หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลัง เสี่ยงอัมพาตได้!!!

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         โรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศซินโดรม โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลังเรื้อรังที่ไม่ควรเพิกเฉย ซึ่งโรคนี้เป็นกันได้ในทุกวัย ไม่เพียงแต่วัยทำงาน ในผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่งวัยรุ่น ก็สามารถเป็นได้ เกิดมาจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น การนั่งทำงานติดกันหลายชั่วโมง ยกของหนักมากเกินไป ส่งผลต่อหมอนรองกระดูก ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและตรงจุดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจถึงขั้นทำให้เป็นอัมพาตได้

สารบัญ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการเป็นอย่างไร?

         สำหรับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการที่แสดงส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการปวดหลังเพียงเล็กน้อย มีอาการชา การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อให้เห็นบ้างบางครั้ง อาการเหล่านี้จะเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้น จึงรู้สึกปวดตามแนวเส้นประสาทต่างๆ จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นยังแสดงอาการ ดังต่อไปนี้

หมอนรองกระดูกทับเส้น อาการ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการดังนี้

  • อาการชาบริเวณปลายเท้า
  • อาการปวดหลัง ในบางรายอาจมีอาการปวดบริเวณสะโพกและบริเวณขาทั้งสองข้าง จะมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อจามหรือไอ
  • อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง บริเวณร่างกายส่วนล่าง โดยเริ่มตั้งแต่บริเวณสะโพกเป็นต้นไป
  • การทำงานของระบบขับถ่ายผิดปกติ ตัวอย่างเช่น ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะหรืออุจจาระได้ หากเป็นถึงขั้นนี้แล้ว จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน แต่มีความเป็นไปได้ว่าระบบการขับถ่ายจะไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ
4,990฿

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ | หนา 10 cm | รับน้ำหนักได้ 127kg | ผ้าคลุมเบาะกันน้ำ

949฿

3,950฿

รับน้ำหนักได้ 114kg | ผ้าคลุมเบาะกันน้ำ

อาการออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศที่ไม่ควรมองข้าม!

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดนี้เกิดจากอะไร

         จากที่รู้กันว่าหมอนรองกระดูกสันหลัง มีหน้าที่ในการเสริมความยืดหยุ่นให้กระดูกสันหลังของเรา ทำให้สามารถเคลื่อนที่ ยกสิ่งของ รับแรงกระแทกจากสิ่งต่างๆ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการในระยะแรก 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย มีการปวดหลังเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานาน โดยมีสาเหตุหลักดังนี้

กระดูกทับเส้น

สาเหตุของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

1.อายุ

         อายุที่มากขึ้น ทำให้หมอนรองกระดูกทำงานเสื่อมสภาพ โดยจะสังเกตได้ว่า ผู้มีอายุบางคน จะเริ่มไม่สามารถยกของเองได้ หรือก้มเก็บของได้ดีเท่ากับวัยอื่นๆ เนื่องจากหมอนรองกระดูกมีความยืดหยุ่นน้อยลง ดังนั้นการเคลื่อนตัว หรือเคลื่อนไหวได้น้อยลง และเมื่อหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณไหน จะรู้สึกปวดบริเวณนั้นทันที

2.การยกของหนักเกินไป

         เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อบริเวณสะโพกและบริเวณหลังรับน้ำหนักแทน กล้ามเนื้อขาและต้นขา ทำให้เกิดการบิดของกระดูกบริเวณหลังขึ้นมา

3.น้ำหนักเกิน

         ในคนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหลังกันอยู่แล้วเป็นปกติ ซึ่งปัญหานี้เกิดจากบริเวณหลังของเรา ต้องรับน้ำหนักตัวและไขมัน โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง  ส่งผลให้หมอนรองกระดูกต้องทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงเสื่อมสภาพได้เร็วกว่าคนผอม

หมอนรองกระดูก

เครื่องชั่งน้ำหนักวัดไขมัน และมวลกาย ALLWELL รุ่น JPD-BFS200B
สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย 14 อย่าง

4.ไม่ออกกำลังกาย

         สำหรับผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย ที่มีอาการปวดหลังอยู่บ่อยๆ เกิดจากกล้ามเนื้อลีบ หรือฝ่อ เพราะไม่เคยได้ใช้งาน ดังนั้นความยืดหยุ่นของหมอนรองกระดูกจึงน้อยกว่าคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

5.การทำกิจกรรมหนักๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

         ตัวอย่างเช่น การออกกำลังกายหนักเป็นประจำ การทำกิจกรรมโลดโผน การกระโดด การกระแทกบริเวณช่วงหลังแรงๆ ทำให้โอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลังนั้น มีเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าคนปกติ และเมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกก็อาจเกิดได้ไวกว่าคนในอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน

Body Composition Scale รุ่น JPD-BFS200B

890฿

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ 14 ค่า | Bluetooth ดูค่าผ่าน App ได้ 

รหัสสินค้า: JPD-BFS200B หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

Body Composition Scale รุ่น GBF-1719-A

690฿

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ น้ำหนัก, BMI, ไขมัน, กล้ามเนื้อ, น้ำ และมวลกระดูก 

รหัสสินค้า: GBF-1719-A หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดต่าง ๆ รักษาได้ไหม?

         การรักษาของแพทย์จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ในกลุ่มแรกที่อาการปวดไม่ได้รุนแรง และมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นส่วนมาก แพทย์จะรักษาตามอาการ แต่หากรับประทานยาไปแล้วยังมีอาการปวดหลังอยู่ หรือมีอาการเพิ่มเติม เช่นปวดลงขา มีอาการชาตามเท้า จำเป็นที่จะต้องตรวจร่างกายเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นอย่างชัดเจน

กระดูกทับเส้นประสาท

         สำหรับผู้ป่วยโรคนี้ การรักษาก็สามารถทำได้โดยผ่าตัด ปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์มากมาย ที่จะช่วยให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างราบรื่นและช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้การผ่าตัดใช้ระยะเวลาไม่นาน แผลไม่ใหญ่ และผู้ป่วยเองสามารถฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วมากขึ้น

10 โรคที่เกิดจากการทำงานออฟฟิศ ไม่อยากเสี่ยงชีวิตต้องปรับพฤติกรรม!

10 ท่าบริหารกระดูกทับเส้นประสาท

         สำหรับผู้ใดที่ต้องการบริหารร่างกาย ให้ไกลจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น อาการปวดหลังเรื้อรังที่เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน เรามี 10 ท่า บริหารกระดูกทับเส้นประสาท หากทำเป็นประจำ รับรองได้เลยว่าอาการปวดหลังจะดีขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งมีดังนี้

หมอนรองกระดูก

10 ท่า บริหารกระดูกทับเส้นประสาท

         1.ท่าเข่าถึงหน้าอก : เป็นท่านอนหงาย นำมือประสานแล้วช้อนใต้เข่าข้างใดข้างหนึ่งแล้วค่อย ๆ ดึงเข้าให้มาชิดกับหน้าอก ทำค้างไว้ข้างละ 15-30 วินาที

         2.ท่ายืดเอ็นร้อยหวาย : ยืนให้ห่างกำแพงประมาณ 1 ช่วงแขน โดยใช้มือยันกำแพง แล้วถอยเท้าข้างหนึ่งด้านหลัง ส้นเท้าแนบพื้น แอ่นสะโพกไปทางด้านหน้า ทำค้างไว้ข้างละ 15-20 วินาที

         3.ท่าบริหารอุ้งเชิงกราน : ให้นอนหงายพร้อมชันเข่า แขม่วหน้าท้องให้หลังแนบไปกับพื้น หายใจเข้า-ออก 5 – 10 ครั้ง ทำ 3-5 รอบ อย่างช้า ๆ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการ

         4.ท่าสะพาน : ให้นอนหงายพร้อมชันเข่า นำแขนวางข้างลำตัว ค่อย ๆ เกร็งแผ่นหลังเพื่อยกก้นให้ลอยพ้นพื้น เกร็งค้างไว้ 1-10 วินาที ทำ 3 รอบ

         5.ท่ายืดสะโพก : ให้นอนหงาย ให้ขาข้างนึงวางบนขาอีกข้าง ให้มีลักษณะเหมือนเลข 4 แล้วใช้มือจับต้นขา พร้อมกับยกขาขึ้น โดยให้หลังแนบไปกับพื้น ยืดค้างไว้ 15-30 วินาที ทำ 5-10 รอบ

         6.ท่านั่งยืดลำตัว : ให้นั่งเหยียดขาตรง แล้วยกขาข้างหนึ่งไขว้ไปด้านตรงข้าม ใช้แขนช่วยดันจนรู้สึกตึงต้นขาด้านนอก ลำตัวเหยียดตรง ยืดค้างไว้ข้างละ 15-30 วินาที  ทำ 5-10 รอบ

10 ท่าบริหารกระดูกทับเส้นประสาท

         7.ท่าโยคะยืดหลัง : ให้นอนคว่ำ ใช้มือทั้งสองข้างดันลำตัวขึ้นมาจากพื้น ให้ช่วงเอว สะโพก และช่วงล่างลำตัวติดพื้น ทำค้างไว้ 15-30 วินาที ทำ 3-5 รอบ

         8.ท่านกพิราบ : ให้นั่งเหยียดขาข้างใดข้างหนึ่งตรงไปด้านหลัง ส่วนอีกข้างเหยียดไปด้านหน้า โดยให้งอเข่าเข้ามาหาตัว ให้ส้นเท้าอยู่ใกล้กับต้นขาอีกข้าง คว่ำสะโพกให้แนบพื้น ยืดหลังให้ตรง มองไปข้างหน้า ทำค้างไว้ข้างละ 10-15 วินาที

         9.ท่ายืดตัวแบบพื้นฐาน : นำมือประสานกันไว้ แล้วยืดแขนและยกแขนเหยียดขึ้นสุด พร้อมยืดลำตัวขึ้น ยืดค้างไว้ 15-30 วินาที ทำ 5-10 รอบ

         10.ท่ายืนยืดขา : ให้ยืนตรง พับขาข้างใดข้างหนึ่งไปด้านหลัง แล้วใช้มือจับที่ข้อเท้า และค่อย ๆ ดึงเข้ามาที่สะโพก ทำค้างไว้ข้างละ 15-30 วินาที

ปวดหลังเรื้อรัง ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เช็กด่วน! อาการแบบไหนควรรีบพบหมอ

สรุป

         หมอนรองกระดูกทับเส้น อาการปวดหลังที่ไม่ใช่เรื่องเล็ก หากพบว่ามีความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรักษาได้ทันเวลา แต่ถ้าหากไม่มีความเสี่ยงก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ เพราะอาการนี้จะปรากฏขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น หรือจากการสะสมของการใช้งานอย่างหนัก มีโอกาสที่จะเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทางป้องกันที่ดีที่สุดคือหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีเวลารักษาและทรมานน้อยลง ส่งผลให้ไม่มีอาการรุนแรงและสามารถรักษาให้หายขาดได้

บทความที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดบริเวณหลัง

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้" ... อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

Close Popup