ปอดแฟบ เกิดจากอะไร? ภาวะร้ายที่ผู้ป่วยติดเตียงต้องระวัง

ปอดแฟบ เกิดจาก

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         ผู้ป่วยติดเตียง มักเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนมากมาย ทั้งชนิดที่รุนแรงน้อยไปจนถึงอันตราย และหนึ่งในอีกภาวะอันตรายที่อยากให้ผู้ดูแลระวังไว้ คือ ภาวะปอดแฟบ เกิดจากการที่ต้องติดเตียงของผู้ป่วย ซึ่งกระทบต่อระบบสำคัญอย่างการหายใจ และอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว แต่โรคนี้ยังสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยผ่าตัด อย่างภาวะปอดแฟบหลังผ่าตัด ไปดูกันว่า ปอดแฟบ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง และจะมีแนวทางในการรักษาหรือป้องกันอย่างไรค่ะ 

สารบัญ

ปอดแฟบ เกิดจากอะไร? ใครเสี่ยงบ้าง?

         ทางการแพทย์จะเรียกภาวะนี้ว่า Atelectasis หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ปอดแฟบ เกิดจากภาวะที่ปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากถูกจำกัดการเคลื่อนไหว อย่างผู้ป่วยติดเตียงซึ่งมักพบได้บ่อย นอกจากนี้ยังสามารถพบได้กับผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากยาสลบที่ต้องให้ขณะผ่าตัด จะเข้าไปชะลออัตราการหายใจและยับยั้งการไอ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยผ่าตัดหายใจลึก ๆ ไม่ค่อยได้ ปอดจึงขยายตัวได้ไม่เต็มที่ และเข้าสู่ภาวะปอดแฟบได้ โดยส่วนใหญ่ปอดแฟบ มักเกิดจากสาเหตุที่กล่าวมา

ภาวะปอดแฟบ

         แต่ก็มีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะปอดแฟบ โดยมักเกิดจากโรคหรือภาวะบางอย่างที่ส่งผลต่อการหายใจและส่งผลกระทบต่อปอด เช่น การอุดตันของทางเดินหายใจ ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด โรคปอดบวม โรคมะเร็งปอด เป็นต้น กล่าวคือภาวะปอดแฟบมักเกิดกับผู้ป่วยติดเตียง แต่ถึงอย่างนั้นก็สามารถเกิดได้กับผู้ป่วยอื่น ๆ อีกด้วย

         ซึ่งภาวะปอดแฟบ จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหมุนเวียนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมได้ ส่งผลให้หายใจได้ไม่เต็มที่ หัวใจเต้นเร็ว มีอาการเจ็บหน้าอก หรือระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งหากปล่อยไว้จะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

กลุ่มเสี่ยงภาวะปอดแฟบ

  • ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่ขยับร่างกายไม่ได้นาน ๆ
  • ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ที่มีการดมยาสลบ หรือถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
  • ผู้ที่มีปัญหากับระบบทางเดินทางหายใจ เช่น โรคมะเร็งปอด โรคหืด โรคอ้วน
  • เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด
  • ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะกลืนลำบาก
  • ผู้ที่ชอบสูบบุหรี่เป็นประจำ
อ่านบทความ : 7 เตียงผู้ป่วยติดเตียง ยี่ห้อที่ดีที่สุด! ตอบโจทย์ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล

ปอดแฟบ อาการเป็นอย่างไร?

         หลังจากที่เราได้ทราบกันไปแล้วว่า ปอดแฟบ เกิดจากสาเหตุอะไร และส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร ทีนี้เรามาเช็กกันว่า ปอดแฟบอาการเป็นอย่างไร เพื่อให้สามารถวินิจฉัยความเสี่ยงเบื้องต้น และรักษาได้อย่างท่วงทัน โดยอาการปอดแฟบ ที่บ่งบอกชัดเจนว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะปอดแฟบมีดังต่อไปนี้

ปอดแฟบ เกิดจาก

อาการปอดแฟบ

  • มีอาการหายใจลำบาก เร็วและถี่ หอบเหนื่อยง่ายขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • เวลาหายใจเข้า-ออก จะสังเกตเห็นหน้าอกขยายตัวน้อยลง
  • ปากเขียว ตัวเขียว เนื่องจากร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
  • มีไข้ร่วมกับไอ
  • ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ

อุปกรณ์บริหารปอด Pulmogain

Original price was: 499฿.Current price is: 339฿.

  • ผลิตโดย CA-MI S.R.L. ประเทศอิตาลี
รหัสสินค้า: Pulmogain หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

ภาวะปอดแฟบ รักษาได้ไหม? 

         ภาวะปอดแฟบสามารถรักษาและฟื้นฟูได้ โดยแนะนำว่า หากพบอาการที่เข้าข่ายภาวะปอดแฟบให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยก่อน ซึ่งแพทย์ก็จะหาแนวทางในการรักษาให้ตรงจุดตามสาเหตุการเกิดภาวะปอดแฟบ นอกจากแพทย์จะทำการรักษาแล้ว ส่วนใหญ่แพทย์ก็จะให้ผู้ป่วยกลับมาฟื้นฟูเองที่บ้าน

 วิธีบริหารปอดแฟบ

การฟื้นฟูสภาวะปอดแฟบ

  • ให้ผู้ป่วยฝึกการหายใจ เรียนรู้ วิธีบริหารปอดแฟบ ซึ่งเป็นเทคนิคที่จะช่วยระบายเสมหะและเพิ่มการไหลเวียนอากาศภายในถุงลม ทั้งยังช่วยให้ถุงลมขยายตัวไม่ติดกัน ผู้ป่วยจะต้องหายใจเข้าทางจมูก กลั้นหายใจค้างไว้ 5- 10 วินาที และทำการหายใจออกทางปาก นอกจากนี้ก็ยังมี เครื่องบริหารปอด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้อย่างเต็มที่อีกด้วย
  • การสอนไอแบบไม่ปิดฝากล่องเสียง คือ การหายใจเข้าแล้วไอออกมาโดยทำเสียง “แฮ่ก” เพื่อไม่ให้ถุงลมตีบขณะไอ และเป็นวิธีช่วยลดอาการหอบเหนื่อยและขับเสมหะออกมา ส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่เสี่ยงต่อภาวะปอดแฟบอีกด้วย
  • ควรจัดท่าระบายเสมหะร่วมกับการเคาะปอด ซึ่งเป็นเทคนิคที่สำคัญที่จะช่วยให้เสมหะที่อุดกลั้นทางเดินหายใจเคลื่อนตัวและหลุดออกมาจากตำแหน่งที่เกิดอาการ โดยใช้การจัดท่าร่วมกับใช้แรงโน้มถ่วงเป็นตัวช่วยระบายเสมหะออกมานั่นเอง
สนใจ! อุปกรณ์บริหารปอด เหมือนโรงพยาบาลใช้ นำเข้าจากอิตาลี click here

วิธีป้องกันภาวะปอดแฟบ  

         ทุกท่านคงทราบกันแล้วว่าภาวะปอดแฟบ เกิดขึ้นได้อย่างไรและมีสาเหตุมาจากสิ่งใด และแน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้ภาวะนี้เกิดขึ้น เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดปอดแฟบได้Allwell จึงได้รวบรวมวิธีการต่าง ๆที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปอดแฟบไว้ในบทความนี้แล้ว ซึ่งมีดังต่อไปนี้

ปอดแฟบ ผู้ป่วยติดเตียง

วิธีป้องกันไม้ให้เกิดสภาวะปอดแฟบ มีดังนี้

  • เพิ่มความระมัดระวังในระหว่างการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกถั่ว ข้าวโพด หรือธัญพืชที่อาจหลุดเข้าไปและทำให้เกิดการอุดตันในหลอดลมได้
  • ควรปรึกษาแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะ Atelectasis หลังการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดทรวงอกหรือช่องท้อง เนื่องจากหากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องอาจทำให้เกิดภาวะเสี่ยงปอดแฟบได้
  • แนะนำให้กำจัดเยื่อเมือกด้วยการดื่มน้ำในปริมาณตามที่แพทย์กำหนด การไอบ่อย ๆ เพื่อกำจัดเยื่อเมือกออกจากปอด หรือการจัดท่าทางร่างกายเพื่อช่วยระบายเยื่อเมือกออกไปก็ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะปอดแฟบได้เช่นกัน
  • หลังจากการผ่าตัด ควรให้ผู้ป่วยได้มีการปรับท่านั่งให้เหมาะสมอยู่เสมอ ด้วยการนั่งหลังตรงที่ขอบเตียง หรือการเดินบ่อย ๆ เพื่อช่วยให้ปอดขยายตัวอย่างเต็มที่ และยังเป็นวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่ปอดได้ด้วย
  • ผู้ป่วยหมั่นหายใจลึก ๆ หลังจากการผ่าตัด เพื่อช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้นและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะปอดแฟบอีกด้วย
  • การไม่สูบบุหรี่ก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดถือเป็นปัจจัยลดความเสี่ยงที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัดว่าควรงดสูบบุหรี่เป็นเวลานานเท่าไรก่อนการเข้าผ่าตัด เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพราะนี่ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ด้วยเช่นกัน

สรุป

         ทั้งหมดนี้ก็เป็นอาการ วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเบื้องต้น เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความเสี่ยงต่อภาวะปอดแฟบ หรือหากใครที่กำลังดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณจะต้องไม่ให้ผู้ป่วยได้รับภาวะแทรกซ้อนใด ๆ โดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้ และอาจถึงขั้นรุนแรงเสียชีวิตได้ด้วย ฉะนั้นการดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรให้ความใส่ใจและดูแลอย่างใกล้อยู่เสมอ ตลอดจนการดูแลด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด  

บทความที่น่าสนใจ เพิ่มเติม

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup