ขั้นตอนการทำ CPR ปั๊มหัวใจ หลักสูตรช่วยชีวิต นาทีวิกฤติจำเป็นต้องใช้!

ขั้นตอนการทำ cpr

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         สภาวะการหยุดหายใจ หรือสภาวะหัวใจหยุดเต้น นั้น นับเป็นภาวะอันตรายวิกฤตที่ต้องได้รับการช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อร่างกายหยุดหายใจแล้ว จะทำให้สมองของเราขาดออกซิเจน ยิ่งปล่อยไว้นานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งนำความเสียหายมาสู่ร่างกายได้มากเท่าไหร่ เป็นได้ตั้งแต่อัมพฤกษ์-อัมพาต หรืออาจเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงจำเป็นที่เราทุกคนควรรู้ขั้นตอนการทำ CPR ปั๊มหัวใจ เพื่อให้ช่วยเหลือผู้มีภาวะวิกฤตเหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที

สารบัญ

เมื่อพบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น – หยุดหายใจ ต้องทำอย่างไร?

         หลายคนอาจเข้าใจว่า ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หรือาการหยุดหายใจ มักพบได้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือผู้ป่วยวิกฤติ (มีอาการโคม่า) แต่จริง ๆ เรายังสามารถพบภาวะเหล่านี้ได้ในอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ เช่น การจมน้ำ สำลักอาหาร สูดควันไฟเข้าไปมาก ไฟฟ้าดูด ฯลฯ ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการช่วยเหลือโดยเร็วค่ะ หากพบผู้ที่หยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้ปฏิบัติดังนี้

ขั้นตอนการทำ CPR

การปฏิบัติตัวเมื่อพบผู้หยุดหายใจ

  • ตั้งสติ จัดการอาการตื่นตระหนกให้ได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในสภาวะวิกฤตได้อย่างรวดเร็วที่สุด
  • สำรวจบริเวณที่จะวางตัวผู้ป่วย ว่ามีสิ่งอันตรายไหม เช่น สายไฟ ที่อาจจะเป็นสาเหตุหรืออาจนำไปสู่ไฟช็อต, สัตว์ร้าย-สัตว์มีพิษ, กลางถนนที่มีการสัญจรของยานพาหนะ
  • เริ่มขั้นตอนการทำ CPR ปั๊มหัวใจที่ถูกต้อง ขั้นตอนนี้สำคัญ เพราะจะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยได้สูง
  • โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล สามารถทำควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการช่วยเหลือในข้ออื่น ๆ ได้ หากมีผู้ให้ความช่วยเหลือมากกว่าหนึ่งท่าน โดยเบอร์โทรศัพท์ที่เป็นเบอร์ฉุกเฉินที่ทุกท่านควรทราบก็คือ เบอร์โทรศัพท์ 1669 หรือเบอร์โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือใกล้สถานที่เกิดเหตุฉุกเฉินนั้น ๆ
การดูแลผู้สูงอายุ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินกรณีต่าง ๆ

ขั้นตอนการทำ CPR ที่ถูกต้อง

         หากเราต้องการที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการหมดสติ หรือมีอาการของหัวใจหยุดเต้นไปนั้นมีวิธีการช่วยเหลือที่แตกต่างกันไปตามช่วงอายุ เราจะพาคุณมาเรียนรู้วิธีการปั๊มหัวใจหรือขั้นตอนการทำ CPR ที่ถูกต้อง โดยแบ่งออกตามช่วงอายุ ดังนี้ต่อไปนี้

ขั้นตอนการทำ CPR

ขั้นตอนการทำ CPR ที่ถูกต้อง

1.วิธี CPR เด็กเล็กในช่วงวัย 0 – 1 ปี

  • กรณีมีผู้ช่วยเหลือ 2 คน : ให้กรณีที่มีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ให้ทำการกดไปบริเวณหน้าอกของผู้ป่วยโดยใช้ปลายนิ้วมือ 2 นิ้ว กดลึก 1.5 นิ้ว ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้งต่อนาที กดเป็นจังหวะ 15 ครั้ง สลับกับการผายปอดจำนวน 2 ครั้ง โดยทำเช่นนี้ 10 ยก แล้วประเมินอาการ
  • กรณีมีผู้ช่วยเหลือ 1 คน : ให้กรณีที่มีผู้ช่วยเหลือคนเดียว ให้ทำการกดไปบริเวณหน้าอกของผู้ป่วยโดยใช้ปลายนิ้วมือ 2 นิ้ว กดลึก 1.5 นิ้ว ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้งต่อนาที กดเป็นจังหวะ 30 ครั้ง สลับกับการผายปอดจำนวน 2 ครั้ง โดยทำเช่นนี้ 10 ยก แล้วประเมินอาการ

วิธีปั๊มหัวใจ

2. ขั้นตอนการทำ CPR เด็กเล็กในช่วงวัย 1 – 8 ปี ให้ทำการกดไปบริเวณหน้าอกของผู้ป่วยโดยใช้สันมือ กดลึก 2 นิ้ว ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้งต่อนาที กดเป็นจังหวะ 30 ครั้ง สลับกับการผายปอดจำนวน 2 ครั้ง โดยทำเช่นนี้ 10 ยก แล้วประเมินอาการ

3. ขั้นตอนการทำ CPR ผู้ใหญ่ ให้ทำการกดไปบริเวณหน้าอกของผู้ป่วยโดยใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางวางตรงตำแหน่งของส่วนล่างสุดของอก จากนั้นใช้สันมือวางในตำแหน่งที่ถัดไปจากนิ้วชี้กับนิ้วมือ ซึ่งจะเป็นตำแหน่งที่ถูกต้อง จากนั้นกดลึก 2.4 นิ้ว ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้งต่อนาที กดเป็นจังหวะ 30 ครั้ง สลับกับการผายปอดจำนวน 2 ครั้ง โดยทำเช่นนี้ 10 ยก แล้วประเมินอาการ

เครื่องวัดความดัน

สิ่งที่ต้องระวังในขั้นตอนการทำ CPR

         แม้ว่าเราจะทราบถึงการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหมดสติ หรือมีอาการของหัวใจหยุดเต้นไปเบื้องต้น และขั้นตอนการทำ CPR ที่ถูกต้องแล้วนั้น แต่ก็ยังมีข้อควรรู้ด้วยว่าสิ่งที่ต้องระวังขณะทำ CPR มีอะไรบ้าง เพื่อลดการบาดเจ็บและความปลอดภัยของผู้ป่วยนั่นเอง

ขั้นตอนการทำ CPR

สิ่งที่ต้องระวังในขั้นตอนการทำ CPR

  1. ตำแหน่งหน้าอกที่วางมือเพื่อทำ CPR ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากตำแหน่งนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เพราะตำแหน่งการกดที่ผิดอาจจะไปกระทบกระเทือนกับส่วนอื่นของร่างกายได้ ซึ่งอวัยวะที่อาจกระทบกระเทือนก็เช่น ม้าม หรือ ตับ ที่เมื่อกดแล้วอาจทำให้ตกเลือดตามมาได้
  2. จังหวะในการกด เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการกดด้วยอัตราเร็วที่ช้าเกินไปหรือช้ากว่า 100 ครั้งต่อนาที จะทำให้อวัยวะต่าง ๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้สูง
อาการของโรคหัวใจ ความรุนแรงที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตแบบฉับพลัน

สรุป

         เราจะพบว่าในภาวะที่ผู้ป่วยเกิดอาการวิกฤตนั้น เวลาเพียงวินาทีหรือเสี้ยววินาทีก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และยิ่งผู้ป่วยได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือถึงมือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเร็วเท่าไหร่ ความปลอดภัยของผู้ป่วยก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น และอีกหนึ่งในสิ่งที่สำคัญก็คือ ขั้นตอนการทำ CPR ที่เรากล่าวไว้แล้วในบทความ ซึ่งทุกคนควรศึกษาเอาไว้เพื่อจะได้ช่วยเหลืออย่างถูกวิธี แต่หากใครทำไม่เป็นก็ไม่ควรเสี่ยง แนะนำให้โทรเรียกรถพยาบาลโดยด่วนจะดีกว่า

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup