ไอเป็นเลือด อย่านิ่งนอนใจ! อาจเสี่ยงโรคร้ายไม่รู้ตัว!?

ไอเป็นเลือด เสี่ยงโรคปอด

         นับว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับร่างกายคนเรา ที่เมื่อรู้สึกระคายคอ ก็จะมี การไอ ออกมาเพื่อให้อาการเหล่านั้นหายไป แต่ว่าหากเริ่มมีอาการ ไอเป็นเลือด (Haemoptysis) เข้ามาร่วมด้วยนั้น ก็คงจะสร้างความตกใจให้แก่ทุกท่านอยู่ไม่น้อย ซึ่งอาการ ไอเป็นเลือดนั้นไม่ควรวางใจ เพราะมันอาจเป็นหนึ่งในสัญญาณอันตรายของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น อาการติดเชื้อ โรคมะเร็ง หรือแม้แต่ปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดภายในปอด

สารบัญ

ไอเป็นเลือด เกิดจากอะไร ?

         ไอเป็นเลือด อาจเป็นอาการที่น่าวิตกที่ต้องไปพบแพทย์ทันที อาจเกิดจากหลายปัจจัยตั้งแต่การติดเชื้อทางเดินหายใจไปจนถึงภาวะและโรคปอดที่รุนแรงมากขึ้น ในบางกรณี การไอเป็นเลือดอาจเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ ก่อนที่จะไปทราบถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการไอเป็นเลือด เรามารู้จักกลไกร่างกายก่อนว่า ทำไมไอถึงมีเลือดออกมาได้

ไอเป็นเลือด เกิดจากอะไร

       สาเหตุที่เวลาเราไอแล้วเกิดเป็นเลือดออกมานั้น เกิดจากการที่เส้นเลือดบริเวณมดบริเวณหนึ่งในร่างกายเกิดการแตกจนทำให้เกิดเลือดออกมา โดยส่วนใหญ่แล้วจะเลือดบริเวณจมูก ทั้งด้วยโรคบางอย่างหรือการแคะแกะเกาจนเส้นเลือดฝอยแตก หรืออาจเป็นเส้นเลือดบริเวณลำคอ จากการไอรุนแรงหรือต่อเนื่องมาก จนทำให้เส้นเลือดฝอยที่คอโป่งแตก นอกจากนี้ยังอาจเกิดมาจากบริเวณอื่น ๆ ภายในร่างกายได้ ขึ้นอยู่กับโรคที่พบ

อ่านเพิ่ม : PM 2.5 ภัยเงียบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก อันตรายมากกว่าที่คุณคิด!

ไอเป็นเลือด เสี่ยงเป็นโรคอะไร ?

         ภาวะไอเป็นเลือด หรือ เสมหะมีเลือดปน ฟังดูแล้วชวนให้เกิดความวิตกกังวลในใจ จนกระทั่งอดคิดไม่ได้ว่า อาการไอเป็นเลือด แบบนี้ เสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรร้ายแรงโดยที่ตนเองไม่รู้ตัวหรือไม่ และนอกจากโรคที่เกี่ยวกับปอด ที่อาจเป็นสาเหตุสำคัญของการไอเป็นเลือด ยังมีโรคร้ายอื่น ๆ ที่เป็นภัยเงียบคอยจู่โจมร่างกายเราในวันที่อ่อนแออีกมากน้อยเพียงใด บทความนี้ได้รวบรวมโรคแฝงที่อาจทำให้เกิดอาการ ไอเป็นเลือด ได้

ไอเป็นเลือด เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง

  1. โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง เกิดจากการไอเรื้อรังมากกว่า 3 เดือน หรือ ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี โดยสาเหตุมาจาก ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน
  2. ปัญหาหัวใจและหลอดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรุนแรงเป็นสาเหตุทำให้มีน้ำในช่องปอด จะมีอาการหายใจลำบาก มีเสมหะเป็นฟองปนเลือดออกมาเมื่อไอ
  3. เลือดออกในปอด มีการตกเลือดอย่างเฉียบพลันจากปอด ทางเดินหายใจส่วนบน หลอดลม หรือถุงลม
  4. หลอดลมโป่งพอง ภาวะที่หลอดลมขยายตัวอย่างผิดปกติ และมีการผลิตเมือกมากในทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะไอเป็นเสมหะค่อนข้างมาก หากทางเดินหายใจอักเสบไอเป็นเลือด
  5. โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน อาการไอปนเลือด มีเสมหะ โดยเลือดจะออกมาปนกับเสมหะแต่ไม่ได้รวมเป็นเนื้อเดียวกัน
  6. ฝีในปอด เกิดจากการอักเสบภายในเนื้อปอด โดยสาเหตุคือการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา โดยหากมีฝีในปอด ก็จะมีอาการไอปนเลือดได้
  7. โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด ภาวะที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงในปอด ส่งผลให้หายใจลำบาก และมีอาการ เจ็บหน้าอก ในบางรายอาจไอเป็นเลือด
  8. มะเร็งปอด ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ซึ่งเป็นภาวะที่ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดในปอด อาจทำให้ไอเป็นเลือด
  9. วัณโรค มีอาการไอเรื้อรังนานมากกว่า 3 สัปดาห์ มีเสมหะเป็นเลือด ไข้สูง
  10. ปอดบวม การติดเชื้อที่ส่งผลต่อปอดและอาจทำให้ไอเป็นเลือดได้เนื่องจากเนื้อเยื่อปอดเสียหาย
อ่านเพิ่ม : อาการวัณโรคปอด เสมหะปนเลือดสัญญาณบ่งบอกโรคติดต่อร้าย อันตรายถึงชีวิต!

ไอเป็นเลือด แก้ไขอย่างไร

         อาการไอเป็นเลือด ซึ่งเป็นอาการน่าวิตกกังวล ที่ใครหลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่หากเกิดอาการนี้กับตัวแล้ว ทางเดียวที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพนี้ได้ นั่นก็คือการรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เพื่อตรวจวินิจฉัยหาที่มาของอาการ และรักษาอาการไอให้กลับมาเป็นปกติให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันในกรณีที่อาจจะเป็นโรคร้ายแรง โดยบทความนี้ ได้รวบรวมขั้นตอนการแก้ไขไว้แล้ว ดังนี้

ไอเป็นเลือด แก้ไขได้ยังไง

แนวทางรักษาอาการไอเป็นเลือด

  • เมื่อมีอาการไอเป็นเลือด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปพบแพทย์ เพื่อทำการเอ็กซ์เรย์ทรวงอก หรือ การสแกน CT การทดสอบ ไอเป็นเลือด เกิดจากอะไร วิธีการเหล่านี้สามารถเปิดเผยความผิดปกติในปอดหรือทางเดินหายใจที่อาจทำให้เลือดออกได้ เมื่อทราบสาเหตุแล้ว ก็จะสามารถให้การรักษาทางการแพทย์ที่เหมาะสมได้
  • หากการติดเชื้อเป็นตัวการ อาจมีการสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อและบรรเทาอาการ
  • ในกรณีของมะเร็งปอด อาจแนะนำให้ใช้เคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพื่อลดขนาดของเนื้องอกและห้ามเลือด
  • ในกรณีที่รุนแรงกว่านั้น อย่างการผ่าตัด เช่น การตัดปอดหรือการส่องกล้องหลอดลมอาจมีความจำเป็นเพื่อเอาแหล่งที่มาของเลือดออกหรือซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย

ASKIR36 BR

Original price was: 42,900฿.Current price is: 24,900฿.

  • นำเข้าจากบริษัท CA-MI S.R.L. ประเทศอิตาลี
  • รับประกันสินค้าทุกชิ้นส่วนเป็นระยะเวลา 1 ปี
รหัสสินค้า: Askir36 BR หมวดหมู่: ป้ายกำกับ: ,
อ่านเพิ่ม

NEW ASKIR30

Original price was: 18,900฿.Current price is: 9,990฿.

  • นำเข้าจากบริษัท CA-MI S.R.L. ประเทศอิตาลี
  • รับประกันสินค้าเป็นระยะเวลา 1 ปี และรับประกันมอเตอร์เป็นระยะเวลา 3 ปี
รหัสสินค้า: Askir30 หมวดหมู่: ป้ายกำกับ: ,
อ่านเพิ่ม

NEW HOSPIVAC 400

90,000฿

  • นำเข้าจากบริษัท CA-MI S.R.L ประเทศอิตาลี
  • รับประกันสินค้าทุกชิ้นส่วนเป็นระยะเวลา 1 ปี
รหัสสินค้า: hospivac400 หมวดหมู่: ป้ายกำกับ: ,
อ่านเพิ่ม

ป้องกัน อาการไอเป็นเลือดอย่างไร

          นอกจาก การรักษาทางการแพทย์ ที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว หลายท่านที่มีอาการ ไอเป็นเลือด อาจจะยังไม่มีเวลาว่างสำหรับการไปพบแพทย์ในทันที ในบทความนี้จึงได้รวบรวมมาตรการการดูแลตนเองและการเยียวยาที่บ้าน ที่สามารถช่วยจัดการอาการไอเป็นเลือดในระหว่างการรอไปพบแพทย์ หรือ แม้แต่จะนำเทคนิคเหล่านี้มาใช้ควบคู่กับการรักษาของแพทย์ก็ได้เช่นกัน

ป้องกัน อาการ ไอเป็นเลือด ได้อย่างไร

วิธีป้องกันไอเป็นเลือด

  1. จิบน้ำอุ่นบ่อยๆ เนื่องจากน้ำอุ่นสามารถบรรเทาอาการระคายเคืองคอ บรรเทาอาการคอแห้ง ทำให้ชุ่มคอ
  2. การใช้ยาอม ที่มีส่วนผสมที่ช่วยทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการคอแห้ง และยังสามารถช่วยขับเสมหะ
  3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากควันบุหรี่ และสารอื่นๆ กระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองคอ ทำให้ไอได้ และยังเป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรังที่จะตามมา
  4. ใช้เครื่องพ่นไอน้ำ ช่วยรักษาความชื้นในห้องไม่ให้แห้งเกินไป สามารถป้องกันอาการไอได้
  5. หลีกเลี่ยงฝุ่นควัน ควรใช้หน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นได้เป็นอย่างดี
  6. ใช้ยาช่วยกดอาการไอ เพื่อบรรเทาอาการไอแห้ง และยาละลายเสมหะ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่ร้านยา

สรุป

         การไอเป็นเลือด อาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และเป็นอีกอาการหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจจะเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงอื่น ๆ ดังนั้นหากท่านหรือคนใกล้ตัวมีอาการเช่นนี้ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจและรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อวินิจฉัยหาที่มาของอาการและป้องกันไม่ให้โรคร้ายหรืออาการไอเป็นเลือดร้ายแรงมากขึ้น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup