เตือนภัย! “ภาวะเมธฮีโมโกลบิน” ในเด็ก จากการกินไส้กรอกไร้ยี่ห้อ พบออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจถึงตายได้!!

methemoglobin

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวที่น่าตกใจเป็นอย่างมาก เมื่อพบเด็กหลายคน มี ภาวะเมธฮีโมโกลบิน ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน โดยแพทย์ชี้สาเหตุมาจาก ไส้กรอกไม่มียี่ห้อ หรือที่หลายคนเรียกว่า ไส้กรอกมรณะ หรือไส้กรอกพิษ ทำไมไส้กรอกเหล่านี้ถึงอันตรายจนทำให้เด็กเสียชีวิตได้? จะสามารถสังเกตอาการก่อนเกิดอันตรายได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบค่ะ

สารบัญ

ทำไมไส้กรอกธรรมดา ๆ ถึงทำให้เด็กเกิด ภาวะเมธฮีโมโกลบิน ได้?

         ไส้กรอก ถือเป็นอาหารหนึ่งที่นิยมทานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ ที่มักชอบนำไส้กรอกมาทำอาหารให้เด็ก ๆ ทาน เนื่องจากสะดวกในการปรุงอาหาร ทานง่าย และเด็ก ๆ หลายคนชอบ แล้วทำไมไส้กรอกธรรมดา ๆ พวกนี้ ถึงทำให้เด็กเกิด ภาวะเมธฮีโมโกลบิน จนอาจทำให้เสี่ยงเสียชีวิตได้?

ภาวะเมธฮีโมโกลบิน

         แม้หลายคนจะเรียกไส้กรอกอันตรายพวกนี้ว่า ไส้กรอกพิษ แต่ไม่ได้แปลว่าไส้กรอกเหล่านี้มีพิษจริง ๆ หรอกนะคะ แต่มีสารเจือปนอาหารชนิดหนึ่งที่ทานได้ แต่หากร่างกายรับในปริมาณที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดอันตราย นั่นก็คือสารไนเตรทและไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารกันบูดหรือสารกันเสียประเภทหนึ่งค่ะ

         เมื่อร่างกายรับสารกันเสียเข้าไป ฮีโมโกลบินที่ทำหน้าที่จับและขนส่งออกซิเจน จะเกิดปฏิกิริยากับสารเหล่านี้ จนกลายเป็นฮีโมโกลบินผิดปกติ ที่เรียกว่า “เมธฮีโมโกลบิน” ทำให้ไม่สามารถจับและขนส่งออกซิเจนได้ ส่งผลให้ออกซิเจนถูกส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง แต่ร่างกายของคนเรา จะมีกลไกในการเปลี่ยนเมธฮีโมโกลบิน ให้กลับมาเป็นฮีโมโกลบินปกติได้ ซึ่งการมีเมธฮีโมโกลบินในร่างกายประมาณ 1% ถือเป็นเรื่องปกติ

ภาวะเมธฮีโมโกลบิน

         แต่หากร่างกายได้รับสารกันเสียหรือสารกันบูดเข้าไปในปริมาณมากเกินกว่าร่างกายรับได้ จะทำให้ร่างกายเต็มไปด้วยเมธฮีโมโกลบินจำนวนมาก (มากกว่า 3%) ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนเมธฮีโมโกลบินคืนเป็นฮีโมโกลบินปกติไม่ทัน จึงไม่มีฮีโมโกลบินที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ จึงนำไปสู่ภาวะขาดออกซิเจน เราเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะเมธฮีโมโกลบินมีเนีย (methemoglobinemia) นั่นเองค่ะ

         ภาวะเมธฮีโมโกลบินในผู้ใหญ่ ถือเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่ในเด็กนั้น ร่างกายค่อนข้างมีความเปราะบาง รวมทั้งความสามารถในการเปลี่ยนเมธฮีโมโกลบินให้กลับเป็นฮีโมโกลบินปกตินั้น จะทำได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่ เด็กจึงเสี่ยงเกิดภาวะเมธฮีโมโกลบินได้ง่ายกว่าค่ะ

ภาวะเมธฮีโมโกลบิน

         ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออกประกาศกำหนดมาตรฐานการใช้สารไนไตรท์-ไนเตรท และสารเจือปนอื่น ๆ ในอาหาร อย่างเคร่งครัด โดยกำหนดว่าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บด สามารถใส่สารได้ไม่เกิน 80 มก./กก. ส่วนโซเดียมไนเตรท หรือโพแทสเซียมไนเตรท ใส่ได้ไม่เกิน 200 มก./กก (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 418 พ.ศ. 2563)

         เหตุที่ต้องใส่สารกันบูดนั้น ไม่ใช่แค่เพียงป้องกันอาหารบูดเสียเพียงอย่างเดียวเท่านั้นนะคะ แต่เป็นสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์หนึ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเชื้อเหล่านี้มักเจริญเติบโตในสภาวะสุญญากาศ อย่างบรรจุภัณฑ์ของไส้กรอกและอาหารแปรรูปต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องใส่สารเหล่านี้ตามมาตรฐานกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคค่ะ

รายชื่อไส้กรอกมรณะ (อัพเดท 2565)

  • ไส้กรอกเต็งหนึ่ง
  • หมูยอ บ.อุบล
  • หมูยอแม่จันตรี
  • หมูยออู๋ลี่เจี้ยน
  • หมูยอภูวดล
  • พรีเมี่ยมหมูยออุบล
  • พรีเมี่ยมไก่ยออุบล
  • หมูยอ-ไก่ยอจอมยุทธ
  • ไก่ยอเศรษฐี
  • ไก่ยอ ฤทธิ์ รสเด็ด
  • ลูกชิ้นสวัสดี
  • ลูกชิ้น บุญปาก
  • ลูกชิ้นหมูบ้านแหลม
  • 888พรีเมี่ยม ยออุบลหนังหมู

ไส้กรอกพิษ

ก่อนเลือกซื้อไส้กรอกและอาหารต่าง ๆ จำเป็นต้องดูผลิตภัณฑ์ที่มียี่ห้อ มีที่มาที่ไปชัดเจน ตรวจสอบได้ และที่สำคัญ ควรได้รับหมายเลข อย. อย่างถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเมธฮีโมโกลบินนี้ โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ นะคะ

มารู้จักกับ ภาวะพร่องออกซิเจน จากการมีออกซิเจนในเลือดต่ำ ภัยร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับคุณได้โดยไม่รู้ตัว!

7 อาการน่าสงสัย? ลูกน้อยของคุณอาจมี ภาวะเมธฮีโมโกลบิน!

         ต้องบอกเลยว่าไม่ใช่แค่ไส้กรอกมรณะเท่านั้นนะคะ ที่เป็นอันตราย แต่อาหารแปรรูป เนื้อหมูเนื้อไก่ ไข่มุกในชานม หรือแม้กระทั่งน้ำดื่ม ก็อาจปนเปื้อนสารที่อาจทำให้ลูกน้อยของคุณ เสี่ยงเกิดภาวะเมธฮีโมโกลบินได้เช่นกัน ซึ่งเราอาจจะเผลอให้ลูกรับประทานโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการผิดปกติของลูก หากพบอาการเหล่านี้ ให้สงสัยไว้ว่าอาจจะเป็นภาวะเมธฮีโมโกลบินได้ค่ะ

ภาวะเมธฮีโมโกลบิน อาการ

ออกซิเจนในเลือดต่ำ

         เด็กที่มีภาวะเมธฮีโมโกลบิน เมื่อเจาะเลือดเพื่อตรวจ Arterial Blood Gas ที่โรงพยาบาล จะพบว่าระดับออกซิเจนอยู่ในระดับปกติ แต่กลับตรวจพบระดับออกซิเจนที่ผิดปกตินี้ได้ ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ซึ่งไม่ใช่แค่ภาวะเมธฮีโมโกลบินเท่านั้นนะคะ แต่อย่างโรคโควิด-19 แบบไม่แสดงอาการ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วนี้ก็เข้ามามีบทบาทในการตรวจพบความผิดปกติภายใน ก่อนที่จะเกิดอันตรายได้

         ดังนั้น การมีเครื่องวัดออกซิเจนติดบ้านไว้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายนะคะ เพราะสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นภายใน เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แต่สามารถตรวจจับได้ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ตัวนี้ ซึ่งหากใครสนใจ ขอแนะนำเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ALLWELL รุ่น JPD-500D ที่มีมาตรฐาน ใช้งานจริงในหน่วยงานทางการแพทย์เลยค่ะ

สนใจ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว มีมาตรฐาน ผ่านการรับรองจาก อย. คลิก!!!

สรุป

         เนื่องด้วยเด็กมีร่างกายที่ค่อนข้างเปราะบาง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ดูแล จะต้องระมัดระวังสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน แม้ไส้กรอกที่มียี่ห้อจะไม่อันตรายต่อเด็กก็จริง แต่หากรับประทานในปริมาณมาก ๆ สะสมติดต่อกัน ถึงแม้จะมีโอกาสน้อยมาก แต่ก็เสี่ยงที่จะเกิดภาวะเมธฮีโมโกลบินได้เช่นกัน อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อเด็กในแง่ของโภชนาการด้วย

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup