ระวัง! หัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นเร็ว-เต้นช้าผิดปกติ “เสี่ยงตายเฉียบพลัน” รีบเช็กก่อนที่จะสายเกินไป

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         ถ้าพูดถึงการทำงานของหัวใจ หลายคนมักไม่รู้ว่าตัวเองนั้น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นผิดปกติหรือเปล่า กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ล้มตึงเข้าโรงพยาบาล ด้วยภาวะหัวใจวายหรือล้มเหลวเฉียบพลันแบบไม่ทันได้ตั้งตัว บางคนก็มีอาการผิดปกติบางอย่างแสดงออกมา แต่กลับไม่รู้ตัวว่า อาการเหล่านี้เกิดจากการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าไม่อยากเสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลันด้วยโรคนี้ล่ะก็ ต้องอ่านบทความนี้เลยค่ะ

สารบัญ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากอะไร?

         รู้หรือไม่คะว่า การที่หัวใจเราสามารถเต้นได้นั้น เกิดจากการถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า?! กระแสไฟฟ้าที่ว่านี้ เกิดจากหัวใจสร้างขึ้นมาเอง แล้วนำส่งกระจายไปยังเซลล์นำไฟฟ้าต่าง ๆ ที่อยู่ทั่วห้องหัวใจ เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านกล้ามเนื้อหัวใจ จะทำให้กล้ามเนื้อนั้นหดตัว เกิดการบีบตัวของหัวใจขึ้น หรือที่เราเรียกว่าหัวใจเต้น เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่อไป

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

         อัตราการเต้นของหัวใจ จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมของร่างกายที่ทำในขณะนั้น แต่โดยปกติแล้ว ขณะนั่งพักหัวใจจะเต้น หรือบีบรัดตัวอย่างสม่ำเสมอ อยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที หากเดินหรือวิ่ง หัวใจอาจจะเต้นมากกว่า 100-120 ครั้งต่อนาที แต่หากในขณะนอนหรือนั่งพัก หัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที หรือเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ เราเรียกภาวะนี้ว่า หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)

         หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าในหัวใจลัดวงจร หรือเกิดความผิดปกติในกระบวนการสร้างหรือนำส่งกระแสไฟฟ้า ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเร็ว-ช้ากว่าปกติ หรือเต้น ๆ หยุด ๆ เต้นช้าสลับ-เร็วไม่สม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือโรคหลอดเลือดสมองได้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ จึงถือว่าเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง

นายแพทย์ยศวีร์ อรรฆยากร อายุรแพทย์โรคหัวใจและเฉพาะทางด้านไฟฟ้าหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า “โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในคนไทย 1,000 คน จะพบ 40 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ทุกเพศทุกวัยก็สามารถเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้เช่นกัน

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ประเภทของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  1. หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation : AF) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด อาการที่พบคือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะและเร็วผิดปกติ เกิดมาจากการกระตุ้นหัวใจที่ผิดปกติไม่เป็นระบบที่บริเวณหัวใจห้องบน ทำให้หัวใจห้องบนบีบตัวได้ไม่เต็มที่ สูบฉีดเลือดได้น้อยลง ไม่พอไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  2. ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Supraventricular Tachycardia : SVT) เกิดจากความผิดปกติของวงจรหัวใจห้องบน ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ แต่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ โดยมักเต้นอยู่ที่ 150-250 ครั้งต่อนาที ซึ่งการบีบตัวเร็ว ของหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงห้องหัวใจไม่ทัน
  3. ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 50-60 ครั้งต่อนาที สาเหตุมาจากการสร้างหรือการนำกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติ หรืออาจจะทั้งสองแบบ ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้ไม่เพียงพอ
  4. สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขวาง (Heart Block หรือ AV Block) เกิดจากการนำกระแสไฟฟ้าจากหัวใจห้องบนไปห้องล่างได้ช้าลง เนื่องจากถูกขัดขวางหรือปิดกั้น มักพบว่าหัวใจเต้นช้ามาก แต่เต้นอย่างสม่ำเสมอ มักพบเต้นอยู่ที่ 30-40 ครั้งต่อนาที
  5. ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว (Ventricular Fibrillation) มีอาการหัวใจเต้นเร็วและไม่เป็นจังหวะ เกิดจากการกระตุกหรือการสั่นของใยกล้ามเนื้อหัวใจในหัวใจห้องล่าง ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ นับเป็นภาวะอันตรายและต้องได้รับการรักษาฉุกเฉินทันที

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ผู้สูงอายุ เนื่องจากระบบไฟฟ้าหัวใจเสื่อมสภาพ กระตุ้นหัวใจได้น้อยลง ทำให้หัวใจทำงานได้ช้าลงผิดปกติ
  • การดื่มหรือใช้สารที่มีผลต่อหัวใจ โดยเฉพาะการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จะส่งผลต่อกระแสไฟฟ้าในหัวใจ อีกทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มคาเฟอีน การใช้สารเสพติด ก็จะไปกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้เต้นผิดจังหวะ
  • เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ
  • โรคที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น
  • ยาบางชนิด ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ เช่น ยาแก้หวัด ยาขยายหลอดลม ยาลดน้ำหนัก เป็นต้น
  • เกลือแร่ในเลือดไม่สมดุล เกลือแร่ที่ทำหน้าที่กระตุ้นและเป็นสื่อให้กระแสไฟฟ้าในหัวใจ หากมีระดับที่ไม่พอดีต่อร่างกาย จะส่งผลให้กระแสไฟฟ้าในหัวใจมีความผิดปกติ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการเป็นอย่างไร?

         เนื่องจากหัวใจมีปัญหาในการทำงาน จึงส่งผลเสียต่อระบบอื่น ๆ ไปด้วย ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จึงมักแสดงอาการผิดปกติออกมา แต่ในบางรายก็อาจไม่มีอาการผิดปกติอะไรเลย อย่างไรก็ตาม อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบ สามารถสังเกตได้ดังนี้

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ใจสั่น เจ็บหน้าอกหรือจุกแน่นที่คอ-ลิ้นปี่
  • เหนื่อย หายใจหอบ อ่อนเพลีย
  • เหงื่อออกมาก
  • วิงเวียนศีรษะ-มึนงง
  • นอนราบไม่ได้
  • หน้ามืด วูบหรือเป็นลม
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หมดสติ จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตเฉียบพลัน

อาการข้างต้นอาจไม่ใช่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเสมอไป อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและทางรักษาต่อไป

จะรู้ได้อย่างไรว่า หัวใจเต้นผิดจังหวะ?

         หลายคนไม่รู้ตัว ว่าตัวเองมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เนื่องจากอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบนั้น มักเป็นอาการที่มองเผิน ๆ เหมือนจะเป็นเรื่องปกติ ที่อาจเกิดจากการพักผ่อนน้อยหรือตามอายุที่มากขึ้น หรือบางคนมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ร่างกายกลับไม่แสดงอาการอะไรออกมาเลย รู้ตัวอีกทีอาการก็แย่จนเสี่ยงเสียชีวิต แล้วเราจะสามารถตรวจเช็กความผิดปกติของหัวใจนี้ได้อย่างไรบ้าง?

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

         หากต้องการตรวจเช็ก ว่าคุณมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่นั้น ในปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์เพื่อสุขภาพ หรือเครื่องมือทางการแพทย์หลายอย่าง ที่สามารถตรวจจับความผิดปกติของการเต้นของหัวใจนี้ได้ เพื่อให้คุณสามารถตรวจเช็กและประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นก่อนที่จะเกิดอันตรายได้

         ในบทความนี้ ขอแนะนำให้ท่านเลือกใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต” ที่มีฟังก์ชันในการตรวจจับความผิดปกติของหัวใจได้ เนื่องจากหัวใจและความดันโลหิตนั้น ทำงานเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน อีกทั้งค่าความดันโลหิตที่ผิดปกติ ก็เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอีกด้วย

เครื่องวัดความดันโลหิต ALLWELL รุ่น 2005 มาพร้อมฟังก์ชันวัดอัตราการเต้นของหัวใจ แสดงสัญลักษณ์แจ้งเตือน เมื่อหัวใจเต้นผิดปกติ

         เครื่องวัดความดันโลหิต ที่มีฟังก์ชันตรวจจับความผิดปกติของการเต้นหัวใจได้ จะทำงานโดยการตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจ ที่แตกต่างกันมากกว่า 25% จากการเต้นของหัวใจโดยเฉลี่ยทั้งหมด หากตรวจพบจังหวะการเต้นผิดปกติมากกว่าสองครั้งในการวัดครั้งนั้น หน้าจอของเครื่องจะแสดงสัญลักษณ์หัวใจเต้นผิดปกติขึ้น ซึ่งแนะนำว่าให้นั่งพัก 1-2 นาทีแล้ววัดซ้ำอีกครั้ง หากสัญลักษณ์นั้นยังปรากฏอยู่ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อไป

         ในกรณีที่ต้องการตรวจเพื่อวินิจฉัย ว่าคุณเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่นั้น ผู้ที่สามารถวินิจฉัยได้มีแค่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยจะทำการตรวจด้วยเครื่องมือและวิธีเฉพาะทางการแพทย์ ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

  1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : ECG/EKG) เป็นการตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่ออกมาจากหัวใจ โดยการนำตัวจับสัญญาณไฟฟ้าติดไว้ที่บริเวณหน้าอก ข้อมือ และข้อเท้าทั้งสองข้าง ขั้นตอนนี้ผู้ที่รับการตรวจจะต้องนอนราบบนเตียงนิ่ง ๆ จากนั้นเครื่องจะทำการตรวจและประมวลผลออกมาเป็นกราฟหัวใจ
  2. การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitoring) เป็นการตรวจวัดและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตลอด 24 ชั่วโมง (เป็นระยะเวลากี่วันแล้วแต่แพทย์กำหนด) โดยการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจไว้กับตัว
  3. การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST) เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย ด้วยการเดินบนสายพานหรือปั่นจักรยาน จะทำให้พบการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่แสดงออกมาขณะเหนื่อย เช่น หอบ เจ็บหน้าอก ใจสั่น เป็นต้น
  4. การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) โดยการส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอกด้วยเครื่องตรวจเฉพาะ แล้วรับเสียงที่สะท้อนกลับออกมามาเป็นรูปภาพในคอมพิวเตอร์ เพื่อดูการทำงานของหัวใจ
  5. การตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ (Electrophysiology Study) เป็นการตรวจประเมินสัญญาณไฟฟ้าและทางเดินไฟฟ้าหัวใจ โดยการนำตัวจับสัญญาณไฟฟ้าติดไว้ที่บริเวณหน้าอก เพื่อหาตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติแล้วแสดงผลออกมาเป็นกราฟ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจาก

         อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวของแพทย์ใช้เพื่อวินิจฉัยหาความผิดปกติของหัวใจ แต่หากต้องการติดตามผลการรักษาหรือตรวจเช็กความผิดปกติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่สามารถตรวจจับความผิดปกติของหัวใจ ดังเครื่องวัดความดันที่ได้กล่าวข้างต้น นอกจากจะให้ทั้งความสะดวกสบาย และมีค่าใช้จ่ายน้อยแล้ว ยังช่วยให้คุณสามารถประเมินความเสี่ยงภาวะอื่น ๆ ได้อีกด้วย

         หากใครสนใจเครื่องวัดความดัน ที่มีฟังก์ชันที่สามารถตรวจจับความผิดปกติของหัวใจได้ บทความนี้ก็ขอแนะนำเครื่องวัดความดันโลหิต ALLWELL เลยค่ะ มีมาตรฐานและไว้วางใจได้ จำหน่ายโดยบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องมือทางการแพทย์โดยเฉพาะ ใช้งานจริงในโรงพยาบาลทั่วประเทศ หากสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อ โดยคลิกที่ปุ่มด้านล่างได้เลยค่ะ

สนใจ เครื่องวัดความดัน ที่มีฟังก์ชันตรวจจับหัวใจเต้นผิดจังหวะ คลิก!!!

หัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษาได้ไหม?

         หากใครที่พบว่าตนเอง มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แล้วมีความกังวลว่า หากเป็นแล้วจะรักษาให้หายได้ไหม เพราะไม่อยากไปหาหมอบ่อย ๆ หรือเสี่ยงเกิดอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ซึ่งในทางการแพทย์แล้ว ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถรักษาให้หายได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับความรุนแรง โดยมีวิธีรักษาหลายแบบ แล้วแต่ดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา เช่น

หัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายไหม

  • จ่ายยารักษาจนกลับมาปกติ
  • การช็อกไฟฟ้าที่หัวใจ เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ
  • การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยคลื่นวิทยุ โดยการสวนสายเข้าไปที่เส้นเลือดดำบริเวณขาหนีบ
  • ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ

         ส่วนใหญ่แล้ว หากไม่ได้มีอาการหนัก และดูแลสุขภาพดี ก็สามารถหายขาดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจะต้องดูแลสุขภาพให้ดี โดยการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลทั้งกายและใจให้แข็งแรง และที่สำคัญต้องมาพบแพทย์เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอนะคะ

สรุป

         หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่ว่าหัวใจเต้นเร็ว เต้นช้า เต้นไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ หรือเต้นผิดปกติไปจากเดิม ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้ามเลยค่ะ หลายคนชะล่าใจ ไม่เคยเช็กสุขภาพหัวใจตัวเอง รู้ตัวอีกทีก็สายเกินแก้ ดังนั้น ต้องหมั่นตรวจอย่างสม่ำเสมอ เดี๋ยวนี้อุปกรณ์สุขภาพที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาใกล้บ้าน หรือช่องทางออนไลน์ก็สามารถตรวจเช็กหัวใจได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะซื้ออุปกรณ์ใด ก็ควรพิจารณาถึงมาตรฐานของเครื่องด้วยนะคะ

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup