3 วิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง พร้อมตารางพลิกตะแคงตัวแบบง่าย ๆ ทำตามได้เลย!

วิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง

        การพลิกตัวผู้ป่วย เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ แต่ผู้ดูแลหลายคนยังไม่ทราบว่าจะต้องพลิกตัวผู้ป่วยอย่างไร พลิกแค่ไหน เวลาไหนบ้าง บทความนี้จึงมี วิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง พร้อมตารางพลิกตะแคงตัว รวมทั้งมีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้ผู้ดูแลประหยัดทั้งแรงและเวลาในการพลิกตัวผู้ป่วยมาฝากกันค่ะ

สารบัญ

3 วิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง อย่างถูกต้องและปลอดภัย

         ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาต (Patient Bedridden) ด้วยตัวคนเดียว เป็นเรื่องที่ยากและลำบากมาก ไหนจะกลัวว่าจะพลิกถูกไหม จะไปทำให้ผู้ป่วยเจ็บกว่าเดิมหรือเปล่า อีกทั้งเวลาพลิกตัวก็ต้องใช้แรงมาก จนทำให้ผู้ดูแลมีปัญหาสุขภาพตามมาด้วย ถ้าอย่างนั้นเรามาดูวิธีพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยที่ทั้งถูกต้องและปลอดภัย เพื่อลดปัญหาเหล่านี้กันค่ะ

วิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง

ข้อควรรู้

  • ก่อนจะเริ่มพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ตำแหน่งของผู้ป่วยจะต้องไม่อยู่ห่างผู้ดูแลจนเกินไป ให้สามารถเอื้อมแขนถึงได้อย่างถนัด
  • ในการจัดท่าพลิกตัวผู้ป่วยจำเป็นจะต้องใช้หมอนอย่างน้อย 2-3 ใบ
  • ก่อนทำการพลิกตัวผู้ป่วย ผู้ดูแลควรบอกให้ผู้ป่วยทราบก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเกร็งของผู้ป่วย
  • การพลิกตัวผู้ป่วย คือการพลิกตะแคงเท่านั้น ห้ามให้ผู้ป่วยนอนคว่ำหรือคว่ำหน้า เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ออกได้

ท่าที่ 1 พลิกตัวตะแคงตัวผู้ป่วย โดยหันตัวผู้ป่วยเข้าหาผู้ดูแล หรือในกรณีที่เป็นอัมพฤกษ์ด้านใดด้านหนึ่ง ท่านี้จะเป็นการพลิกตัวผู้ป่วยให้ตะแคงมาทับฝั่งที่มีแรง

วิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง

ขอบคุณภาพจาก Health at Home

  1. จัดแขนผู้ป่วยด้านที่อยู่ด้านเดียวกับผู้ดูแลให้กางออกและงอเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยพลิกตัวมานอนทับ
  2. จับเข่าผู้ป่วยด้านตรงข้ามผู้ดูแลให้ตั้งขึ้น (ด้านอ่อนแรง) โดยล็อกเข่าด้วยมือข้างหนึ่งเอาไว้ จากนั้นใช้มืออีกข้างจับที่หัวไหล่ผู้ป่วย ซึ่งเป็นด้านตรงข้ามผู้ดูแล แล้วออกแรงพลิกตัวผู้ป่วยเข้าหาผู้ดูแลอย่างช้า ๆ และระมัดระวัง เมื่อพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยได้แล้ว อย่าเพิ่งปล่อยมือออกจากลำตัวผู้ป่วย เพราะตัวผู้ป่วยอาจไหลได้
  3. จัดขาข้างที่พลิกมาให้อยู่ในลักษณะกึ่งงอ ส่วนขาอีกข้างให้เหยียดออก แล้วนำหมอนมารองขา (เหมือนนอนก่ายหมอน) จากนั้นเอาหมอนอีกใบมารองใต้แขน (เหมือนนอกอดหมอน) และควรหาหมอนอีกใบมารองที่หลังผู้ป่วยเพื่อป้องกันการไหล

ท่าที่ 2 ท่านอนหงาย

วิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง

ขอบคุณภาพจาก Health at Home

  1. หากผู้ป่วยนอนพลิกตะแคงตัวอยู่ ให้ผู้ดูแลพลิกตัวให้ผู้ป่วยนอนหงาย โดยจับเข่าและหัวไหล่ของผู้ป่วยให้พลิกหงายอย่างระมัดระวัง หรือบอกผู้ป่วยให้ช่วยออกแรงถ้าสามารถทำได้
  2. เมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายแล้ว ให้จัดศีรษะผู้ป่วยให้สูงประมาณ 30 องศา โดยใช้หมอนหนุนระวังอย่าให้สูงจนคอผู้ป่วยพับ หรือหากใช้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ก็ปรับให้ระดับหัวเตียงสูง 30 องศาได้เลย
  3. จากนั้นนำหมอนมารองใต้หัวเข่า และใช้ผ้าขนหนูรองบริเวณตาตุ่ม เพื่อไม่ให้ปุ่มกระดูกกดทับ4.ให้แขนทั้ง 2 ข้างวางไว้ข้างลำตัว โดยแขนข้างที่อ่อนแรงบริเวณใต้ข้อศอก ควรรองด้วยหมอน เพื่อป้องกันการเกิดแรงกดทับจากข้อศอก

ท่าที่ 3 พลิกตัวตะแคงตัวผู้ป่วย โดยหันตัวผู้ป่วยออกจากผู้ดูแล หรือในกรณีที่เป็นอัมพฤกษ์ด้านใดด้านหนึ่ง ท่านี้จะเป็นการพลิกตัวผู้ป่วยให้ตะแคงมาทับฝั่งที่อ่อนแรง

วิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง

ขอบคุณภาพจาก Health at Home

  1. ผู้ดูแลยืนอยู่ฝั่งที่ผู้ป่วยอ่อนแรง จากนั้นกางแขนผู้ป่วยข้างที่อยู่ตรงข้ามกับผู้ดูแลออกช้า ๆ ในลักษณะที่งอเล็กน้อย ในท่านี้ต้องระวังเรื่องไหล่ของผู้ป่วยอาจหลุดได้ ดังนั้น ต้องทำอย่างช้า ๆ และระมัดระวังมากที่สุด
  2. จับเข่าผู้ป่วยด้านตรงข้ามผู้ดูแลให้ตั้งขึ้น โดยข้างนั้นจะเป็นข้างที่ผู้ป่วยพอมีแรง ผู้ดูแลควรบอกให้ผู้ป่วยช่วยขยับเข่าตั้งขึ้นค้างไว้ จากนั้นผู้ดูแลจับที่บริเวณหัวไหล่และเข่า แล้วพลิกตัวผู้ป่วยเข้าหาผู้ดูแลอย่างช้า ๆ
  3. ในท่านี้ลำตัวของผู้ป่วยจะมาทับไหล่ข้างที่อ่อนแรง ผู้ดูแลควรดันผู้ป่วยกลับไปเล็กน้อยเพื่อให้ทับน้อยลง โดยใช้หมอนมารองที่หลังของผู้ป่วย เพื่อป้องกันผู้ป่วยพลิกกลับ
  4. จัดขาข้างที่พลิกมาให้อยู่ในลักษณะกึ่งงอ ส่วนขาอีกข้างให้เหยียดออก แล้วนำหมอนมารองขา (เหมือนนอนก่ายหมอน) จากนั้นเอาหมอนอีกใบมารองใต้แขน (เหมือนนอกอดหมอน)

พลิกตัวผู้ป่วย

         ในการพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง แนะนำให้ผู้ดูแลพลิกตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง สลับหมุนเวียนกันไปทั้ง 3 ท่าข้างต้น เพื่อลดโอกาสการเกิดแผลกดทับตามจุดต่าง ๆ ซึ่งจะได้ผลดีกับผู้ป่วย แต่ในระยะยาวการพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงบ่อย ๆ จะทำให้ผู้ดูแลมีปัญหาสุขภาพ อย่างอาการปวดหลัง หรือเอวเรื้อรังได้ (อ่านบทความ 5 วิธีรับมือกับอาการปวดหลัง – ปวดก้นกบ ไม่ต้องทนปวดอีกต่อไป!)

         หากพลิกตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมงแล้วยังพบรอยแดงที่ผิวหนัง โดยไม่จางหายใน 30 นาที หรือเกิดแผลกดทับ แนะนำให้พลิกตัวผู้ป่วยให้บ่อยกว่า 2 ชั่วโมง เพราะอาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยนอนเตียงที่ไม่เหมาะสม หรือน้ำหนักตัวผู้ป่วยมาก แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ในการป้องกันแผลกดทับด้วยร่วมกับการพลิกตัว ในผู้ป่วยติดเตียงบางรายอาจช่วยให้ผู้ดูแลพลิกตัวผู้ป่วยได้ช้ากว่า 2 ชั่วโมงได้

มาพลิกตัวผู้ป่วย ด้วยตารางพลิกตะแคงตัวแบบง่าย ๆ

         สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า จะต้องบริหารเวลาในการพลิกตัวผู้ป่วยอย่างไร ควรพลิกเวลาไหนบ้าง หากยังไม่รู้จะจัดสรรเวลาอย่างไรล่ะก็ บทความนี้มีตัวอย่างตารางพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยแบบง่าย ๆ สามารถนำวิธีการพลิกตัวทั้ง 3 ท่าจากหัวข้อเมื่อกี้ มาปรับใช้แล้วทำตามได้เลยค่ะ (ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเปาโล)

ตารางพลิกตะแคงตัว

  • 6 โมงเช้า : พลิกตะแคงซ้าย
  • 8 โมงเช้า : จัดท่านอนหงาย
  • 10 โมงเช้า : พลิกตะแคงขวา
  • เที่ยงวัน : พลิกตะแคงซ้าย
  • บ่าย 2 : จัดท่านอนหงาย
  • 4 โมงเย็น : พลิกตะแคงขวา
  • 6 โมงเย็น : พลิกตะแคงซ้าย

         ในช่วงเวลากลางคืนที่ผู้ดูแลเข้านอนแล้ว แนะนำให้ใช้อุปกรณ์เสริมในการป้องกันแผลกดทับต่าง ๆ ก็จะช่วยในการป้องกันได้มากเลยล่ะค่ะ เช่น ที่นอนโฟม ที่นอนลม แผ่นปิดแผลกดทับปิดตามปุ่มกระดูกต่าง ๆ เป็นต้น

เคล็ดลับ! วิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง ให้ประหยัดทั้งแรงทั้งเวลา!!!

         การพลิกตัวผู้ป่วยต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจสูงมาก ๆ เพราะผู้ดูแลต้องใช้เวลาในการพลิกตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง ยิ่งผู้ดูแลที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว การออกแรงพลิกตัวแต่ละครั้งถือว่าเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก แต่จะดีแค่ไหน ถ้ามีตัวช่วยที่จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากแผลกดทับ แต่ผู้ดูแลไม่ต้องพลิกตัวบ่อย ๆ ช่วยประหยัดทั้งแรงและเหลือเวลาในการพักผ่อนมากขึ้น?!

         ALLWELL ขอแนะนำที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รุ่น Mercury เลยค่ะ เนื่องจากการวิจัยพบว่า ช่วยลดการใช้เวลาในการพลิกตัวผู้ป่วย จากที่ต้องพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง สามารถเปลี่ยนเวลามาพลิกทุก 4 ชั่วโมงได้ โดยที่ผู้ป่วยไม่เกิดความเสี่ยงแผลกดทับ โดยที่ที่นอนป้องกันแผลกดทับตามท้องตลาดทั่วไปไม่สามารถทำได้

ที่นอนกันแผลกดทับ mercury

         ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รุ่น Mercury เป็นอุปกรณ์ป้องกันแผลกดทับ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อกระจายแรงกดทับร่างกายตามจุดต่าง ๆ จึงช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเป็นแผลกดทับ หรือในผู้ที่เป็นแผลกดทับอยู่แล้ว ที่นอนโฟมก็จะช่วยลดความรุนแรงของแผลกดทับ ไม่ให้ลุกลามรุนแรง และสามารถรักษาแผลกดทับนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

ที่นอนกันแผลกดทับ

         นอกจากนี้ ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รุ่น Mercury ยังมีเนื้อโฟมที่ทำจาก Polyurethane Foam มีร่องโฟมแบบ Castellated Cut ที่มีขนาดร่องเล็ก – ใหญ่ เพื่อให้เหมาะสมกับน้ำหนักและสรีระในแต่ละส่วนของผู้ป่วย จึงช่วยในการกระจายน้ำหนักและแรงกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีขอบโฟม CME ที่ช่วยรักษารูปทรงของที่นอนไม่ให้ยุบตัว จึงมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 8 ปีเลยค่ะ

         ต้องบอกเลยว่า ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รุ่น Mercury เป็นอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง รุ่น Top Hit ที่ช่วยทั้งดูแลผู้ป่วยและแบ่งเบาภาระผู้ดูแล จึงนับว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญที่หนึ่งชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงควรมีติดบ้านไว้เลยล่ะค่ะ

สนใจ ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รุ่น Mercury คลิ๊ก!!!

สรุป

         การพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลจำเป็นจะต้องรู้ทักษะในในการพลิกตัวที่ถูกต้อง โดยวิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงที่บทความนี้นำมาฝาก จะช่วยให้การพลิกตัวผู้ป่วยเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น หากผู้ดูแลนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันแผลกดทับ อย่างที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รุ่น Mercury ล่ะก็ จะช่วยประหยัดทั้งแรงและเวลา แถมยังลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup