อาการปวดหลังส่วนล่าง สัญญาณเตือนโรคร้าย อันตรายกว่าที่คุณคิด!!

ปวดหลังส่วนล่าง

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         อาการปวดหลังส่วนล่าง เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมีหลายสาเหตุที่อาจเป็นต้นเหตุ อาทิเช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเสื่อมสภาพของกระดูก อายุที่เพิ่มมากขึ้นและการเกิดอุบัติเหตุ  เป็นต้น ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาต่างๆ มากมาย ที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย

         อาการปวดหลังส่วนล่าง อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรครุนแรง เช่น โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อม ในบางรายอาจมีความรุนแรงและเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน เพราะฉะนั้นแล้ว อาการปวดหลังจึงเป็นสัญญาณเตือนเริ่มต้นที่คุณไม่ควรมองข้าม

สารบัญ

ปวดหลังส่วนล่าง ปวดหลังช่วงเอว ปวดหลังตรงไหนบอกโรคอะไร

         การใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ถูกต้อง จะส่งผลต่อการทำให้บริเวณหลังรับน้ำหนักมากเกินไป ซึ่งอาการปวดหลังในบริเวณต่าง ๆ ไม่ส่งผลดีต่อร่างกายของเราอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะอันตรายเป็นอย่างมาก โดยอาจเป็นสาเหตุของโรคบางชนิดได้ อาทิเช่น

ปวดหลังส่วนล่าง

ปวดหลังตรงไหนบอกโรคอะไร

  • โรคของเอ็นและกล้ามเนื้อหลัง ระยะเวลาของอาการปวดจะเกิดประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์ โดยจะรู้สึกได้ว่าหลังแข็ง เพราะกล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็ง เมื่อเอามือไปกดบริเวณหลังจะรู้สึกเจ็บขึ้นมา
  • โรคความเสื่อมข้อติดกระดูกสันหลัง อาการปวดหลังส่วนล่าง เกิดมาจากความเสื่อมของกระดูก ที่อาจมีสาเหตุมาจากอายุที่มากขึ้นของผู้ป่วย การรับน้ำหนักเกินกำลัง ทำให้หมอนรองกระดูกเกิดการบาดเจ็บสะสมไปเรื่อยๆ ส่งผลให้กระดูกเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ
  • โรคหมอนรองกระดูก โดยผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการปวดหลังช่วงเอว ในบางรายอาจปวดลงไปถึงขาและเท้า ซึ่งเกิดจากโครงสร้างกระดูกถูกใช้งานหนักจนเสื่อมสภาพลง ทำให้ไปเบียดกับเส้นประสาทนั่นเอง

ปวดหลังส่วนล่าง

  • โรคช่องกระดูกสันหลังตีบ ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุ เกิดจากการความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังและข้อกระดูก จึงส่งผลให้มีผังผืดไปบีบรัดเส้นประสาท ในผู้ป่วยช่วงเริ่มต้น จะปวดหลังช่วงล่างเป็นอย่างมาก
  • โรคการผิดรูปของกระดูกสันหลัง หรือที่รู้จักกันในชื่อโรคหลังคด ในบางรายอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ยังเล็ก  ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการปวดหลังเรื้อรัง รวมถึงหายใจไม่สะดวกเพราะถูกกดทับบริเวณช่องท้องเอาไว้นั้นเอง
  • โรคกระดูกสันหลังติดเชื้อ มีสาเหตุมาจาการติดเชื้อ โดยมักเกิดขึ้น 3 ตำแหน่ง ได้แก่ บริเวณหมอนรองกระดูก กระดูกสันหลัง และบริเวณภายในโพรงกระดูก ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดเอวด้านหลัง อาจเกิดแบบเฉียบพลัน หากรักษาไม่ทัน ผู้ป่วยอาจเป็นอัมพาตได้เลย

ปวดหลังส่วนล่าง

  • การอักเสบที่ไม่ใช่ติดเชื้อของกระดูกสันหลัง ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนี้ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากพันธุกรรม โดยพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งมีอาการปวดหลังเรื้อรัง อาจมากกว่า 3 เดือน ในบางราย
  • โรคมะเร็งของกระดูกสันหลัง ในการเกิดโรคมะเร็งนั้น กว่าจะรู้ มะเร็งก็แพร่ไปยังบริเวณต่างๆ ของกระดูกสันหลังเรียบร้อยแล้ว อาการปวดหลังเป็นเพียงหนึ่งอาการที่แสดงออกของร่างกาย ซึ่งหากสังเกตเป็นประจำ จะเห็นการผิดรูปของกระดูกไป เช่น บริเวณแขนและขา เป็นต้น
  • โรคไต อาการปวดหลังเป็นอาการของโรคไต ซึ่งอาจเกิดจากการอุดตันของท่อไต หรือภาวะกรวยไตอักเสบ ซึ่งส่งผลให้ไตของเราทำงานหนัก นอกจากปวดหลังแล้ว ยังสามารถปวดท้องน้อย ปวดช่วงบริเวณเอวได้อีกด้วย

ปวดหลังช่วงเอว

  • โรคออฟฟิศซินโดรม โรคนี้เป็นกันมากในวัยทำงาน  ส่วนใหญ่มีอาการปวดหลังช่วงบนรวมกับอาการปวดคอ เกิดจากการก้มหน้าทำงานหรือจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้โดยการบำบัดและการบริหารร่างกาย
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ส่วนใหญ่แล้วโรคภายในที่ส่งผลให้ปวดหลัง จะเกี่ยวกับหัวใจเกือบทั้งหมด เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หากมีความรุนแรงมากขึ้นจะลามไปที่หลังและบริเวณสะบัก
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลัง ที่ไม่ควรมองข้าม!!

อาการผิดปกติที่หากเป็นร่วมกับอาการปวดหลังส่วนล่าง ต้องรีบไปพบแพทย์

         อาการปวดหลัง สามาถบ่งบอกการเกิดโรคได้บางชนิด ตัวอย่างเช่น ปวดหลังด้านซ้ายและปวดหลังด้านขวาบอกถึงว่ากล้ามเนื้อและกระดูกซี่โครงเกิดการอักเสบหรือบาดเจ็บ หากปวดหลังส่วนบน บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ภาวะออฟฟิศซินโดรม หรือปวดหลังส่วนล่าง นั่นหมายถึง มีความผิดปกติของหมอนรองกระดูก หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น

ปวดหลังด้านซ้าย

อาการอื่น ๆ ร่วมกับอาการปวดหลังส่วนล่าง

  • อาการชา
  • ปวดร้าวลงไปถึงขา
  • มีไข้
  • อ่อนเพลีย อ่อนแรง
  • อาการปวดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยไว้นาน

แบนเนอร์ Bedee

แบนเนอร์ Bedee

10 โรคที่เกิดจากการทำงานออฟฟิศ ไม่อยากเสี่ยงชีวิตต้องปรับพฤติกรรม!

วิธีบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง

         หากเมื่อเราเริ่มมีอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือบริเวณอื่น ๆ แล้วนั้น เพื่อให้บรรเทาอาการปวดหลังได้อย่างตรงจุด เราต้องรู้ก่อนว่าอาการปวดนั้นเกิดจากสาเหตุใด หากเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราเอง สามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้

ปวดหลังช่วงบน

วิธีบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง

  • นวดบริเวณที่ปวด โดยใช้มือลงน้ำหนักไปที่บริเวณนั้นๆ ไปเรื่อยๆ จะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
  • บริหารร่างกายด้วยท่าบิดเอว ท่านี้จะช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกได้เป็นอย่างดี ลดอาการเมื่อยลงได้
  • ควบคุมน้ำหนัก โดยเฉพาะไขมันหน้าท้องที่เป็นต้นเหตุทำให้หลังแบกรับน้ำหนักเยอะเกินไป
ปวดหลังเรื้อรัง ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เช็กด่วน! อาการแบบไหนควรรีบพบหมอ

ปวดหลังส่วนล่าง ออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง

         เมื่อมีอาการปวดหลัง หลายคนมักจะงดการออกกำลังกาย หรืองดการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังมากขึ้น แต่ความจริงแล้ว ผู้ที่มีอาการปวดหลัง สามารถที่จะออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญไขมันได้ ด้วยการออกกำลังกายง่ายๆ ดังต่อไปนี้

ปวดหลังช่วงเอว

ปวดหลังส่วนล่าง ออกกำลังกายแบบไหนได้

  • เล่นโยคะ
  • เต้นแอโรบิก
  • ว่ายน้ำ
  • จักรยาน
  • เดินออกกำลังกาย
  • พายเรือ

         ทั้งนี้ ก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง ควรอบอุ่นร่างกายก่อนเสมอ และหากมีอาการปวดหลังที่รุนแรง ไม่ควรที่จะฝืนออกกำลังกาย ควรได้รับการพักจากการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บเพิ่ม และเมื่ออาการปวดหลังดีขึ้นแล้ว ค่อยกลับมาออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆ จะดีกว่า

หมดปัญหานั่งนานปวดหลัง-ปวดก้น!! ด้วย เบาะรองนั่งเพื่อสุขภาพ Dyna-Tek Profile จาก ALLWELL

สรุป

         อย่างไรก็ตามอาการปวดหลังส่วนล่าง เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นการส่งสัญญาณเตือนจากร่างกาย ซึ่งในปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่จะช่วยให้การหาสาเหตุและการรักษาอาการปวดหลังได้ตรงจุดมากขึ้น ส่งผลให้รู้ถึงต้นตอและควบคุมได้ทันเวลา อย่าให้อาการปวดหลังมารบกวนช่วงเวลาที่ดีของคุณ หากมีอาการให้รีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด อย่าปล่อยไว้เป็นอันเด็ดขาด

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ DYNA-TEK SUPERIOR

Original price was: 9,900฿.Current price is: 4,990฿.

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ | หนา 10 cm | รับน้ำหนักได้ 127kg | ผ้าคลุมเบาะกันน้ำ

รหัสสินค้า: Dyna-Tek หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

DYNA-TEK PROFILE

Original price was: 8,900฿.Current price is: 3,950฿.

รับน้ำหนักได้ 114kg | ผ้าคลุมเบาะกันน้ำ

รหัสสินค้า: Dyna-Profile หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

VANTELIN Supports Back

Original price was: 1,135฿.Current price is: 949฿.

รหัสสินค้า: VANTELIN-Back หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

เก้าอี้ผู้ป่วยปรับไฟฟ้า G-2

Original price was: 449,000฿.Current price is: 220,000฿.

นั่งพักผ่อน | ปรับเอนหลังได้ | นำเข้าจากประเทศอังกฤษ

รหัสสินค้า: G2 หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup