มาดูกัน ! ห้ามกินยากับอะไร สิ่งไหนที่กินคู่กันแล้วจะเป็นอันตราย!!

ห้ามกินยากับอะไร

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         “ยา” นับเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำเนินชีวิตของมนุษย์  ไม่ว่าจะเพศใด อายุเท่าใด เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็ล้วนต้องใช้ยาในการรักษา ดังนั้นยาจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนเราขาดไม่ได้ นอกจากยาจะช่วยรักษาอาการป่วยให้หายขาดแล้ว การกินยาที่ถูกต้องก็มีส่วนสำคัญช่วยให้คุณหายจากอาการป่วยอย่างได้ผล หนึ่งในสิ่งที่หลายท่านยังคงสับสนอยู่ ก็คือ ห้ามกินยากับอะไร โดยเราได้รวบรวมคู่ยาและอาหารที่ห้ามกินคู่กันมาไว้ในบทความนี้แล้ว

สารบัญ

ห้ามกินยากับอะไรบ้าง?

         แม้ว่ายาจะช่วยบรรเทาอาการป่วย หรือหายได้ในที่สุดนั้น แต่หลาย ๆ ท่านก็ยังไม่ทราบกันว่า ยาแต่ละชนิด แต่ละประเภท ไม่สามารถทานคู่กับอาหารได้ทุกประเภท ซึ่งการห้ามกินยากับอะไรบ้างนั้น มีปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ในการพิจารณาหลัก ๆ ดังนี้

ห้ามกินยากับอะไร

ปัจจัยที่ใช้พิจารณาห้ามกินยากับอะไร

  1. สิ่งที่เสริมฤทธิ์จนทำให้ฤทธิ์ของยานั้น ๆ มากเกินไป เช่น อาจจะทำให้เลือดสูบฉีดมากเกินไป หรือมีความดันที่สูงขึ้น
  2. สิ่งที่ไปขัดกับฤทธิ์ของยานั้น ๆ ทำให้ยาไม่ออกฤทธิ์ เช่น นมมีส่วนประกอบของแคลเซียมที่มีผลต่อการดูดซึมของยา
  3. สิ่งที่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงของยาที่รุนแรงขึ้น เช่น การกินยาที่มีโพแทสเซียมสูง จะทำให้ยาประเภทหัวใจออกฤทธิ์ต่อหัวใจมากขึ้นอาจทำให้หัวใจวายได้

สินค้าสุขภาพ บันทึกประวัติและประเมินผลผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

NEW
Original price was: 2,490฿.Current price is: 1,390฿.

เชื่อมต่อ Bluetooth เพื่อดูค่าและเก็บข้อมูลบนแอปพลิเคชันได้ | ระบบเสียงภาษาไทย | รับประกันสินค้า 3 ปี

Original price was: 2,100฿.Current price is: 950฿.

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ 20 ค่า | Bluetooth ดูค่าผ่าน App ได้ 

Original price was: 1,990฿.Current price is: 890฿.

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ 14 ค่า | Bluetooth ดูค่าผ่าน App ได้ 

รวมข้อมูลเฉพาะ ห้ามกินยากับอะไร

         หลังจากที่พวกเราทราบกันแล้วว่า ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาการห้ามกินยากับอะไรไปแล้วนั้น ถัดมาเราก็ขอพาทุกท่านไปเจาะลึกถึงข้อมูล ว่ายาที่มีการออกฤทธิ์ต่าง ๆ นั้นห้ามกินยากับอะไรบ้าง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ โดยมีดังต่อไปนี้

ห้ามกินยากับอะไร

รวมข้อมูลเฉพาะ ห้ามกินยากับอะไร

  • ยาลดไขมัน ห้ามกินคู่กับอะไร?

         ยาลดไขมัน เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ประกอบด้วย

  1. โรซูวาสแตติน หรือ Rosuvastatin
  2. ยาซิมวาสแตติน หรือ Simvastatin
  3. ฟลูวาสแตติน หรือ Fluvastatin
  4. อะทอร์วาสแตติน หรือ Atorvastatin
  5. พราวาสแตติน หรือ Pravastatin
  6. พิทาวาสแตติน หรือ Pitavastatin

ยาลดไขมัน ห้ามกินคู่กับยาอะไร

         โดยยาลดไขมัน ห้ามกินคู่กับยาอะไรบ้างนั้น มีดังต่อไปนี้

  1. ยาอะทาแซนาเวียร์ หรือ Atazanavir, ยาโลพินาเวียร์ หรือ Lopinavir และ ยาริโทนาเวียร์ หรือ Ritonavir ซึ่งจัดเป็นกลุ่มยาฆ่าเชื้อไวรัส
  2. ยาคลาริโทรไมซิน หรือ Clarithromycin, ยาอีรีโทรไมซิน หรือ Erythromycin ซึ่งจัดเป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะ
  3. ยาฟลูโคนาโซล หรือ Fluconazole, ยาคีโทโคนาโซล หรือ Ketoconazole ซึ่งจัดเป็นกลุ่มยาฆ่าเชื้อรา

         เพราะจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการปวดกล้ามเนื้อ กดบริเวณผิวแล้วรู้สึกเจ็บ รวมไปถึงการเกิดตะคริว ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นอาการข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการกินยาลดไขมันอยู่แล้ว แต่หากกินคู่กับยาในข้างต้นจะยิ่งทำให้อาการข้างเคียงจากการกินยาลดไขมันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นไปอีก รวมถึงน้ำเกรปฟรุตก็เป็นน้ำผลไม้ที่ทำให้เกิดพิษจากยาลดไขมันได้ เพราจะทำให้ปริมาณยาในกระแสเลือดสูงเพิ่มมากขึ้น

กินยาละลายลิ่มเลือด ห้ามกินอะไรบ้าง

  • กินยาละลายลิ่มเลือด ห้ามกินคู่อะไรบ้าง?

         ถัดมา หากเราจำเป็นจะต้องกินยาละลายลิ่มเลือด ห้ามกินอะไรบ้าง จะเป็นกลุ่มอาหารที่กินมากเกินไปแล้วทำให้เลือดออกได้ง่าย อย่างเช่น ขิง กระเทียม แป๊ะก๊วย น้ำมันปลา หรือ ตังกุย เป็นต้น

  • ยาบํารุงเลือด ห้ามกินยาคู่กับอะไร?

         ยาบํารุงเลือด ห้ามกินกับอะไร ก็ย่อมต้องเป็นสิ่งที่ทำงานขัดกัน โดยยาบำรุงเลือดเป็นยาที่ใช้ในการเสริมธาตุเหล็กให้ร่างกาย ส่วนสิ่งที่ทำงานขัดกัน ก็คือ คาเฟอีน เพราะจะไปลดการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกายนั่นเอง

  • ยาคลายกล้ามเนื้อ ห้ามกินคู่กับอะไร?

         ยาคลายกล้ามเนื้อ ห้ามกินกับอะไร ก็ย่อมต้องเป็น Alcohol เพราะทั้งยาคลายกล้ามเนื้อและ Alcohol ล้วนมีฤทธิ์ในกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ฤทธิ์ยาที่ได้รับมากเกินไป

ห้ามกินยากับอะไร

  • ยาสเตียรอยด์ ห้ามกินคู่กับอะไร?

         ไม่ควรกินคู่กับยาแก้อาการปวดหรือยาแก้อักเสบ และ อาหารที่มีรสจัด เพราะยาสเตียรอยด์นั้นจะทำให้กระเพาะอาหารบางลง

  • ยาวาร์ฟาริน ห้ามกินคู่กับอะไร?

         ยาวาร์ฟารินเป็นยาสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งไม่ควรกินคู่กับผลไม้จำพวกที่มีวิตามินเคสูง อย่างอะโวคาโด ผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ หรือ ลูกพรุน เพราะจะไปลดฤทธิ์ของยาดังกล่าวลงได้

  • ยาแก้อักเสบ ห้ามกินคู่กับอะไร?

         ยาแก้อักเสบเป็นยาที่ห้ามกินคู่กับโยเกิร์ต หรือ นม เพราะทำให้อัตราการดูดซึมยาลดลง จึงเท่ากับการไปลดประสิทธิภาพของยานั่นเอง

ยาบํารุงเลือด ห้ามกินกับอะไร

  • ยาลดกรด ห้ามกินคู่กับอะไร?

         เป็นยาที่ห้ามกินคู่กับยาชนิดอื่น ๆ เพราะไปทำให้เกิดการดูดซึมของยาชนิดอื่นลดลง

  • ยาความดัน ห้ามกินคู่กับอะไร?

         ยาความดันมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อกินคู่กับยาแก้ท้องเสียชนิดคาร์บอน

  • ยาต้าน HIV ห้ามกินคู่กับอะไร?

         ยาต้าน HIV เป็นยาที่ต้องกินอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาระดับยาในร่างกายให้คงที่ แต่หากคุณกินคู่กับยากันชัก หรือ ยาต้านเชื้อวัณโรค ทำให้ฤทธิ์ยาต้าน HIV ลดลง

ห้ามกินยากับอะไร

  • ยาแก้แพ้ ห้ามกินคู่กับอะไร?

         ยาแก้แพ้มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางจึงไม่ควรกินคู่กับยากันชัก หรือ ยานอนหลับ หรือ Alcohol เพราะทำให้มีการกดประสาทที่มากเกินไป

  • ยาเบาหวาน ห้ามกินคู่กับอะไร?

         ยาเบาหวานห้ามกินร่วมกับยาแก้ท้องเสียชนิดคาร์บอน และ ยาแก้แพ้ เพราะทำให้ฤทธิ์ยาเบาหวานลดลง

ผู้ป่วยโรคไตห้ามกินอะไร? มาดูอาหารโรคไตห้ามกิน อาจเสี่ยงไตวายเฉียบพลัน!!

สรุป

         แม้ว่าการกินยาจะช่วยบรรเทาและรักษาอาการป่วยได้ แต่หากกินยาผิดวิธี ไม่ทราบถึงข้อจำกัดว่าห้ามกินยากับอะไรคงทำให้การกินยานั้นไม่มีประโยชน์ โรคหรืออาการที่เป็นอยู่ก็ไม่สามารถทุเลาลงได้ นอกจากนี้หากคุณกินยาพร้อม ๆ ไปกับสิ่งที่ห้ามกินคู่กับยานั้น ๆ ก็จะนำมาซึ่งอันตรายต่อตัวคุณเองได้

         โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวนับว่าเป็นอันตรายค่อนข้างมากเลยทีเดียว ดังนั้นการกินยาอย่างถูกต้อง ถูกวิธีจึงมีความสำคัญอย่างมาก และหากคุณไม่แน่ใจหรือไม่ทราบข้อมูลเหล่านี้คุณก็สามารถอ่านจากบทความข้างต้น หรือ สอบถามแพทย์และเภสัชกรใกล้บ้านใกล้ตัวของคุณได้เลย เพื่อความปลอดภัยและการรักษาด้วยยาอย่างมีประสิทธิภาพ

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup