คาร์บอนแก้ท้องเสีย คืออะไร? กินแบบไหนถึงจะถูกต้อง!!

คาร์บอนแก้ท้องเสีย

         อาการท้องร่วงหรือท้องเสีย เป็นภาวะการขับถ่ายที่ผิดปกติ โดยจะถ่ายเหลวและอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งอาจเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ทั้งการติดเชื้อแบคทีเรีย อาหารเป็นพิษ หรือลำไส้แปรปรวน โดยแพทย์มักจะให้กินยาฆ่าเชื้อ และดื่มเกลือแร่ร่วมด้วย แต่ก็มีหลายคนที่หาซื้อยามากินเอง ซึ่ง คาร์บอนแก้ท้องเสีย ก็เป็นอีกหนึ่งตัวยาที่หลายคนนิยมเลือกใช้ โดยคาร์บอนคือยาอะไร และช่วยเรื่องใดบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

สารบัญ

คาร์บอนแก้ท้องเสีย คือ ยาอะไร? ช่วยเรื่องอะไรบ้าง?

         คาร์บอนแก้ท้องเสีย คือ แร่ธาตุคาร์บอน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าผงถ่าน แต่เป็นผงถ่านที่ใช้ในเกรดยา ไม่ใช่ผงถ่านโดยทั่วไป ยาชนิดนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งที่นิยมเรียกกันว่ายาผงถ่าน ชื่อตัวยาภาษาอังกฤษ คือ Activated Charcoal หรือ Activated Carbon (ถ่านกัมมันต์) มีฤทธิ์ในการดูดซับสารพิษและแบคทีเรีย จึงช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย หรือถ่ายท้อง จึงกลายมาเป็นยาสามัญประจำบ้านที่หลายคนต้องมีติดบ้านเอาไว้

คาร์บอนแก้ท้องเสีย

สรรพคุณของยาคาร์บอนแก้ท้องเสีย

  • ดูดซับสารเคมี สารพิษ และเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่ร่างกายรับเข้ามา ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ท้องร่วง
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด เนื่องมาจากอาหารไม่ย่อย หรือการปวดท้องเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะปริมาณมาก ฉพาะในกรณีที่แพทย์สั่งคาร์บอนนี้ไปใช้สำหรับการบรรเทาอาการต่าง ๆ ร่วมกับยาชนิดอื่น
อาการอาหารเป็นพิษ ปัญหาเล็กๆที่ไม่ควรมองข้าม

คาร์บอนแก้ท้องเสีย กินแบบไหนถึงจะถูกต้อง

         เมื่อเราเกิดอาการท้องเสียขึ้นก็มักจะเรียกหาทั้งส่วนของเกลือแร่ เพื่อทดแทนส่วนของน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปในปริมาณมากระหว่างการขับถ่าย และยาอีกหนึ่งชนิดที่ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางก็คือ คาร์บอน แต่คาร์บอนนี้ก็มีความจำเพาะในการกินที่ทุกท่านควรทราบไม่ว่าจะต้องกินช่วงใด ต้องกินปริมาณเท่าไรหรือกี่เม็ด ถึงจะเป็นการกินที่ถูกต้องและนำมาซึ่งความปลอดภัยของผู้ที่กิน โดยทั้งหมดนี้เราได้รวบรวมมาไว้ให้ดังนี้

ยาผงถ่าน

เวลาและปริมาณในการกินคาร์บอนแก้ท้องเสีย

  • กินตอนไหน : ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการกินคาร์บอนก็คือช่วงเวลาที่ท้องว่าง ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาหลังอาหารเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หรือ ช่วงเวลาก่อนอาหารเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
  • กินกี่เม็ด : โดยปกติแล้วนั้นคาร์บอนแก้ท้องเสียควรกินครั้งละ 3 – 4 เม็ด แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูเอกสารกำกับยาประกอบด้วย เพราะคาร์บอนที่มีขายในท้องตลาดนี้มีหลายยี่ห้อ โดยแต่ละยี่ห้อก็มีปริมาณคาร์บอนที่แตกต่างกันออกไป
  • ความถี่ในการกิน : คาร์บอนนี้ควรกินทุก ๆ 4 – 6 ชั่วโมง หรือ วันหนึ่งควรกินประมาณ 2 – 3 ครั้ง และก็เช่นเดียวกับกรณีข้างต้นที่ต้องพิจารณาเอกสารกำกับยาประกอบด้วย
ปวดท้องตรงกลาง ปวดท้องบิด ปวดแบบไหนควรไปหาหมอ?

ข้อควรระวังหลังกินคาร์บอนแก้ท้องเสีย

         หลังจากที่เราทราบกันแล้วว่า ยาคาร์บอนสามารถช่วยในเรื่องของการแก้อาการท้องเสีย ซึ่งจะเป็นการช่วยดูดซับส่วนของสารเคมี หรือสารพิษ หรือแม้แต่เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ  และโดยปกติแล้วการกินคาร์บอนแก้ท้องเสียนั้น ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย แต่การกินยาคาร์บอนก็ยังมีข้อควรระวังหลังการกินตัวยาเข้าไป

คาร์บอนแก้ท้องเสีย

ข้อควรระวังหลังการกินยาคาร์บอน

  • เมื่อกินคาร์บอนเข้าไปจะไม่มีการดูดซับสารพิษหรือสารเคมีหรือแบคทีเรียต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย แต่คาร์บอนจะดูดซับสารต่าง ๆ ข้างต้นแล้วขับออกมาทางอุจจาระ จึงทำให้อุจจาระมีสีดำขึ้นได้
  • เมื่อกินคาร์บอนแล้วต้องกินยาอื่นร่วมด้วย ควรเว้นระยะเวลาหลังการกินคาร์บอนก่อนการกินยาอื่นเป็นเวลาอย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมง
  • เมื่อกินคาร์บอนแล้วต้องการดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมอย่างโยเกิร์ตหรือไอศกรีมก็ควรเว้นระยะเวลาหลังการกินคาร์บอนก่อนดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมเป็นเวลาอย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมง

ยาคาร์บอน

กินคาร์บอน ก่อนดื่มนมเป็นเวลาอย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมง

  • หลังจากที่กินคาร์บอนไม่ควรอย่างยิ่งที่จะกินเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีส่วนผสมของ Alcohol เพราะ Alcohol ที่อยู่ในอาหารและเครื่องดื่มจะไปทำปฏิกิริยากับคาร์บอนแล้วนำอันตรายมาสู่ร่างกายได้
  • เมื่อกินคาร์บอนเข้าไปไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใช้ยาที่มีส่วนผสมของน้ำตาลซอลบิทอลอย่างยาถ่าย เพราะจะลดประสิทธิภาพของยาได้

ใครที่ไม่ควรกินยาคาร์บอนแก้ท้องเสีย?

         ถึงแม้ว่าการกินคาร์บอนแก้ท้องเสีย จะช่วยในเรื่องของการดูดซับส่วนของสารเคมี หรือ สารพิษ หรือ แม้แต่เชื้อแบคทีเรียที่ร่างกายรับเข้าไปไม่ให้เกิดการแพร่กระจาย แต่ก็จะมีอีกกลุ่มบุคคลที่ไม่ควรกินผงถ่านคาร์บอนเข้าไป เพราะจะทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายได้ โดยมีดังต่อไปนี้

ผงถ่านแก้ท้องเสีย

กลุ่มบุคคลที่ไม่ควรกินผงถ่านคาร์บอน

  1. สตรีมีครรภ์
  2. สตรีให้นมบุตร
  3. ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตัน
  4. ผู้ที่มีบาดแผลในลำไส้หรือในกระเพาะอาหาร
  5. ผู้ป่วยที่กำลังได้รับการรักษาสารพิษไม่ว่าจะเป็นกรดแก่ ด่างแก่ สารละลายเกลือแร่ สารลิเทียม Alcohol หรือแม้แต่ไซยาไนต์
  6. ผู้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดช่องท้อง

แบนเนอร์ Bedee

แบนเนอร์ Bedee

สรุป

         คาร์บอนแก้ท้องเสีย แม้จะเป็นหนึ่งในยาพื้นฐานที่หลาย ๆ ท่านรู้จัก เพราะเป็นหนึ่งในยาสามัญประจำบ้าน  แต่จากบทความข้างต้นเราก็จะพบกับความจำเพาะของยาชนิดนี้ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาอย่างปริมาณหรือความถี่ในการกิน นอกจากนี้ก็มีข้อควรระวังหลังการกิน และกลุ่มบุคคลที่ไม่ควรกินยาดังกล่าว อย่างไรก็ดีหากเกิดความไม่เข้าใจหรือความไม่แน่ใจในการกิน ผู้ที่มีอาการท้องเสียก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนจะดีกว่า

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup