- ปกป้องดวงตาไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือหากไปในสถานการณ์ที่เสี่ยง ควรใส่แว่นตานิรภัย
- กินอาหารบำรุงสายตา
- หากเป็นผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพดวงตาประจำปี
สรุป
วุ้นในตาเสื่อมอย่านิ่งนอนใจ ยิ่งคุณทราบว่าตนเองมีอาการของโรคดังกล่าวแล้วไปรักษาเร็วเท่าไร อันตรายที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะสามารถสังเกตอาการปรากฏดังกล่าวได้ดีที่สุดก็คือตัวของคุณเอง อย่าปล่อยทิ้งไว้จนเป็นอันตรายร้ายแรง ทุกท่านสามารถเช็กอาการเบื้องต้นจากข้างในบทความนี้ได้