วิธีป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุ อันตรายที่เสี่ยงให้เกิดไม่ได้!!

วิธีป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         เมื่อถึงช่วงวัยที่เรียกว่าผู้สูงอายุ ก็มักจะพบการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งสภาพจิตใจและสภาพร่างกาย แม้แต่กิจวัตรประจำวันต่าง ๆ อย่างการรับประทานอาหาร ซึ่งสิ่งที่ต้องพบเจอบ่อย คือปัญหา ผู้สูงอายุสำลักอาหาร ซึ่งนับเป็นอันตรายอย่างมาก ในบทความนี้ จึงขอพาทุกท่านไปทำความเข้าใจในเรื่องการสำลักอาหารของผู้สูงอายุ พร้อมทั้งมี วิธีป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุ มาฝากผู้ดูแลทุกท่านด้วยค่ะ

สารบัญ

ทำไมผู้สูงอายุถึงชอบสำลักอาหาร?

         ก่อนที่เราจะไปดูวิธีป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุ เราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า ทำไมผู้สูงอายุถึงมักเกิดการสำลักอาหารหรือน้ำบ่อย ๆ เพื่อที่เราจะได้เข้าใจสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และเพื่อให้เข้าใจถึงวิธีป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุที่จะกล่าวถึงต่อไป โดยสาเหตุที่ผู้สูงอายุชอบสำลักอาหารก็มีสาเหตุ ดังนี้ค่ะ

คนแก่สำลักอาหาร

1.ความเสื่อมชราของร่างกาย ทำให้การกิจวัตรที่ร่างกายเคยทำได้ตามปกติ ทำได้ไม่ดีเท่าเดิม เช่น เดิมเราจะสามารถผลิตน้ำลายเพื่อเป็นการย่อยอาหารและหล่อลื่นให้เกิดการกลืนได้ง่าย แต่เมื่อถึงวัยชราร่างกายจะผลิตน้ำลายน้อยลงทำให้ขาดการย่อยในเบื้องต้น และการหล่อลื่นเพื่อกลืนก็ลดลงตามไปด้วย

         จึงเกิดการสำลักขึ้นได้บ่อย ๆ หรือจะเป็นการเสื่อมชราของเหงือกและฟันทำให้การย่อยเชิงกลภายในปากทำได้ไม่ดีเท่าเก่า จึงต้องใช้เวลาในการกลืนเพิ่มมากขึ้น และในทุกครั้งของการกลืนก็จะเกิดการหยุดหายใจ เมื่อใช้เวลาในการกลืนอาหารนานขึ้นก็ทำให้ผู้สูงอายุต้องรีบกลับมาหายใจจึงเกิดการสำลักอาหารขึ้นนั่นเอง

2.การเป็นโรคในผู้สูงอายุ ซึ่งโรคในบางโรคก็นำมาซึ่งปัญหาของการสำลักอาหาร อาทิ โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคอัมพาต หรือโรคอัมพฤกษ์ เป็นต้น

ผู้สูงอายุสำลักแบบไหน ถึงเรียกว่าไม่ปกติ?!

      แน่นอนว่า การสำลักเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ และดูไม่ใช่เหตุการณ์ที่ร้ายแรง แต่การสำลักที่เกิดกับผู้สูงอายุ แล้วเกิดขึ้นบ่อยหรือแทบทุกครั้ง นั่นถือว่าไม่ใช่อาการสำลักแบบปกติค่ะ เรามาดูกันว่ามีอาการน่าสงสัยอะไรอีกบ้าง ที่เข้าข่ายอาการไม่ปกติ

วิธีป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุ

  • ในการรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มทุกครั้ง มักมีการสำลักเกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ
  • มีประวัติการสำลักที่นำไปสู่การติดเชื้อมาก่อนหน้านี้
  • เกิดการสำลักอาหารที่รุนแรง ซึ่งมักมีการแสดงออกทางร่างกาย อย่างใบหน้าที่มีสีแดง หรือ การหายใจลำบาก ไม่สามารถพูดสื่อสารออกเสียงได้ มีอาการหอบและไออย่างรุนแรง
  • ผู้สูงอายุเกิดการสำลักจนทำให้กลัวการที่จะต้องสำลักอีก จนไม่ยอมรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม แล้วนำมาซึ่งร่างกายที่ไม่สมบูรณ์เพราะมีสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ
  • ผู้สูงอายุที่สำลักอาหารมีสภาวะของโรคอื่นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคอัมพาต หรือ โรคอัมพฤกษ์
คนแก่กลืนอาหารไม่ลง ความทรมานของภาวะกลืนลำบาก แก้ไขอย่างไรดี?

วิธีป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุ

         การสำลักอาหารอาจนำมาซึ่งภาวะร้ายต่าง ๆ จึงไม่ควรปล่อยให้ภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นต่อไป วิธีการรักษาและป้องกันภาวะสำลักในผู้สูงอายุ คือการไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดการสำลักที่ผิดปกติ จากนั้นผู้ดูแลต้องมีการช่วยปรับพฤติกรรมการกินของผู้สูงอายุควบคู่ไปด้วยค่ะ

วิธีป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุ

เตียงปรับไฟฟ้า ALLWELL รุ่น LIBRA มาพร้อมฟังก์ชันปรับท่านั่งสำหรับกินข้าวที่เหมาะสม

  • จัดอิริยาบถในการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม ในกรณีที่นั่งรับประทานก็ควรนั่งตัวตรง และในกรณีที่เป็นผู้สูงอายุติดเตียงควรยกศีรษะขึ้นสูงประมาณ 45 องศา เพื่อหลีกเลี่ยงการสำลักอาหารที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ไม่ควรทำกิจกรรมอื่น ๆ ขณะรับประทานอาหาร อาทิเช่น การดูโทรทัศน์ เพราะจะนำมาสู่การสนทนาหรือการหัวเราะที่จะเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการสำลักอาหาร
  • เตรียมอาหารให้แก่ผู้สูงอายุอย่างเหมาะสมทั้งในส่วนของปริมาณที่ไม่ควรมากจนเกินไป ขนาดควรแบ่งเป็นชิ้นพอดีคำ หากเป็นชิ้นใหญ่ก็ควรตัดแบ่งให้สามารถรับประทานได้ง่าย และควรมีอาหารประเภทซุปหรือต้มจืดให้ผู้สูงอายุได้ซดเพิ่มความลื่นคอในระหว่างการรับประทานอาหารด้วย
สนใจ เตียงปรับไฟฟ้า สำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วย คลิกเลย !!

วิธีช่วยเมื่อผู้สูงอายุสำลักอาหาร

        แม้วิธีการป้องกันการสำลักอาหารในผู้สูงอายุจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือ วิธีการช่วยคนสำลักอาหาร ซึ่งนับว่าเป็นเหตุฉุกเฉินที่จะต้องทำการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพราะในกรณีที่เลวร้ายอาจทำให้ผู้สูงอายุขาดอากาศหายใจได้ ในฐานะของผู้ดูแลหรือคนใกล้ชิด มาดูกันว่าเมื่อเกิดเหตุผู้สูงอายุสำลักอาหารเราจะสามารถช่วยอย่างไรได้บ้าง

วิธีป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุ

วิธีช่วยเมื่อผู้สูงอายุสำลักอาหาร

1.ประเมินอาการหากผู้สูงอายุยังสามารถพูดคุยได้ตามปกติ แต่ยังรู้สึกถึงอาหารที่ค้างอยู่ภายในลำคอ ให้รีบพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ

2. แต่หากประเมินอาการแล้วพบว่า ผู้สูงอายุมีท่าทีทรมานไม่สามารถส่งเสียงได้ นับว่าเป็นเหตุฉุกเฉิน ให้รีบใช้กำปั้นทุบบริเวณไหล่ของผู้สูงอายุทีละด้าน ด้านละ 5 ครั้ง หากอาหารยังลงไปไม่ลึก จะสามารถออกมาทางปากได้ แต่หากอาหารยังไม่ออกมาให้รีบไปด้านหลังของผู้สูงอายุแล้วโอบซ้อนทับหลังของผู้สูงอายุ

วิธีป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุ

3. จากนั้นสอดมือทั้งสองข้างไปใต้หน้าอกของผู้สูงอายุ กดลงไปบริเวณหน้าอก พร้อมกับยกตัวผู้สูงอายุขึ้นเขย่าเล็กน้อย ส่วนนี้อาหารที่สำลักอยู่ก็จะสามารถออกมาได้เอง ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนี้ต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 นาทีเท่านั้น มิฉะนั้น อาจทำให้ผู้สูงอายุขาดอากาศหายใจ และเสี่ยงเสียชีวิตได้

สรุป

         เราจะพบว่าวัยสูงอายุหรือวัยชราก็เป็นอีกหนึ่งช่วงวัยที่ควรได้รับการเอาใจใส่ทั้งสภาพจิตใจและสภาพร่างกาย ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากวัยชรานั้นเป็นช่วงวัยที่ร่างกายเริ่มโรยรา และหากอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสังคมที่ไม่เหมาะสมด้วยแล้วก็จะทำให้กลายเป็นปัญหาของจิตใจตามไปด้วย

         จึงเป็นบทบาทที่สำคัญของตัวผู้สูงอายุเองและผู้ดูแลที่จะต้องใส่ใจในเรื่องดังกล่าว รวมถึงกิจวัตรประจำวันที่จะนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตอย่างการสำลักอาหารที่เรากล่าวถึงในบทความข้างต้น และทุกการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาเสมอ วิธีป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุจึงกลายเป็นหนึ่งในตัวช่วยป้องกันที่ดีในการดำเนินชีวิตที่ทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองได้นั่นเอง

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup