ปวดหลังเรื้อรัง ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เช็กด่วน! อาการแบบไหนควรรีบพบหมอ

ปวดหลังเรื้อรัง

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         อาการปวดเมื่อยตามร่างกายรวมไปถึงอาการปวดหลังที่เป็นบ่อย จนบางครั้งต้องหันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองและสังเกตอาการที่เป็นอยู่ว่ามีอาการปวดหลังบ่อยครั้ง และเป็นถี่มากยิ่งขึ้นหรือไม่ เพราะอาจจะเป็นอันตรายที่จะเสี่ยงต่อการปวดหลังเรื้อรัง

เมื่อผู้ป่วยสังเกตอาการของตัวเองว่ามีอาการปวดหลังไม่หาย อาจเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยอาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นภาวะปวดหลังเรื้อรังได้ โดยโรคปวดหลังเรื้อรังหรือเรียกว่า Office Syndrome เป็นปัญหาสุขภาพของคนวัยทำงานที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะกลุ่มทำงานออฟฟิศที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ นั่นเอง

สารบัญ

อาการแบบไหนถึงเรียกว่าปวดหลังเรื้อรัง

         อาการปวดหลังเรื้อรังที่ผิดปกติจากการปวดหลังแบบธรรมดา มักจะขึ้นเกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวันโดยทั่วไปและอาการนี้จะหายได้เอง แต่เมื่อไหร่ที่มีอาการปวดหลังรุนแรงมากขึ้นและไม่หายมากกว่า 90 วัน ให้สันนิษฐานได้เลยว่ามีอาการเข้าขั้นเรื้อรังแล้ว วิธีการสังเกตุอีกแบบหนึ่งที่สามารถจะสังเกตุความแตกต่างของอาการปวดหลังเรื้อรังจากอาการปวดหลังธรรมดาได้ ก็คือให้ดูจากอาการดังต่อไปนี้

ปวดหลังเรื้อรัง

วิธีสังเกตอาการปวดหลังเรื้อรัง

  • มีอาการปวดหลังถี่มากขึ้นจนเข้าข่ายอาการเรื้อรัง
  • มีอาการปวดมากขึ้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันจนต้องรับประทานยาแก้ปวดอย่างต่อเนื่อง
  • มีอาการปวดบริเวณหลังร้าวไปที่แขนหรือขา
  • มีอาการขาอ่อนแรงร่างกายอ่อนเพลีย
  • มีอาการปัสสาวะอุจจาระผิดปกติที่ไม่เหมือนเดิม
  • รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงและมีไข้เวลากลางคืน
5 วิธีรับมือกับ อาการปวดหลัง – ปวดก้นกบ ในผู้สูงอายุ ไม่ต้องทนปวดอีกต่อไป!

ปวดหลังเรื้อรัง เกิดจากสาเหตุอะไร

         ต้นเหตุสำคัญที่เป็นปัญหาหลักของอาการ ปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับคนนั่งทำงานอย่างพนักงานออฟฟิศตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงระดับปฏิบัติงาน รวมถึงบุคคลที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นวัยทำงานหรือวัยเรียน ซึ่งเกิดจากสาเหตุสำคัญดังต่อไปนี้

ปวดหลังเรื้อรัง

สาเหตุปวดหลังเรื้อรัง

  • กระดูกสันหลังเสื่อม โดยมักจะเกิดกับคนที่มีอายุมาก เพราะข้อกระดูกมีการเสื่อมไปตามวัยนั่นเอง จึงทำให้มีอาการปวดหลังได้บ่อยๆ และปวดแบบเรื้อรังในที่สุด
  • กระดูกตรงบริเวณหลัง ที่มีอาการเสื่อมจนทับเส้นประสาทเมื่ออวัยวะของกระดูกสันหลังมีอาการเสื่อมลงเรื่อยๆ จะทำให้อวัยวะของร่างกายมีการปรับตัว จึงมีโอกาสที่จะกดทับเส้นประสาท บริเวณอวัยวะตรงหลังได้แล้วทำให้เกิดอาการปวดหลังอย่างต่อเนื่อง

ปวดหลัง

  • อวัยวะตรงหมอนรองกระดูกบริเวณหลัง อาจจะเกิดจากหมอนรองกระดูกมีการเคลื่อนตัวไปทับเส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกตรงบริเวณหลังมีอาการเสื่อมจากการใช้ร่างกายที่หนักจนเกินไป ทำให้มีการอักเสบบริเวณรอบๆ ได้ และเกิดอาการปวดขึ้นมานั่นเอง
  • กล้ามเนื้อบริเวณหลังมีอาการอักเสบ ที่เป็นอย่างต่อเนื่องจนเข้าข่ายเรื้อรัง เป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจจะเกิดจากการที่มีอวัยวะกล้ามเนื้อ 1 มัดหรือมากกว่านั้นมีอาการอักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดร้าวบริเวณหลังได้
นั่งทำงานแล้วปวดหลัง หรือเปล่า? ถ้างั้นลองมาปรับโต๊ะทำงานตามหลัก Ergonomic กันเถอะ!

ปวดหลังเรื้อรังแบบไหนที่ควรรีบไปหาหมอ

         หลังจากที่เราทราบกันไปแล้วว่าอาการปวดหลังเรื้อรังอาการเป็นแบบไหน มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ต่อมาเรามาทราบกันต่อว่า สัญญาณอันตรายแบบไหน ที่ควรรีบพาตนเองหาหมอโดยเร็วที่สุด เพื่อรักษาอาการ ปวดหลังเรื้อรัง ให้บรรเทาลงได้ โดยมีสัญญาณอย่างไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

ออฟฟิศซินโดรม

สัญญาณของอาการปวดหลังเรื้อรัง

  • มีอาการปวดหลังนานมากกว่า 90 วันขึ้นไป โดยอาการปวดไม่ลดลงเลย และเพิ่มทวีความรุนแรงความปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • อาการปวดหลังร้าวลงไปขา ทำให้เกิดอาการปวดขาร่วมด้วยติดต่อกันนานมากกว่า 14 วัน โดยอาจจะเป็นแค่ข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ต้องรีบไปหาหมอเพื่อปรึกษาโดยด่วน
  • ปวดหลังขนาดที่เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถจะทำให้เกิดอาการปวดรุนแรงมาก และในตอนกลางคืนมักจะกระดกข้อเท้าไม่ได้
  • รู้สึกกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงจนเป็นที่สังเกตได้โดยมีวิธีการสังเกตตรงที่มีขาเล็กลงหรือมีลักษณะขาลีบลง
อาการออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศที่ไม่ควรมองข้าม!

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้ปวดหลังเรื้อรัง

         อาการปวดหลัง หรืออาการปวดหลังเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายกับวัยเรียนและวัยทำงาน และอาการจะรุนแรงมากขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา แต่อาการของการปวดหลังเรื้อรังสามารถรักษาได้ง่าย ๆ จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

ปวดหลังเรื้อรัง

วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • การใช้ร่างกายในกิจวัตรประจำวันให้ถูกวิธี และพยายามไม่ยกของที่หนักเกินไป หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำให้มากที่สุด และการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แต่เราสามารถใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่มาช่วยพยุงหลังของเราได้ อาจจะมีเบาะพยุงหลัง เบาะรองนั่ง เป็นตัวช่วยในการนั่งทำงานที่จะลดอาการปวดหลังได้ และยังทำให้ไม่เสียบุคลิกภาพอีกด้วย
  • ออกกำลังกายดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยเฉพาะการเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังอย่างสม่ำเสมอ โดยการเล่นโยคะ พิลาทิสต์ หรือการว่ายน้ำ เป็นต้น

ปวดหลังเรื้อรัง

  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เพราะการมีน้ำหนักเยอะเกินไปก็ทำให้ปวดหลังบ่อยได้เช่นกัน
  • ยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการใช้งาน
  • เลือกเก้าอี้และเบาะรองนั่งที่เหมาะสมต่อการนั่งทำงานที่สามารถจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ ซึ่งในยุคปัจจุบันนี้มีเก้าอี้สุขภาพให้เลือกมากมายเป็นทางเลือกสำหรับคนที่มีอาการปวดหลังบ่อยๆ
หมดปัญหานั่งนานปวดหลัง-ปวดก้น!! ด้วย เบาะรองนั่งเพื่อสุขภาพ Dyna-Tek Profile จาก ALLWELL

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ DYNA-TEK SUPERIOR

Original price was: 9,900฿.Current price is: 4,990฿.

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ | หนา 10 cm | รับน้ำหนักได้ 127kg | ผ้าคลุมเบาะกันน้ำ

รหัสสินค้า: Dyna-Tek หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

DYNA-TEK PROFILE

Original price was: 8,900฿.Current price is: 3,950฿.

รับน้ำหนักได้ 114kg | ผ้าคลุมเบาะกันน้ำ

รหัสสินค้า: Dyna-Profile หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

สรุป

         โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการ ปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งเป็นภาวะที่ทุกคนแทบจะเคยเป็น เพราะมนุษย์เป็นสิ่งที่ดำรงชีวิตโดยมีลำตัวตั้งตรงต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้มีลักษณะกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังที่มีถึง 29 ชิ้น ต้องมีการทำงานหนักตลอดเวลา โดยทำให้เกิดอาการปวดหลัง สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัยได้ทุกวันซึ่งคุณอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงมีอาการปวดหลัง

         ในปัจจุบันแพทย์ได้พบว่าผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากภารกิจกิจวัตรประจำวันและพฤติกรรมของการใช้ชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นควรปรับพฤติกรรมของตนเอง และดูแลสุขภาพให้ดี เพื่อจะได้ห่างไกลจากอาการปวดหลังนั่นเอง

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup