บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นอีกหนึ่งโรคที่ต้องระวัง อาจเกิดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วอาการจะค่อย ๆ ลุกลามไปเรื่อย ซึ่งรูมาตอยด์ อาการเริ่มแรกจากในข้อขนาดเล็กในมือ หรือเท้าในหลาย ๆ ตำแหน่ง เช่น มือ ข้อมือ สามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกัน หลังจากนั้นอาจย้ายสูงขึ้นไปที่ข้อเข่า หรือไหล่ ไปจนถึงเนื้อเยื่อภายในข้อต่อทำให้ได้รับความเสียหาย
และถ้าหากปล่อยไว้นาน อาจเกิดอาการปวดเรื้อรัง ส่งผลทำให้ทรงตัวลำบาก และมีอวัยวะที่ผิดรูป ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในช่วงอายุที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันด้วย ทีนี้เรามาดูกันต่อว่า โรครูมาตอยด์ อาการเริ่มต้นนั้นเป็นอย่างไรกันค่ะ
สารบัญ
- รูมาตอยด์ อาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร
- รูมาตอยด์ อาการปวดเกิดจากอะไร อันตรายไหม?
- รูมาตอยด์ อาการปวดดูแลรักษาอย่างไร
- วิธีการป้องกันโรครูมาตอยด์
รูมาตอยด์ อาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร?
หลายคนมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ รูมาตอยด์ แต่ไม่ทราบว่ามีอาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร เนื่องจากอาการของโรคหลาย ๆ อย่าง มีลักษณะคล้ายกับอาการอื่น ๆ แต่อาการเริ่มต้นโดยส่วนใหญ่ ที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนและบ่งบอกว่านี่คือ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรครูมาตอยด์มีดังต่อไปนี้
- รูมาตอยด์ อาการในระยะแรก จะพบว่ามีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก ร่วมกับมีไข้ต่ำๆ รู้สึกอ่อนเพลีย ชาตามมือเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ และน้ำหนักลดลงอย่างผิดสังเกต จากนั้นก็จะเริ่มมีอาการปวดตามข้อหรือข้อฝืดตึงอย่างต่อเนื่อง
- ในระยะต่อมา รูมาตอยด์ อาการจะมีการลุกลามมากขึ้นหากยังไม่ได้รับการรักษา ไม่ว่าจะเป็น คอ ผู้ป่วยจะหัน ก้ม หรือเงยคอไม่ได้ และมีอาการปวดศีรษะและปวดคอ หัวไหล่ จะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ มีอาการปวดสะโพก เดินได้ลำบากเนื่องจากสะโพกอักเสบ ข้อต่อกระดูกอ่อนของกล่องเสียง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอักเสบของข้อต่อกระดูกอ่อนของกล่องเสียงใกล้หลอดลม ทําให้เกิดการหายใจลําบาก และมีเสียงแหบ
รูมาตอยด์ อาการปวดเกิดจากอะไร อันตรายไหม?
หลายคนเกิดมักจะคำถามว่า โรครูมาตอยด์ อันตรายไหม? หากมีอาการที่ปวดและบวมมาก ๆ ที่บริเวณข้อ และบวมต่อเนื่องเป็นเวลานาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะคุณอาจจะเป็นโรคนี้อยู่ก็ได้ ซึ่งอาจจะพิการได้เลยหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
โดยผู้ป่วยแต่ละคนมักจะมีลักษณะการดำเนินโรครูมาตอยด์ หรือรูมาตอยด์ อาการปวดที่แตกต่างกัน ซึ่งในบางคนอาจจะเกิดขึ้นทีเดียวเลยในหลายๆ ข้อ แต่บางคนก็เริ่มจากทีละข้อไปก่อน หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกมีโอกาสที่จะหายเป็นปกติได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นพิการ เพราะฉะนั้นหากมีความเสี่ยงและวินิจฉัยทราบตั้งแต่เบื้องต้นก็จะไม่เป็นอันตราย และสามารถรักษาให้หายได้นั่นแอง
ปวดคอบ่าไหล่ แก้ยังไงดี? ปวดเรื้อรังแบบนี้ ปล่อยไว้ไม่ได้!!!รูมาตอยด์ อาการปวดดูแลรักษาอย่างไร
เมื่อเราทราบกันแล้วว่าโรครูมาตอยด์ อาการเป็นอย่างไร มีสาเหตุเกิดจากอะไรกันไปแล้วนั้น เราก็จะสามารถรักษาและดูแลอาการป่วยได้อย่างถูกต้อง โดยเรามีวิธีการรักษาและการดูแลอาการป่วยของโรครูมาตอยด์มาฝากทุกคนกันด้วยค่ะ
วิธีการรักษาและการดูแล
- รักษาด้วยการทานยาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะบรรเทาโรคให้ดีขึ้น ด้วยยาปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค (Disease Modifiying Antirheumatic Drugs หรือ DMARDs) รวมไปถึงการรักษาด้วยยาอื่น ๆ ตามอาการ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และระยะเวลาตั้งแต่เกิดโรค เช่น ยาลดการอักเสบ (NSAIDs) ยากลุ่มสเตียรอยด์ และยากลุ่มสารชีวภาพ
- การผ่าตัดหากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาให้ทำการผ่าตัดเพื่อรักษาข้อที่มีการเสื่อมหรือถูกทำลาย โดยการผ่าตัดอาจช่วยทำให้ข้อต่อสามารถใช้การได้ดีขึ้น และยังช่วยลดความเจ็บปวด พร้อมกับช่วยแก้ไขส่วนที่ผิดรูปให้กลับมาปกติได้ด้วย แพทย์อาจใช้การผ่าตัดเพียงอย่างเดียว หรือรวมไปถึงวิธีอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดเยื่อหุ้มข้อ , การเย็บซ่อมเส้นเอ้นรอบข้อต่อ , การผ่าตัดรวมข้อ และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม เป็นต้น
วิธีการป้องกันโรครูมาตอยด์
หลังจากที่เราได้ทราบแล้วว่า รูมาตอยด์ อาการเป็นอย่างไร มีวิธีอะไรที่จะดูแลถ้าหากว่าเป็นโรคนี้ มีอันตรายมากน้อยแแค่ไหนหากปล่อยให้ปวดเรื้อรัง ไม่รักษาให้หายกันไปแล้ว เรานำวิธีการที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคมาฝากทุกคนเพิ่มเติมกันอีกด้วยค่ะ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอการออกกำลังกายข้อเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อและร่างกาย ควรทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดเท่านั้น ซึ่งจะช่วยป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ดีไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลโรค
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำลายข้อ เช่น การยกของหนัก การกระโดด การนั่งยอง ๆ หรือการนั่งขัดสมาธิ รวมไปถึงการนั่งพับเพียบ หรือการนั่งกับพื้นเป็นเวลานาน ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรครูมาตอยด์ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากรู้แล้วว่าอะไรที่ทำให้เสี่ยงก็ควรเลิกหรือหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น จะได้ไม่เป็นโรคนี้นั่นเอง
สรุป
ก็ได้ทราบกันไปแล้วว่าโรครูมาตอยด์ อาการนั้นเป็นอย่างไร รวมไปถึงการรักษาและการป้องกัน เพราะฉะนั้นหากใครที่ทราบว่าตนเองมีความเสี่ยง หรือเริ่มที่จะมีอาการป่วยแนะนำให้คุณรีบปรึกษาแพทย์ และทำการรักษาทันทีตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงเกิดอันตรายที่รุนแรง หรือหากใครที่ยังไม่มีความเสี่ยง ก็ควรที่จะดูแลและรักษาป้องกันตนเองให้ดี เพื่อจะได้เสี่ยงเกิดโรคนั่นเอง