หมอนรองแผลกดทับ เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ ดีอย่างไร? จำเป็นแค่ไหนกับผู้ใช้รถเข็น?

หมอนรองแผลกดทับ

         แผลกดทับ เป็นภัยร้ายที่สร้างความเจ็บป่วยและเสียชีวิตให้กับผู้ป่วยมามากมาย ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่า แผลกดทับจะเกิดกับผู้ป่วยติดเตียง แต่แท้จริงแล้ว ผู้ป่วยที่ต้องนั่งรถเข็นวีลแชร์ ก็เสี่ยงเป็นแผลกดทับได้เช่นกัน ซึ่งในทางการแพทย์ก็ได้มีอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย ที่เรียกว่า เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ หรือ หมอนรองแผลกดทับ ให้ผู้ป่วยใช้รองนั่งในขณะที่ใช้รถเข็น ซึ่งใช้แล้วช่วยเรื่องแผลกดทับได้อย่างไรนั้น ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

สารบัญ

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ หมอนรองแผลกดทับ มีกี่แบบ? ทำไมถึงต้องใช้?

         ผู้ป่วยที่ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ มีความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับได้ง่าย โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้รถเข็น เช่น การนั่งบนรถเข็นวีลแชร์เป็นระยะเวลานาน แขนผู้ป่วยถูไปมากับล้อหรือที่พักแขนในขณะเคลื่อนรถ กระดูกสันหลังถูกับพนักพิง รถเข็นไม่รองรับสรีระ เป็นต้น โดยแผลกดทับที่เกิดกับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ มักเกิดที่บริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ (ก้นกบ) และบริเวณส่วนก้นที่ใช้นั่งมากที่สุด

หมอนรองแผลกดทับ

ภาพจาก : ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

         แผลกดทับที่เกิดในผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์นี้ หากเป็นแล้ว จะส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถนั่งหรือนอนได้อย่างปกติ ซึ่งหากปล่อยไว้อาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น ผู้ป่วยจึงจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงมาก โดยแพทย์จะทำการรักษาบาดแผลให้ทุเลาลง ควบคู่ไปกับการใช้ เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ ในการดูแลเรื่องการนั่งของผู้ป่วย

         เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ หรือหมอนรองแผลกดทับ เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยกระจายน้ำหนักและลดแรงกดที่ปุ่มกระดูกเชิงกรานในขณะนั่ง ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยดูแลผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับเท่านั้น แต่หมอนรองแผลกดทับ ยังสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับที่เกิดจากการนั่ง สำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นได้อีกด้วย โดยสามารถแบ่งเป็นประเภทของหมอนรองแผลกดทับได้ ดังนี้

1. เบาะเจล

เบาะเจลรองนั่งกันแผลกดทับ

         ภายในทำจากเจลชนิดหนึ่ง ผิวสัมผัสนุ่มและเย็น มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามผู้ผลิต เช่น ผิวเรียบ ผิวปุ่ม ตัวเจลจะมีความยืดหยุ่น จึงสามารถกระจายความร้อนและแรงกดทับได้ รวมทั้งทำความสะอาดได้ง่าย แต่ข้อเสียคือมีน้ำหนักมาก อีกทั้งบางรุ่นจะมีราคาค่อนข้างสูง

2. เบาะลม

เบาะลมรองนั่ง แผลกดทับ

         ลักษณะและผิวสัมผัสแตกต่างกันไปตามผู้ผลิต แต่เหมือนกันตรงที่ภายในบรรจุลม จึงทำให้เบาะมีน้ำหนักเบา ระบายความอับชื้นได้ดี แต่มีข้อเสียคือจะต้องใช้อุปกรณ์ปั๊มลม อีกทั้งยังมีโอกาสปริแตกง่ายหากใช้กับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก ใช้เป็นเวลานาน หรือโดนของมีคม จึงทำให้อาจจะต้องเสียค่าซ่อมบำรุงรักษาบ่อย นอกจากนี้เวลาผู้ป่วยนั่งจะรู้สึกไม่สบายตัวและอาจเสียสมดุลในการทรงตัวได้ง่ายอีกด้วย

3. หมอนรองนั่งทรงโดนัท หรือทรงห่วงยาง

หมอนรองแผลกดทับ

         มีลักษณะเป็นทรงกลม มีช่องว่างบริเวณตรงกลาง คล้ายกับโดนัทหรือห่วงยาง ภายในมักทำจากยางพาราและใยสังเคราะห์ จึงให้ความรู้สึกนุ่มคล้ายหมอน ราคาค่อนข้างถูก แต่ข้อเสียคือการกระจายแรงกดทับจากการนั่งได้น้อยกว่าแบบอื่น อีกทั้งยังไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่มีแผลกดทับที่บริเวณก้น เพราะบริเวณผิวที่สัมผัสกับหมอนรองนั่งจะเกิดแรงกดสูงกว่าบริเวณอื่น จึงทำให้เกิดการปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด จะยิ่งเพิ่มโอกาสการเป็นแผลกดทับ หรือหากเป็นอยู่ก็อาจทำให้บาดแผลรุนแรงขึ้น

4. เบาะโฟม

เบาะโฟมกันแผลกดทับ

         ตัวเบาะทำจากโฟม จึงทำให้มีน้ำหนักเบา สามารถระบายอากาศได้ดี ผิวบริเวณก้นของผู้ป่วยจึงไม่เกิดความอับชื้น ตัวโฟมสามารถกระจายแรงกดทับได้ดี ข้อเสียคือเบาะโฟมแบบทั่วไปจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-6 เดือน อย่างไรก็ตาม เบาะโฟมบางยี่ห้อทำจากโฟมชนิดพิเศษที่มีความแข็งแรงและทนทาน ก็จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบบโฟมทั่วไป

หากปล่อยให้ผู้ป่วยเป็นแผลกดทับ ผู้ดูแลอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงถึง 65,000 ต่อเดือน ดังนั้นการลงทุนซื้ออุปกรณ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ จึงถือว่าคุ้มค่ากว่ามาก

รักษาแผลกดทับ ต้องใช้เงินเท่าไหร่? ที่นอนกันแผลกดทับ ใช้ได้จริงไหม? เช็กเลย!

แนะนำเบาะโฟมรองนั่งป้องกันแผลกดทับ Dyna-Tek Superior จาก ALLWELL

         สำหรับใครที่กำลังมองหาเบาะรองนั่งกันแผลกดทับให้ผู้ป่วยอยู่ล่ะก็ ขอแนะนำเบาะโฟมรองนั่งป้องกันแผลกดทับ Dyna-Tek Superior จาก ALLWELL เลยค่ะ เป็นเบาะโฟมที่ถูกออกแบบมาเพื่อดูแลและลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับที่เกิดจากการนั่งเป็นพิเศษ สามารถใช้งานร่วมกับรถเข็นวีลแชร์ได้ มาดูกันว่ามีข้อดีอย่างไรบ้างค่ะ

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ

         เบาะโฟมรองนั่งป้องกันแผลกดทับ Dyna-Tek Superior วัสดุเป็น Polyurethane Foam ชนิด CME หนา 2 ชั้น (10 ซม.) ที่มีความหนาแน่นและทนทาน ช่วยให้ผู้ป่วยทรงตัวได้ง่ายขึ้น โดยชั้นบนจะเป็นร่องแบบ Castellated Cut ออกแบบให้กระจายแรงกดทับได้อย่างดีเยี่ยม ลดแรงเสียดสีและแรงเฉือน และยังช่วยระบายความอับชื้นของผิวผู้ป่วยในขณะนั่งได้

ส่วนชั้นล่างเป็นเนื้อโฟมที่มีความหนาแน่น โฟมไม่ยุบตัวขณะผู้ป่วยนั่ง จึงช่วยยืดอายุการใช้เบาะรองนั่งได้อย่างยาวนานกว่าเบาะโฟมแบบทั่วไป

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ

         นอกจากนี้ ผ้าคลุมเบาะยังสามารถกันน้ำได้ ของเหลวไม่ซึมเข้าภายในเบาะ จึงไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ และยังสามารถเช็ดทำความสะอาดได้โดยไม่ต้องถอดซัก อีกทั้งตัวผ้าคลุมยังสามารถระบายความอับชื้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดแผลกดทับได้เป็นอย่างดี เมื่อผู้ป่วยนั่งจึงให้สัมผัสที่เบาสบาย ไม่ร้อน

เบาะรองนั่งป้องกันแผลกดทับ

         เบาะโฟมรองนั่งป้องกันแผลกดทับ Dyna-Tek Superior พัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านแผลกดทับ จากประเทศอังกฤษ จึงมั่นใจได้เลยว่าจะสามารถดูแลและป้องกันเรื่องแผลกดทับของผู้ป่วยที่เกิดจากการนั่ง ได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้สินค้ายังผ่านมาตรฐานระดับสากล เรื่องของคุณภาพและอายุการใช้งานจึงดีกว่าสินค้าตามท้องตลาดทั่วไปค่ะ ลงทุนซื้อของคุณภาพ ย่อมคุ้มกว่าการเสียเงินซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับของที่อายุการใช้งานสั้น เสียง่าย เนื่องจากไม่ได้มาตรฐานนะคะ

สนใจสั่งซื้อ เบาะโฟมลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ Dyna-Tek Superior คลิกเลย!!!

เคล็ดลับนั่งรถเข็นวีลแชร์อย่างไร ไม่ให้เป็นแผลกดทับ!

         การป้องกันและลดความเสี่ยง ในการเกิดแผลกดทับที่เกิดจากการนั่งรถเข็นผู้ป่วยนั้น ยังสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถเข็น ควบคู่ไปกับการใช้อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยอย่างหมอนรองแผลกดทับหรือเบาะรองนั่งกันแผลกดทับนะคะ ซึ่งบทความนี้มีเคล็ดลับการนั่งวีลแชร์ไม่ให้เกิดแผลกดทับมาฝากกันค่ะ

หมอนรองแผลกดทับ

  • ใช้เบาะรองนั่งกันแผลกดทับหรือหมอนรองแผลกดทับ เพื่อลดและกระจายแรงกดทับจากน้ำหนักตัวผู้ป่วย
  • พยายามให้ผู้ป่วยนั่งหลังตรง เอนพิงพนัก และเข่าอยู่ระดับเดียวกับสะโพก ไม่นั่งไขว่ห้าง
  • ยกตัวให้ก้นลอยขึ้นจากที่นั่งชั่วคราว ครั้งละ 30 วินาที ทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง หลีกเลี่ยงการนั่งติดต่อกัน โดยไม่ขยับตัว
  • เวลาย้ายตัวจากขึ้นหรือลงจากรถเข็น ควรยกให้ตัวลอยขึ้น อย่าให้ถูไถกับเบาะรถเข็นหรือเตียงนอน

          นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่สามารถขยับตัวเองได้บ้าง ยังสามารถขยับร่างกายด้วยท่าทางเหล่านี้เป็นประจำ (ข้อมูลจาก ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ก็จะยิ่งช่วยลดแรงกดทับขณะนั่งบนรถเข็นวีลแชร์ได้มากยิ่งขึ้นค่ะ ซึ่งก่อนเริ่มการขยับร่างกายด้วยท่าต่าง ๆ ต้องล็อกล้อรถเข็นทุกครั้งนะคะ ทางที่ดีควรทำในขณะอยู่ในสายตาผู้ดูแลจะดีที่สุดค่ะ

  1. ท่ายันร่างกายขึ้น : ค่อย ๆ ผ่อนคลายบริเวณกระดูกเชิงกราน แล้วใช้มือทั้งสองข้าง ค้ำยันกับที่วางแขนของรถเข็นทั้งสองด้าน เพื่อยันร่างกายขึ้น
  2. ท่าเอนตัวไปด้านข้าง : เป็นท่าลดแรงกดทับบริเวณสะโพก ทำโดยการเอียงตัว เพื่อถ่ายเทน้ำหนักไปที่ด้านใดด้านหนึ่ง ให้ก้นข้างที่ไม่ได้เทน้ำหนักลอยขึ้น จากนั้นกลับไปยังท่านั่งเช่นเดิม แล้วทำซ้ำกับสะโพกอีกข้าง
  3. ท่าเอนตัวไปด้านหน้า : เป็นท่าลดแรงกดทับบริเวณก้น ทำโดยให้ผู้ป่วยเอนตัวไปด้านหน้า จนหน้าอกชิดกับบริเวณหัวเข่าค้างไว้ซักพัก แล้วค่อย ๆ กลับมานั่งท่าเดิม
อ่านบทความ : ที่นอนโฟมกันแผลกดทับ Mercury นวัตกรรมใหม่ใช้แทนที่นอนลมได้!

สรุป

         แผลกดทับ นับเป็นภัยร้ายแรงที่ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวได้น้อยหรือไม่ได้เลย ควรระมัดระวังมากที่สุด ไม่เพียงแต่ผู้ป่วยที่นอนติดเตียง แต่กับผู้ป่วยที่ต้องใช้รถเข็น ก็เสี่ยงเป็นแผลกดทับเช่นเดียวกัน ทางที่ดีคือการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก ด้วยการดูแลจัดท่าทาง ควบคู่ไปกับการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยติดเตียงก็ควรใช้เตียงไฟฟ้าที่ปรับท่าทางได้ ร่วมกับที่นอนป้องกันแผลกดทับ ส่วนในขณะใช้รถเข็นก็ควรใช้เบาะรองนั่งเพื่อดูแลผู้ป่วย เป็นต้น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup