ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ ตื่นตอนกลางคืน เป็นเรื่องปกติที่ควรปล่อยผ่านจริงเหรอ?

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

         ถ้าหากครอบครัวไหน ที่มีผู้สูงอายุ คงจะสังเกตเห็นว่า ยิ่งอายุมากขึ้น พฤติกรรมการนอนหลับของคุณตาคุณยายในบ้าน ยิ่งเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เช่น ทั้ง ๆ ที่เข้านอนช้ากว่าคนอื่น แต่กลับเป็นคนที่ตื่นเร็วที่สุด บางทีก็ตื่นขึ้นมากลางดึก นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ นอนกลางวันตื่นตอนกลางคืน นอนหลับข้ามวันข้ามคืน หรือบางที ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ ติดต่อกัน 24 ชั่วโมงก็มี คำถามที่สำคัญก็คือ พฤติกรรมเหล่านี้ คือเรื่องปกติของผู้สูงอายุหรือเปล่า?

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

สารบัญ

สังเกตได้อย่างไรว่า ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ ?

         วัยผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่าง ซึ่งแทบจะเป็นไปในแง่ของการเสื่อมถอย มากกว่าการพัฒนา เช่น การรับรสอาหารแย่ลง ทำให้ทานอาหารได้ไม่อร่อย มีปัญหาในการมองเห็น การได้ยิน แต่ไม่ว่าคนเราจะอายุเท่าไร ระยะเวลาการนอนหลับที่ร่างกายต้องการยังคงเท่าเดิม คือประมาณวันละ 8 ชั่วโมง (อ้างอิงจาก สสส. ) นั่นหมายความว่า หากผู้สูงอายุคนไหนที่มีพฤติกรรมการนอนดังที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่สิ่งที่ควรมองข้ามอีกต่อไป 

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

แต่ไม่ว่าคนเราจะอายุเท่าไร ระยะเวลาการนอนหลับที่ร่างกายต้องการยังคงเท่าเดิม คือประมาณวันละ 8 ชั่วโมง

         หากร่างกายนอนหลับไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลกระทบให้ผู้สูงอายุรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ความสามารถในการจำสิ่งต่าง ๆ ลดลง คิดอะไรไม่ค่อยออก หรือคิดได้ช้าลง และก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

สาเหตุของพฤติกรรม ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

1.ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ : ถึงแม้จะบอกว่า ผู้สูงอายุยังต้องนอน 8 ชั่วโมงเหมือนวัยอื่น ๆ แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อาจจะทำให้ลักษณะการนอนของผู้สูงอายุ เป็นไปตามลักษณะเหล่านี้

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

  • ความต้องการนอนหลับของร่างกายลดน้อยลง ทำให้ระยะเวลานอนลดลง โดยอาจเข้านอนเร็วตั้งแต่หัวค่ำ และตื่นขึ้นมาตอนตี 2 หรือ ตี3
  • ใช้เวลานานขึ้นหลังจากเข้านอน เพื่อที่จะหลับ และช่วงระยะเวลานอนหลับแบบเคลิ้ม แต่ยังหลับไม่สนิทจะยาวขึ้น ในขณะที่ช่วงระยะเวลาที่หลับสนิทจะลดน้อยลง
  • ตื่นขึ้นบ่อย ๆ กลางดึก

         หากมีพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้น ให้สังเกตว่าในตอนกลางวัน ผู้สูงอายุมีอาการง่วงนอน อ่อนเพลียหรือไม่ ถ้าไม่มีแสดงว่า ผู้สูงอายุหลับได้เพียงพอกับความต้องการของร่ายกาย แม้จะมีพฤติกรรมการนอนที่เปลี่ยนแปลงไป

2.มีปัญหาทางสุขภาพจิต : ผู้สูงอายุบางคน อาจจะมีความเครียด ความกังวล รู้สึกเศร้า และคิดมากจากเรื่องราวต่าง ๆ ทำให้มีผลต่อการนอนหลับ

3.ความเจ็บป่วยทางร่างกาย : อาการของโรคบางอย่าง อาจะส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องตื่นขึ้นมากลางดึก เช่น ต่อมลูกหมากโต เบาหวาน ที่ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกหลาย ๆ ครั้ง ทำให้นอนหลับสนิทได้ยาก หรือบางคนอาจมีอาการปวดข้อ ปวดกระดูก เป็นตะคริว ท้องผูก แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ทำให้ต้องตื่นขึ้นมากลางดึก

4.การทานยาบางชนิด : การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ อาจจะเกิดจากยาที่จำเป็นต้องรับประทาน ซึ่งมีผลออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง หรือสมอง เช่น ยาขยายหลอดลม ยาแก้คัดจมูก ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาไทรอยด์ ยาแก้ชัก ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาสเตียรอยด์ ยารักษาภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น

5.พฤติกรรมการใช้ชีวิต : ผู้สูงอายุบางคน มักชอบนอนพักผ่อนในเวลากลางวัน เนื่องจากไม่มีกิจกรรมให้ทำ หรือชอบทานชา กาแฟในปริมาณที่มาก ทำให้ตอนกลางคืนนอนไม่หลับ

ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร ทำอย่างไร? : สนใจอ่านบทความต่อ คลิก!

การรักษาภาวะ ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

  • กำหนดเวลาเข้านอน และเวลาตื่นที่แน่นอน หลีกเลี่ยงการนอนหลับในช่วงเวลากลางวัน โดยเฉพาะช่วงหลัง 15.00 น. ควรใช้เตียงสำหรับการนอนหลับเท่านั้น ไม่ทำกิจกรรมอื่นบนเตียง และหากถึงเวลาเข้านอน แต่ไม่ง่วง ก็ให้ลุกขึ้นมาหากิจกรรมที่ทำให้ง่วง เช่น อ่านหนังสือ สวดมนต์ ไม่นอนกลิ้งไปมาบนเตียง

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

  • จัดสภาพแวดล้อมของห้องนอน ให้เอื้ออำนวยต่อการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ เช่น อุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป ห้องนอนที่ไม่มีเสียงดังรบกวน หรือแสงจ้า และก่อนเข้านอน ควรสร้างความผ่อนคลายแก่ร่างกาย ประมาณ 20 – 30 นาที เช่น ฟังเพลงเบา ๆ หรือนั่งสมาธิ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องมืด ๆ และหากิจกรรมที่ทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวในช่วงเวลากลางวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับรู้ว่า นี่คือช่วงเวลากลางวัน และออกกำลังกายในเวลาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ในช่วงเย็น สำหรับผู้สูงอายุติดเตียง ที่ไม่สามารถลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ต้องนอนบนเตียงเป็นส่วนใหญ่ ควรให้คนดูแล จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ในช่วงเวลากลางวัน ควรเปิดม่าน ให้มีแสงสว่าง และตอนกลางคืน ก็จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอน เพื่อให้ร่างกายรู้ว่า ตอนนี้เป็นเวลากลางวัน หรือกลางคืน
  • กำหนดเวลาการทานมื้อเย็นในคงที่ สม่ำเสมอ ไม่ทานอาหารอิ่มเกินไป และหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเยอะๆ ในช่วงเวลา 4 – 5 ชั่วโมงก่อนนอน ควรจิบเพื่อแก้กระหายเท่านั้น
  • รักษาโดยการใช้ยา เป็นทางเลือกสุดท้ายที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากกระบวนการเผาผลาญของผู้สูงอายุ ทำงานได้ไม่เหมือนวัยอื่น ทำให้ฤทธิ์ของยาตกค้างอยู่ในร่างกายนานกว่าปกติ และอาจส่งผลกระทบต่อเรื่องอื่น ๆ ดังนั้น การใช้ยานอนหลับในผู้สูงอายุ ครอบครัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา ไม่ควรซื้อยานอนหลับมาให้ผู้สูงอายุทานเอง

สรุป

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ เป็นปัญหาหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการนอนหลับเป็นเวลาที่ร่างกายจะได้พักผ่อนและฟื้นฟูซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ซึ่งหากผู้สูงอายุไม่ได้นอนหลับพักผ่อนหรือพักผ่อนไม่เพียงพอแล้วล่ะก็ จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น ความคิดความอ่านช้าลง อ่อนเพลีย ความจำไม่ดี ดังนั้น ต้องหันมาดูแลผู้สูงอายุ ให้สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอนะคะ

 

 

BED & MATTRESS PRODUCT

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup