ไหลตาย เกิดจากอะไร? มัจจุราชเงียบ คร่าชีวิตแบบไม่รู้ตัว

ไหลตายเกิดจาก

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         โรคที่เสียชีวิตทั้งที่ยังหลับใหล ทำให้ผู้เสียชีวิตจากไปแบบที่ตนเองไม่ทันรู้ตัว หรือแม้แต่คนรอบข้างก็ยังไม่ทันตั้งตัวเช่นเดียวกันนั่นก็คือ โรคไหลตาย หรือใหลตาย ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคที่พบได้มากในภาคอีสานของประเทศไทย และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ทำให้เกิดความเชื่อว่าโรคไหลตายเกิดจากการที่ผีแม่หม้ายมานำตัวชายหนุ่มไปเป็นสามี แต่นี่จะใช่สาเหตุจริงหรือไม่ ไหลตายเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ เราจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจกันเลยค่ะ

สารบัญ

โรคไหลตาย คืออะไร?

         ไหลตาย คือ กลุ่มของโรคที่พบว่ามีการเสียชีวิตในขณะที่หลับโดยที่ไม่รู้ตัว หรือ ไม่มีอาการที่บ่งบอกถึงการเสียชีวิต หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Sudden Unexplained Nocturnal Death Syndrome หรือ SUNDS โดยมากแล้วไหลตายเกิดจากความผิดปกติในส่วนของการนำส่งไฟฟ้าของหัวใจ หรือ เป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างหัวใจ

ไหลตายเกิดจาก

         โดยผู้ที่เป็นมักไม่ปรากฎอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่จะมีอาการไหลตายที่มักปรากฎก่อนหน้าไม่ว่าจะอาการหายใจลำบาก เวียนศีรษะ แน่นหน้าอก วูบ หมดสติชั่วคราว มีเสียงครางคล้ายกับการหายใจไม่ออกขณะนอนหลับ นอนกรน หรือเคยตรวจพบการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจมาก่อน

นอนกรน ต้นเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แก้ได้ด้วยเตียงไฟฟ้าจริงเหรอ?!

ไหลตาย เกิดจากอะไร?

         ในส่วนของสาเหตุของโรคไหลหลับนั้นยังไม่มีสาเหตุที่ตรงกันในผู้ที่เสียชีวิตทุกคน และอย่างที่กล่าวไปก่อนหน้าว่าอาการไหลตายนี้มักเกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจทั้งการนำส่งของกระแสไฟฟ้าและโครงสร้างหัวใจ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลเกี่ยวเนื่องจึงอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้เกือบทั้งหมด ถึงแม้จะยังมีสาเหตุที่ไม่ตรงกัน แต่โดยมากแล้วไหลตายเกิดจากสาเหตุร่วมกัน ดังนี้

โรคไหลตาย

โรคไหลตายเกิดจาก

  • การเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจอาทิเช่น บรูกาดา ซินโดรม หรือ Brugada Syndrome ซึ่งเป็นกลุ่มอาการหรือกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติในส่วนของยีนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของไฟฟ้าในหัวใจ หรือ Channelopathy โดยยีนดังกล่าวนี้เกิดลักษณะของการกลายพันธุ์ขึ้น แล้วนำไปสู่การนำส่งไฟฟ้าไปยังหัวใจที่ผิดปกตินำมาซึ่งการเต้นของหัวใจที่รุนแรงผิดไปจากจังหวะเดิมมาก นำมาสู่การที่หัวใจเกิดการทำงานที่ผิดปกติอย่างรุนแรงจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ และมักเกิดขึ้นในขณะที่กำลังนอนหลับอีกด้วย

อาการไหลตาย

  • การที่ร่างกายขาดแร่ธาตุบางชนิดโดยเฉพาะแร่ธาตุโพแทสเซียมเพราะแร่ธาตุดังกล่าวเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการทำหน้าที่ก่อให้เกิดไฟฟ้าที่วิ่งเข้าสู่หัวใจแล้วทำให้หัวใจทำงานได้ตามปกติ และไฟฟ้าดังกล่าวนี้ก็จะมีบริเวณที่วิ่งเข้า – ออก ที่เปรียบเสมือนช่องผ่าน ช่องผ่านที่ทำให้ไฟฟ้าเหล่านั้นเข้า – ออกได้ก็ต้องมีแร่ธาตุชนิดเดียวกันอยู่ในส่วนของช่องผ่านที่มีแร่ธาตุโพแทสเซียมน้อยก็จะทำให้ไฟฟ้าวิ่งเข้าหัวใจได้น้อยลง หัวใจจึงเกิดการทำงานที่ผิดปกติแล้วเกิดอาการไหลตายได้ โดยแร่ธาตุโพแทสเซียมที่ช่องทางเข้า – ออกที่มีน้อยกว่าปกตินี้ก็เกิดมาได้จากหลายสาเหตุทั้งจากกรรมพันธุ์ที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือ เกิดจากการขาดสารอาหารในส่วนของแร่ธาตุโพแทสเซียม หรือ เป็นความผิดปกติของร่างกายเองในระดับเซลล์
มารู้จักกับ ภาวะพร่องออกซิเจน จากการมีออกซิเจนในเลือดต่ำ ภัยร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับคุณได้โดยไม่รู้ตัว!

ใครบ้างที่เสี่ยงไหลตายไม่รู้ตัว

         หลังจากที่เราทุกคนทราบกันแล้วว่าไหลตายเกิดจากอะไร ทีนี้เราก็จะพาทุกท่านไปพบกับอีกหนึ่งข้อมูลที่มีความสำคัญและน่าสนใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว ซึ่งก็คือ ผู้ที่มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคไหลตายขณะหลับใหล โดยมีกลุ่มบุคคล ดังต่อไปนี้

ไหลตายเกิดจาก

กลุ่มบุคคลที่เสี่ยงโรคไหลตาย

  1. ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าว
  2. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจและไฟฟ้าหัวใจ
  3. ผู้ที่ขาดแร่ธาตุและสารอาหารอย่างแร่ธาตุโพแทสเซียมหรือวิตามินบี 1
  4. ผู้ที่เป็นโรคบรูกาดา ซินโดรม
  5. ผู้ที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ แล้วนำไปสู่การต้องใช้ยานอนหลับเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพราะยานอนหลับก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของหัวใจได้
  6. ผู้ที่มีไข้สูง
  7. ผู้ที่ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง
ไขข้อสงสัย “ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ลืมหายใจ” จนเสียชีวิตได้ไหม?

ไม่อยากไหลตาย ป้องกันได้อย่างไร

         เมื่อเราทราบแล้วว่าไหลตายเกิดจากอะไรไปแล้ว เรามาเรียนรู้วิธีการกันโรคนี้ โดยสามารถป้องกันไหลตายได้จากการตรวจประเมินของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้ที่มีประวัติทางครอบครัวหรือมีอาการที่สื่อถึงโรคนี้ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการตรวจที่เกี่ยวข้องทั้งการตรวจสรีระของหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงการตรวจรหัสทางพันธุกรรมที่ช่วยบอกความเสี่ยงในการเป็นโรคไหลตายได้

โรคไหลหลับ

         จากนั้นหากมีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นก็จะได้รับการรักษาทั้งเป็นการให้ยาหรือการกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจในบางกรณี นอกจากนี้ก็ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือทำจิตใจให้แจ่มใสนั่นเอง

สรุป

         จากบทความข้างต้นคงจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านเป็นอย่างมาก เพราะอาการไหลตายนี้เป็นอาการที่แทบจะไม่พบความผิดปกติใด ๆ ขณะที่เสียชีวิตเลย โดยในบทความนี้ก็มีการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญอย่างไหลตายเกิดจากอะไร หรือกลุ่มบุคคลใดที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการเหล่านี้ เพื่อเป็นการดูแลและป้องกันตนเองรวมถึงคนที่คุณรักจากการเสียชีวิตด้วยโรคที่ไม่มีใครคาดคิด

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup