Checklist!!! ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน 1 วันต้องทำอะไรบ้าง?

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน

         เมื่อผู้ป่วยติดเตียงต้องออกจากโรงพยาบาลกลับมารักษาตัวที่บ้าน ผู้ดูแลหลายคนอาจจะยังมีความสับสน หรือไม่รู้ว่า ควร ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน อย่างไรดี? ALLWELL จึงมีตัวอย่างตารางเวลาดูแลผู้ป่วยติดเตียงใน 1 วัน (ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน) ผู้ดูแลควรทำหรือดูแลผู้ป่วยอย่างไรบ้าง มา Checklist สิ่งที่ต้องทำไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลยค่ะ

สารบัญ

สำรวจก่อนว่า ผู้ป่วยติดเตียงที่คุณต้องดูแล จัดอยู่ในกลุ่มไหน?

         สิ่งสำคัญก่อนจะกล่าวถึงเรื่องวิธีการดูแล ผู้ดูแลจะต้องสำรวจก่อนว่า ผู้ป่วยติดเตียงของคุณนั้นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน มีอะไรบ้างที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำเองได้ และมีเรื่องอะไรบ้างที่ต้องระวัง โดยเราจะแบ่งผู้ป่วยติดเตียงออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ค่ะ

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน

กลุ่มของผู้ป่วยติดเตียง

  • กลุ่มสีเขียว : ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ ที่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้าง อาศัยผู้ดูแลช่วยเหลือบ้างในบางเรื่อง แต่โดยรวมสามารถทำกิจวัตรประจำวันเองได้เกือบทุกกิจกรรม
  • กลุ่มสีเหลือง : ผู้ป่วยติดเตียงที่มีอาการอัมพฤกษ์ กล้ามเนื้อค่อนข้างอ่อนแรง สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้างแต่น้อยกว่ากลุ่มสีเขียว ดูแลตัวเองได้บ้าง แต่ต้องอาศัยผู้ดูแลช่วยเหลือในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งการป้อนข้าว ดูแลเรื่องความสะอาด แต่ยังสามารถนั่งหรือพลิกตัวเองได้ นอกจากนี้ จะต้องคอยระวังเรื่องแผลกดทับด้วย
  • กลุ่มสีแดง : ผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นอัมพาต หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวได้เลย (Bedridden Patient) รู้สึกตัวน้อยหรือไม่รู้สึกตัวเลย ไม่สามารถช่วยเหลือ หรือพลิกตัว-นั่งเองได้ ต้องอาศัยการดูแลจากผู้ดูแลทั้งหมด ดังนั้น ต้องระวังเรื่องแผลกดทับเป็นอย่างมาก รวมทั้งโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ด้วย
อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย ที่หนึ่งชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงควรมี

ตารางกิจกรรม ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน 1 วัน ต้องทำอะไรบ้าง?

         เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียง เป็นผู้ป่วยที่ต้องละเอียดอ่อนในเรื่องของการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งเรื่องของสุขอนามัย โภชนาการ การกายภาพบำบัด และการเฝ้าระวังเรื่องโรคแทรกซ้อน ซึ่งหากผู้ดูแลสามารถดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง นอกจากจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้สุขภาพของผู้ป่วยดีขึ้นได้อีกด้วย

1.ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน > กลุ่มสีเขียว และกลุ่มสีเหลือง

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน

  • 06.00 – 07.00 น. : ให้ผู้ป่วยตื่นนอน คอยดูแลเรื่องอุปกรณ์ในการทำความสะอาดร่างกาย หรือช่วยเหลือขณะอาบน้ำ (กรณีผู้ป่วยสีเหลือง) พร้อมทั้งคอยเช็กความปลอดภัยขณะผู้ป่วยกำลังอยู่ในห้องน้ำ เมื่อทำความสะอาดร่างกายเสร็จแล้ว สำรวจความเรียบร้อยเรื่องการแต่งกายของผู้ป่วย พร้อมทั้งคอยดูแลความปลอดภัยขณะเดินกลับเตียง
  • 08.00 – 09.00 น. : เตรียมอาหารเช้าให้ผู้ป่วย พร้อมปรับหัวเตียงขึ้นประมาณ 45-70 องศา ให้อยู่ในท่านั่งระดับที่ผู้ป่วยสะดวก หลังทานอาหารเสร็จ เตือนหรือช่วยเหลือผู้ป่วยทำความสะอาดช่องปาก
  • 10.00 – 12.00 น. : หากิจกรรมให้ผู้ป่วยทำเพื่อเคลื่อนไหวร่างกาย ฝึกการใช้ความคิด หรือได้พูดคุยระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วย เช่น ฝึกเดิน ดูทีวีด้วยกัน อ่านหนังสือให้ผู้ป่วยฟัง เล่นเกม เป็นต้น
  • 12.00 – 13.00 น. : ดูแลเรื่องอาหารเที่ยงให้ผู้ป่วย (ขั้นตอนเหมือนช่วงเช้า)
  • 14.00 – 15.00 น. : บริหารร่างกายให้ผู้ป่วย หรือหากผู้ป่วยพอมีกำลังให้ฝึกยืน เตะขา หรือเดิน โดยที่ผู้ดูแลคอยเช็กเรื่องความปลอดภัย และสังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วยอยู่ตลอด ถ้าพบอาการผิดปกติ ให้หยุดกิจกรรมนั้น ๆ ทันที

วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียง

  • 15.00 – 16.00 น. : หลังออกกำลังกายเสร็จ ให้ผู้ป่วยนั่งพักโดยให้นั่งห้อยขาข้างเตียง
  • 17.00 – 18.00 น. : ดูแลผู้ป่วยให้ทำความสะอาดร่างกาย (ขั้นตอนเหมือนช่วงเช้า)
  • 18.00 – 19.00 น. : ดูแลเรื่องอาหารเย็นให้ผู้ป่วย (ขั้นตอนเหมือนช่วงเช้า)
  • 19.00 – 20.00 น. : ให้ผู้ป่วยนั่งพักห้อยขาอยู่ข้างเตียง และทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ดูทีวี พูดคุยกับลูกหลาน-ผู้ดูแล เป็นต้น
  • 22.00 น. เป็นต้นไป : ให้ผู้ป่วยเข้านอน โดยดูแลจัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสำหรับการเข้านอน และเช็กเรื่องความปลอดภัย เช่น ปรับระดับเตียงให้ต่ำ ยกราวกั้นเตียงขึ้น ล็อกล้อเตียง เป็นต้น ที่สำคัญ ตอนกลางคืนผู้ป่วยอาจมีการลุกไปเข้าห้องน้ำ ควรจัดให้มีกริ่งเพื่อแจ้งเตือนผู้ดูแล หรือจัดให้มีคนนอนเฝ้าข้างเตียง

3.ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน > กลุ่มสีแดง (กรณีให้อาหารทางสายยาง 4 มื้อ)

วิธีดูดเสมหะในปาก

(อ่านบทความ : ดูดเสมหะอย่างไรไม่ให้ผู้ป่วยทรมาน)

  • 05.00 – 06.00 น. : ทำความสะอาดช่องปากและร่างกายให้ผู้ป่วย หากมีแผลกดทับให้ทำแผลตามที่แพทย์แนะนำ
  • 07.00 น. : ให้อาหารเช้าทางสายยาง โดยปรับหัวเตียงผู้ป่วยประมาณ 30-45 องศา ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถขับเสมหะเองได้ ให้ปรับหัวเตียงขึ้น 45-70 องศา แล้วดูดเสมหะออกให้ผู้ป่วยโล่งก่อน จากนั้นค่อยให้อาหารทางสายยางกับผู้ป่วยตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษา เมื่อให้อาหารผู้ป่วยเสร็จแล้ว จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบ ศีรษะตรง หมอนไม่สูงหรือต่ำเกินไป
  • 09.00 น. : พลิกตัวผู้ป่วยให้ตะแคงขวา
  • 11.00 น. : ให้อาหารทางสายยางกับผู้ป่วย เมื่อให้อาหารผู้ป่วยเสร็จแล้ว จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบ (ขั้นตอนเหมือนช่วงเช้า)
  • 13.00 น. : บริหารร่างกายผู้ป่วย เพื่อป้องกันข้อติดและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ (อ่านบทความ > 10 ท่าบริหารผู้ป่วยติดเตียง) เมื่อบริหารเสร็จแล้วให้พลิกตัวผู้ป่วยตะแคงซ้าย
  • 15.00 น. : ให้อาหารทางสายยางกับผู้ป่วย เมื่อให้อาหารผู้ป่วยเสร็จแล้ว จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบ (ขั้นตอนเหมือนช่วงเช้า)

ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

  • 17.00 น. : ทำความสะอาดช่องปากและร่างกายให้ผู้ป่วย (ขั้นตอนเหมือนช่วงเช้า) เมื่อเสร็จแล้วให้พลิกตัวผู้ป่วยตะแคงขวา
  • 19.00 น. : ให้อาหารทางสายยางกับผู้ป่วย เมื่อให้อาหารผู้ป่วยเสร็จแล้ว จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบ (ขั้นตอนเหมือนช่วงเช้า)
  • 21.00 น. : พลิกตัวผู้ป่วยให้ตะแคงซ้าย
  • 23.00 น. : จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบศีรษะตรง
  • 01.00 น. : พลิกตัวผู้ป่วยตะแคงขวา
  • 03.00 น. : จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบศีรษะตรง
3 วิธีพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง พร้อมตารางพลิกตะแคงตัวแบบง่าย ๆ ทำตามได้เลย!

แนะนำอุปกรณ์ ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน ควรมีอะไรบ้าง?

         การดูแลผู้ป่วยติดเตียง เป็นเรื่องที่ต้องใช้พลังกายและพลังใจสูงมาก เนื่องจากการถูกจำกัดการเคลื่อนไหวและอาการป่วยประจำตัวต่าง ๆ ของผู้ป่วย การเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย จะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างง่ายขึ้น อีกทั้งอุปกรณ์เหล่านั้นที่ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานโดยเฉพาะ จึงช่วยให้ผู้ป่วยนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกด้วย

  • ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ

แผลกดทับ ที่นอนกันแผลกดทับ

         เป็นอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ที่เรียกว่าไม่มีไม่ได้เลยค่ะ จะเห็นได้ว่าในโรงพยาบาลแทบทุกเตียงจะต้องมีที่นอนป้องกันแผลกดทับ ซึ่งแผลกดทับเป็นเรื่องที่เสี่ยงให้เกิดกับผู้ป่วยไม่ได้เลยค่ะ เพราะอาจร้ายแรงจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าผู้ติดเตียงจะอยู่ในกลุ่มสีไหน ก็ควรมีที่นอนกันแผลกดทับไว้นะคะ

สนใจ ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รุ่น MERCURY คลิก!!
  • เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว

         ขึ้นชื่อว่าผู้ป่วยติดเตียงแล้ว สิ่งที่ผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญอีกอย่างนั่นก็คือ “เตียงผู้ป่วย” (Patient Bed) เพราะผู้ป่วยจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนเตียง โดยแนะนำให้เลือกเตียงผู้ป่วยแบบไฟฟ้า เพราะสามารถปรับระดับหัวเตียง ความสูง หรือท่าทางต่าง ๆ ได้ง่าย โดยที่ผู้ดูแลไม่ต้องออกแรงเยอะ ผู้ป่วยบางท่านก็สามารถใช้งานเองได้ด้วยค่ะ  แนะนำให้เลือกเตียงผู้ป่วยที่มีฟังก์ชันเสริมที่ช่วยเพิ่มความสะดวกและปลอดภัย เช่น ราวกั้นเตียง ไฟใต้เตียง ระบบ CPR เป็นต้น

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ฟังก์ชันครบ ดีไซน์สวย สนใจคลิก!!!
  • รถเข็นอาบน้ำและนั่งถ่าย

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน

         เก้าอี้อาบน้ำและนั่งถ่าย เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยลดอุบัติเหตุในการเข้าห้องน้ำของผู้ป่วย เพราะสามารถขับถ่ายและอาบน้ำได้บนเก้าอี้ ป้องกันเรื่องการลื่นหกล้ม และสะดวกต่อผู้ดูแลในการทำความสะอาดด้วยค่ะ

รถเข็นอาบน้ำและนั่งถ่าย รุ่น MOEM ลดความเสี่ยงหกล้มในห้องน้ำ
  • รถเข็นผู้ป่วย หรือวีลแชร์

รถวีลแชร์

         สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทรงตัวได้ เดินไม่คล่อง หรือไม่สามารถเดินได้เลย วีลแชร์ จะช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังบริเวณต่าง ๆ ได้ง่ายและปลอดภัย ใช้งานได้ทั้งในบ้านและนอกบ้าน อีกทั้ง ผู้ป่วยบางรายยังสามารถใช้วีลแชร์เองได้ ก็จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยพึ่งพาตนเอง ฝึกกำลังแขน และแบ่งเบาภาระผู้ดูแลได้อีกด้วยค่ะ

สนใจ รถเข็นผู้ป่วยวีลแชร์ แข็งแรง พับเก็บได้ คลิก!!!
  • เครื่องดูดเสมหะ

เครื่องดูดเสมหะ

         ผู้ป่วยติดเตียงหลายคนไม่สามารถขับเสมหะเองได้ จนทำให้เกิดอาการสำลักหรือหายใจไม่ออกบ่อยครั้ง จึงแนะนำให้มีเครื่องดูดเสมหะติดบ้านเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อแนะนำการใช้ ก่อนใช้งานจริงกับผู้ป่วยนะคะ

สนใจ เครื่องดูดเสมหะผู้ป่วย แรงดูดสูง นำเข้าจากประเทศอิตาลี คลิก!!!
  • โลชั่นแก้ผิวแห้ง (ที่ผู้ป่วยติดเตียงใช้ได้)

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน

         ผู้ป่วยติดเตียงมักเจอปัญหาผิวแห้งคัน เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การสูญเสียน้ำในร่างกาย อายุที่เพิ่มมากขึ้น ฯลฯ จนผู้ป่วยหลายคนนอนหลับไม่สบาย เกาจนกลายเป็นแผล พาลให้หงุดหงิดอารมณ์ไม่ดี แถมผิวแห้งยังนำไปสู่การเกิดแผลกดทับด้วย จึงแนะนำให้ใช้โลชั่นที่ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ไม่แห้งคัน แต่ต้องพิจารณาว่าโลชั่นนั้น ๆ อ่อนโยนเพียงพอที่ผู้ป่วยแผลกดทับใช้ได้หรือเปล่า ซึ่งแนะนำให้ใช้โลชั่นที่เป็นออแกนิคจะดีที่สุดค่ะ

โลชั่นออแกนิค ไร้สารอันตราย ผู้ป่วย เด็ก คนท้องใช้ได้ สนใจคลิก!!!

สรุป

         การดูแลผู้ป่วยติดเตียง แตกต่างจากการดูแลผู้ป่วยทั่วไป เนื่องจากมีขั้นตอนในการดูแลที่ละเอียดอ่อน และมีสิ่งที่ต้องระวังมาก ไม่ว่าจะเรื่องของแผลกดทับ ภาวะโภชนาการ อุบัติเหตุ หรือโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ การที่ผู้ดูแลรู้ว่าใน 1 วันต้องดูแลผู้ป่วยอย่างไร และต้องทำแบบไหนบ้าง จะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ได้ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกด้วย

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup