การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ในผู้สูงอายุ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย

         สำหรับใครที่มีผู้สูงอายุในครอบครัว เคยสงสัยไหมคะว่า ถ้าเราไม่ได้คอยอยู่ดูแลใกล้ ๆ อย่างเวลาที่ออกไปจ่ายตลาดคนเดียว หรือต้องอยู่บ้านคนเดียว ผู้สูงอายุจะสามารถดูแลตนเองได้ดีหรือไม่? หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือเปล่า? บทความนี้จึงมี การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ของผู้สูงอายุ เพื่อประเมินความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ รวมทั้งมีแนวทางในการฟื้นฟูปัญหาสุขภาพเหล่านั้นมาฝากด้วยค่ะ

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย

สารบัญ

(อ้างอิงข้อมูลจาก : คู่มือปฏิบัติการการตรวจสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ)

ก่อนเริ่ม การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ควรระวังอะไรบ้าง?

         ถึงแม้ว่า การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ในผู้สูงอายุ จะไม่ได้มีความอันตรายใด ๆ แต่ด้วยปัญหาทางด้านสุขภาพในผู้สูงอายุบางอย่าง อาจทำให้เกิดผลกระทบหรือผลเสียตามมาได้ จึงทำให้ต้องมีการคัดกรองผู้สูงอายุที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้งดการทดสอบสมรรถภาพนะคะ

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย

  • มีโรคประจำตัวบางอย่าง ที่แพทย์แนะนำไม่ให้ออกกำลังกาย
  • มีภาวะหัวใจล้มเหลว
  • ก่อนทดสอบมีอาการปวดข้อต่อ เจ็บหน้าอก มึนงง หน้ามืด แน่นหน้าอก
  • มีความดันโลหิตสูงกว่า 160/100 มิลลิเมตรปรอท

         เตรียมตัวผู้สูงอายุก่อนวันที่จะเริ่มทำการทดสอบ

  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก 1 – 2 วันก่อนทำการทดสอบ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารมื้อเบา ๆ
  • สวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสม สามารถขยับร่างกายได้ง่าย ไม่อึดอัด

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย

         หากระหว่างการทดสอบ ผู้สูงอายุมีอาการดังต่อไปนี้ ให้หยุดทำการทดสอบทันที

  • อ่อนล้าผิดปกติ หน้ามืด ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
  • หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หายใจสั้นถี่หรือหอบเหนื่อย
  • อาการเจ็บปวดทุกประเภท เช่น เจ็บหน้าอก เจ็บข้อต่อ
  • สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ หรือการทรงตัว
  • สับสนเรื่องเวลาและสถานที่
  • เห็นภาพซ้อนหรือมองเห็นภาพไม่ชัด

การทดสอบสมรรถภาพ ผู้สูงอายุ 6 อย่าง มีอะไรบ้างมาดูกัน!

         ก่อนที่จะเริ่มทำการทดสอบ ให้ผู้สูงอายุอบอุ่นร่างกายประมาณ 5 – 8 นาทีก่อนนะคะ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ด้วยการยืดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อแขน เช่น การย่ำอยู่กับที่ แกว่งแขน ก้าวขาไปด้านข้าง เหยียดขา ซึ่งในระหว่างการอบอุ่นร่างกาย อาจจะเปิดเพลงไปด้วย เพื่อให้ผู้สูงอายุตื่นตัว ลดอาการเกร็ง และเพิ่มความสนุกสนานได้ด้วยค่ะ (อ้างอิงข้อมูลจาก : คู่มือปฏิบัติการการตรวจสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ)

1.ทดสอบการลุกจากเก้าอี้ (วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา)

ทดสอบสมรรถภาพทางกาย

วิธีทดสอบ : ให้ผู้สูงอายุนั่งหลังตรงบนเก้าอี้ เท้าทั้งสองข้างวางราบ แขนวางไขว้กันที่หน้าอก แล้วให้ผู้สูงอายุลุกขึ้นยืนตรง และกลับมานั่งเก้าอี้ตามเดิม จากนั้นเริ่มจับเวลา โดยให้ยืนและนั่งซ้ำเช่นนี้ ภายในเวลา 30 วินาที

ประเมินผล : ถ้าผู้สูงอายุยืนและนั่ง ได้น้อยกว่า 8 ครั้ง แสดงว่าผู้สูงอายุ มีกล้ามเนื้อขาที่ไม่แข็งแรง มีความเสี่ยงที่จะหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ ระหว่างเดิน ขึ้น-ลงบันไดหรือรถ การลุกจากที่นั่ง หรือเตียงนอนได้

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

2.ทดสอบการงอข้อศอก (วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและลำตัวส่วนบน)

แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย

วิธีทดสอบ : ให้ผู้สูงอายุนั่งตรง หลังพิงกับเก้าอี้ (ใช้เก้าอี้ที่มีพนักพิงหลัง) เท้าทั้งสองข้างวางราบ ใช้แขนข้างที่ถนัดถือดัมเบล โดยผู้หญิงให้ใช้น้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม และผู้ชายให้ใช้น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม แล้วปล่อยแขนลงข้างลำตัว จากนั้นทำการงอศอกในลักษณะหงายมือขึ้น จนสุดช่วงการงอและเหยียดกลับสู่ท่าเริ่มต้น โดยให้ทำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายใน 30 วินาที

การประเมินผล : ถ้าผู้สูงอายุทำได้น้อยกว่า 11 ครั้ง ถือว่ากล้ามเนื้อแขนไม่แข็งแรง อาจเกิดการบาดเจ็บ หรือไม่มีแรงมากพอ ในการทำงานบ้าน การยกหรือหิ้วสิ่งของหนัก ๆ รวมทั้งการอุ้มหลาน

3.ทดสอบการยกขาสูง 2 นาที (วัดความทนทานของหัวใจและการหายใจ)

ทดสอบสมรรถภาพ

วิธีทดสอบ : ก่อนอื่นจะต้องหาความสูงในการยกเข่าสำหรับผู้สูงอายุแต่ละคน โดยจะอยู่ที่จุดกึ่งกลางระหว่างเข่า และขอบบนของกระดูกสะโพก แล้วใช้เทปติดผนังเพื่อเป็นเครื่องหมายไว้ จากนั้นเริ่มทดสอบ โดยให้ผู้สูงอายุยกขาอยู่กับที่ ทั้งสองข้างสลับกัน ให้สูงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภายในเวลา 2 นาที แต่การนับจำนวนครั้ง ให้นับเฉพาะครั้งที่ขาขวายกถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ (ที่ติดเทปไว้ในขั้นตอนแรก) ถ้าผู้สูงอายุยกเข่าไม่ถึงเป้าหมาย ให้ยกขาช้าลง หรือหยุดจนกว่าจะทำให้ได้ถึงเป้าหมายได้ (ไม่ต้องหยุดเวลา) แต่ต้องทำให้ได้ภายใน 2 นาทีที่ทำการทดสอบ

การประเมินผล : หากในเวลา 2 นาที ผู้สูงอายุทำได้น้อยกว่า 65 ครั้ง ถือว่ามีความทนทานของระบบหัวใจและการหายใจต่ำ ผู้สูงอายุท่านนั้นอาจไม่สามารถเดินทางระยะไกล ควรระมัดระวังในเรื่องของการไปจับจ่ายซื้อของในตลาด การไปเที่ยวที่ต้องเดินเยอะ ๆ เป็นต้น

4.ทดสอบการนั่งเก้าอี้เอื้อมแตะ (วัดความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขา)

แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย

วิธีทดสอบ : ให้ผู้สูงอายุนั่งที่บริเวณขอบเก้าอี้ (ขาและก้นอยู่ด้านหน้าของขอบที่นั่ง) ให้ขาด้านหนึ่งงอ โดยเท้าวางราบกับพื้น ส่วนอีกข้างหนึ่งเหยียดไปข้างหน้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยให้ส้นเท้าวางที่พื้น ข้อเท้ากระดกขึ้น 90 องศา จากนั้นเอื้อมมือไปแตะที่ปลายเท้า โดยใช้นิ้วกลางยื่นไปแตะปลายเท้าให้ได้ (เข่าต้องเหยียดตรง) จากนั้นค้างการเอื้อมมือแตะไว้ 2 วินาที

การประเมินผล : ถ้าเอื้อมแตะแล้วเหลือระยะห่างระหว่างปลายนิ้วกลางและปลายเท้า โดยที่ผู้ชายเหลือมากกว่า 4 นิ้ว และผู้หญิงเหลือมากกว่า 2 นิ้ว ถือว่าความยืดหยุ่นต่ำ อาจมีปัญหาในเรื่องของการทรงตัว การเดิน และเสี่ยงต่อการหกล้มในขณะก้าวขึ้น-ลงรถ

5.ทดสอบการเอื้อมมือทั้งสองข้างแตะกันด้านหลัง (วัดความยืดหยุ่นของลำตัวส่วนบนและแขน)

การทดสอบสมรรถภาพ

วิธีการทดสอบ : ให้ผู้สูงอายุยืนและวางมือข้างใดข้างหนึ่งอยู่ด้านบน คว่ำมือลงแตะด้านหลัง ข้อศอกชี้ขึ้นบน โดยที่เอื้อมไปกลางหลังให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากนั้นให้วางมืออีกข้างหนึ่งอ้อมมาทางด้านหลัง โดยหงายฝ่ามือขึ้น เอื้อมมือมาแตะมืออีกข้างที่รออยู่ด้านบนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การประเมินผล : ถ้าผู้ชายเหลือระยะห่างระหว่างมือทั้งสองข้างมากกว่า 4 นิ้ว และผู้หญิงมากกว่า 2 นิ้ว ถือว่าความยืดหยุ่นต่ำ ผู้สูงอายุท่านนั้นอาจมีปัญหาในการหยิบจับสิ่งของที่อยู่เหนือศีรษะ รวมทั้งการใส่เสื้อ การเอื้อมหยิบของ หรือคาดเข็มขัดนิรภัยในรถ

6.ทดสอบการลุกขึ้นจากเก้าอี้ (วัดความคล่องแคล่วและการทรงตัวเมื่อเคลื่อนไหว)

การทดสอบสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุ

วิธีทดสอบ : ให้วางเก้าอี้พิงผนังห้องไว้ จากนั้นให้วางกรวยหรือวัตถุอะไรก็ได้ เพื่อเป็นเป้าหมายให้ผู้สูงอายุเดินอ้อม โดยตั้งห่างจากเก้าอี้ประมาณ 2 เมตร จากนั้นให้ผู้สูงอายุนั่งที่เก้าอี้ โดยนั่งให้หลังตรง เท้าวางราบกับพื้นห้อง มือวางที่ต้นขา หากพร้อมแล้ว ให้ผู้ทำการทดสอบ ออกคำสั่ง “เริ่ม” เมื่อผู้สูงอายุลุกขึ้นให้เริ่มจับเวลา ให้ผู้สูงอายุเดินด้วยความเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อเดินอ้อมกรวยกลับมานั่งเก้าอี้แล้ว ให้หยุดการจับเวลา

การประเมินผล : ถ้าผู้สูงอายุใช้เวลามากกว่า 9 วินาที ถือว่าเป็นผู้ที่มีความคล่องแคล่วน้อย มีความเสี่ยงในเรื่องของการทรงตัวไม่ดีและเสี่ยงต่อการล้ม ซึ่งกิจกรรมที่ต้องทำในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ก็ต้องใช้ความเร็วในการเคลื่อนไหวอยู่บ้าง เช่น การขึ้นลงรถประจำทาง การทำงานในครัว การเข้าห้องน้ำ

อ่านบทความ : การหกล้มในผู้สูงอายุ อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ต้องระวังไว้เพื่อคนที่คุณรัก

หากผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายที่ไม่ดี สามารถฟื้นฟูได้อย่างไรบ้าง?

         หากพบว่าผู้สูงอายุในครอบครัวมีสมรรถภาพทางกายที่ไม่ดี ผู้ดูแลควรรีบหาทางฟื้นฟูโดยเร็วนะคะ เพราะหากปล่อยไว้ผู้สูงอายุจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ จนอาจนำสู่ภาวะที่ต้องพึ่งพิงผู้ดูแล หรือแย่ไปกว่านั้น อาจอันตรายถึงขั้นชีวิตเลยค่ะ ดังนั้น การฟื้นฟูสภาพภาพผู้สูงอายุ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ๆ คือ การออกกำลังกายเพื่อการรักษา และการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ

1.การออกกำลังกายเพื่อการรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุด้วยวิธีนี้ จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทำให้หัวใจและการไหลเวียนเลือดทำงานดีขึ้น และลดการเกิดปัญหาปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ภาวะข้อยึดติด ช่วยให้ผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น สามารถกลับมาทำกิจกรรมบางอย่างด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งผู้ดูแลได้ แต่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคบางอย่างจะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ เช่น โรคความดันสูง โรคกระดูกพรุน อีกทั้งยังเสี่ยงเกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ กระดูก และผิวหนัง หากปฏิบัติไม่ถูกวิธี

2.การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เป็นอุปกรณ์ที่จะมาช่วยให้ผู้สูงอายุ สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ด้วยตนเองได้มากขึ้น ลดการพึ่งพาผู้ดูแลให้น้อยลง และช่วยป้องกันในเรื่องของอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ เช่น

  • รองเท้าเพื่อสุขภาพ : จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถก้าวเดินได้อย่างมั่นคง ลดความเสี่ยงในการหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุในขณะเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ยังช่วยดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องเท้า เช่น กระดูกแม่เท้าโปน ปวดหัวเข่า แผลเบาหวาน เป็นต้น

รองเท้าเพื่อสุขภาพ

รองเท้าเพื่อสุขภาพ KAIHOSHUGI ออกแบบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อและกระดูก ลดความเสี่ยงในการสะดุดหกล้ม ใส่สบาย นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น

  • รถเข็นช่วยเดิน : ช่วยเสริมความมั่นคงในการยืนและเดินของผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมั่นใจ ป้องกันภาวะหกล้มและช่วยแบ่งเบาแรงกระทำต่อข้อกระดูกและกล้ามเนื้อขา นอกจากนี้ยังช่วยในการฝึกเดินหรือฝึกยืนได้อีกด้วย

รถเข็นช่วยเดิน

รถเข็นช่วยเดิน Rollator รุ่น Let’s Shop ดีไซน์สวย ใช้สำหรับช่วยเดิน และใช้เป็นเก้าอี้รองนั่ง มาพร้อมกระเป๋าใส่ของ สามารถพับเก็บขึ้นรถยนต์ได้

  • รถเข็นวีลแชร์ : สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถยืนหรือเดินได้อย่างมั่นคง และไม่สามารถเดินทางในระยะไกล ๆ ได้ รถเข็นผู้ป่วยจะช่วยลดปัญหาเหล่านั้น ซึ่งผู้สูงอายุที่มีกล้ามเนื้อแขนแข็งแรง แล้วอยากดูแลตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ดูแล อาจเลือกเป็นวีลแชร์แบบล้อใหญ่ ซึ่งสามารถเข็นหรือเคลื่อนที่ด้วยตนเองได้ หรือหากผู้สูงอายุมีกำลังแขนไม่มากพอ จะเหมาะกับวีลแชร์แบบล้อเล็ก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถเข็นได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องออกแรงเยอะ

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

รถเข็นวีลแชร์ แบบล้อเล็ก รุ่น GK863LABJ-12 (ซ้าย) และแบบล้อใหญ่ รุ่น GK863LAJ-20 (ขวา) น้ำหนักเบา พับเก็บใส่ท้ายรถได้

  • เก้าอี้ขับถ่ายและอาบน้ำ : ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินได้อย่างมั่นคง และมีกำลังแขนไม่มากพอ จะเสี่ยงต่อการลื่นล้มในห้องน้ำเป็นอย่างมาก เก้าอี้ขับถ่ายและอาบน้ำ จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรในห้องน้ำได้อย่างปลอดภัย และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุน้อยลง

หกล้มในผู้สูงอายุ การดูแล

รถเข็นนั่งถ่าย และอาบน้ำ รุ่น MOEM ถอดฝาปิดและถังรองรับของเสียได้ อำนวยความสะดวกในการทำความสะอาด และใช้งานกับสุขภัณฑ์ได้

สรุป

         การทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ จะช่วยให้ผู้ดูแลหรือครอบครัว สามารถประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันด้วยตนเองได้ ซึ่งหากทดสอบแล้วพบว่า ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการใช้ชีวิตหรือมีโอกาสที่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลสูง ควรให้ผู้สูงอายุฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ไม่ว่าจะด้วยการรักษาด้วยการออกกำลังกายหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เพื่อให้ป้องกันไม่ให้อุบัติเหตุต่าง ๆ เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้

BED & MATTRESS PRODUCT

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup