เมื่อประสบภาวะติดเตียง ทำให้ผู้ป่วยต้องกิน นอน และใช้ชีวิตอยู่บนเตียงเป็นส่วนใหญ่ หรือในบางคนต้องอยู่ติดเตียงตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งหนึ่งในกิจวัตรที่ผู้ป่วยทุกคนต้องมีคือเรื่องของการ “ขับถ่าย” ซึ่งด้วยข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย การพาผู้ป่วยไปเข้าห้องน้ำถือเป็นเรื่องยาก จึงทำให้ผู้ดูแลหลายคนตัดสินใจใช้ เตียงผู้ป่วยมีช่องขับถ่าย เพื่อความสะดวก แต่แท้จริงแล้ว เตียงผู้ป่วยมีช่องขับถ่าย ดีกับผู้ป่วยจริงไหม? มาหาคำตอบกันค่ะ
สารบัญ
- เตียงผู้ป่วยมีช่องขับถ่าย ดีจริงไหม?
- พาผู้ป่วยเข้าห้องน้ำ ทดแทนการใช้เตียงผู้ป่วยมีช่องขับถ่าย
- การดูแลเรื่องการขับถ่ายของผู้ป่วยติดเตียง
เตียงผู้ป่วยมีช่องขับถ่าย ดีจริงไหม?
เตียงคนไข้ หรือเตียงพยาบาลในปัจจุบัน ได้ถูกออกแบบมาหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ต่อการใช้งานของผู้ป่วย รวมทั้งเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า มีหลายยี่ห้อที่เป็นเตียงผู้ป่วยมีช่องขับถ่าย หรือเราเรียกกันสั้นๆ ว่า เตียงขับถ่าย จะมีลักษณะเหมือนเตียงคนป่วยทั่วไป แต่จะมีหลุมหรือช่องบริเวณก้นของผู้ป่วย ซึ่งมีไว้สำหรับขับถ่าย โดยมีถังเก็บมารองรับ เพิ่มความสะดวกให้ผู้ดูแล แต่แท้จริงแล้ว เตียงผู้ป่วยมีช่องขับถ่าย ดีกับตัวผู้ป่วยจริงไหม มาพิจารณากันค่ะ
ข้อดี
- ไม่ต้องย้ายผู้ป่วยขึ้น-ลงเตียง สามารถทำทุกกิจกรรมบนเตียงได้เลย เหมาะกับผู้ป่วยติดเตียง 100% อาการรุนแรง พูดคุยสื่อสารไม่ได้แล้ว
- ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์แยกเพิ่มเติม
ข้อเสีย
- หากเลือกใช้เตียงขับถ่าย จะไม่สามารถใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับได้ บางรุ่นตัวที่นอนที่มากับเตียงอาจมีคุณสมบัติในการป้องกันแผลกดทับ แต่จะป้องกันได้แค่ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ หรือเสี่ยงแผลกดทับ
- ตัวที่นอนมักแยกออกเป็นชิ้น ๆ ซึ่งร่องระหว่างแต่ละชิ้น อาจทำให้ผู้ป่วยนอนไม่สบาย
- เตียงผู้ป่วยที่มีช่องขับถ่าย หลายรุ่นจะมีท่าทางการปรับนั่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้ท่าทางในการขับถ่ายอาจไม่ถูกสุขลักษณะ อุจจาระไม่สะดวกและเสี่ยงต่อการตกค้างในลำไส้
- ปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ที่หลีกเลี่ยงยาก
- สุขอนามัยไม่ดี อาจเสี่ยงต่อเชื้อโรค โดยเฉพาะการไม่ทำความสะอาดทันทีหลังมีการขับถ่าย
- เตียงผู้ป่วยที่ขับถ่ายได้ หลาย ๆ รุ่นมักมีฟังก์ชันที่ไม่ครบครัน เท่าเตียงผู้ป่วยทั่วไป
- การขับถ่ายบนเตียงอาจสร้างความรู้สึกเขินอาย หรือสร้างความรู้สึกซึมเศร้า หดหู่ รู้สึกว่าตัวเองป่วย หรือผิดปกติ
พาผู้ป่วยเข้าห้องน้ำ ทดแทนการใช้เตียงผู้ป่วยมีช่องขับถ่าย
เมื่อพิจารณาจะเห็นได้ว่า เตียงผู้ป่วยมีช่องขับถ่าย มีข้อเสียหลาย ๆ อย่างที่ไม่ได้เหมาะสมกับผู้ป่วยติดเตียงทุกระดับเสมอไป แต่ต้องพิจารณาไปถึงความจำเป็นและเหมาะสมกับผู้ป่วย หากผู้ป่วยติดเตียง อยู่ในระดับที่ไม่ได้รุนแรงมาก ยังพอขยับอวัยวะร่างกายได้ หรืออาจได้บางส่วน ยังพอพึ่งพาตัวเองได้บ้างในบางกิจกรรม (ไม่ได้รุนแรงจนถึงขั้นต้องนอนตลอดเวลา พลิกตัวเองไม่ได้) เช่นนี้แนะนำว่าจะเหมาะสมกับการใช้ เตียงผู้ป่วยทั่วไป แล้วพาผู้ป่วยไปเข้าห้องน้ำ หรือใช้อุปกรณ์อย่างรถเข็นนั่งถ่ายช่วย จะดีกว่าค่ะ
ข้อดี
- การนั่งขับถ่ายบนชักโครก หรือบนรถเข็นนั่งถ่าย จะทำให้การขับถ่ายสะดวก เพราะท่านั่งถูกสุขลักษณะ ไม่เสี่ยงต่อการมีอุจจาระตกค้างในลำไส้
- แยกพื้นที่ระหว่างเตียงนอนกับห้องน้ำชัดเจน ไม่ว่าจะหลับพักผ่อน หรือขับถ่ายก็ทำได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องรู้สึกเหมือนนอนในห้องน้ำ
- การได้ขึ้น-ลงเตียงเวลาไปเข้าห้องน้ำ ช่วยลดภาวะการนอนติดเตียงของผู้ป่วย ลดปัญหาแผลกดทับ และเหมือนเป็นการฝึกการกายภาพไปในตัว
- ไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเขินอาย หดหู่ หรือซึมเศร้า
- ไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นมารบกวน
- ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคในสิ่งปฏิกูล
- ผู้ดูแลทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เลอะเทอะ และสะดวกกว่า
ข้อเสีย
- ผู้ดูแลต้องพยุงหรือยกผู้ป่วยขึ้น-ลงจากเตียง ถ้าผู้ป่วยพอเคลื่อนไหวหรือช่วยเหลือตัวเองได้จะช่วยผ่อนแรงได้มาก จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ติดเตียงรุนแรง
การดูแลเรื่องการขับถ่ายของผู้ป่วยติดเตียง
นอกจาก การเลือกเตียงผู้ป่วยให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานแล้ว สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือการดูแลเรื่องการขับถ่ายของผู้ป่วยติดเตียงให้เป็นปกติ และคำนึงถึงความสะอาดอยู่เสมอ ทั้งผู้ป่วยที่เลือกขับถ่ายบนเตียง ด้วยเตียงที่มีช่องขับถ่าย หรือผู้ป่วยที่เลือกใช้เตียงผู้ป่วยทั่วไป แล้วเลือกขับถ่ายในห้องน้ำ หรือใช้รถเข็นนั่งถ่ายค่ะ
- พยายามให้ผู้ป่วยติดเตียงถ่ายอุจจาระทุกวัน เพื่อฝึกการขับถ่าย และลดความเสี่ยงอุจจาระอุดตัน เต็มท้อง หรือท้องผูก
- หากผู้ป่วยมีปัญหาท้องผูก หรือท้องเสีย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษา เพราะผู้ป่วยจะมีอาการไม่สบายตัว ไม่อยากอาหาร และอาเจียนได้
- หมั่นสังเกตสี จำนวน และลักษณะของสิ่งขับถ่ายเป็นประจำ เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติ
- ให้ผู้ป่วยติดเตียงได้รับอาหารที่มีกากใยสม่ำเสมอ เช่นผัก ผลไม้ และดูแลให้กินน้ำดื่มสะอาด อย่างน้อย 2-2.5 ลิตร (ยกเว้นบางรายที่แพทย์จำกัดปริมาณน้ำ)
- กรณีผู้ป่วยติดเตียงต้องถ่ายบนเตียง ผู้ดูแลต้องล้างมือทั้งก่อนและหลังดูแลผู้ป่วย หลังเสร็จการขับถ่ายต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อย ด้วยน้ำและสบู่ (ใส่ถุงมือยาง) และซับ
- หากต้องมีการทำความสะอาดบนเตียง แนะนำให้ใช้แผ่นรองกันเปื้อน เพื่อป้องกันการเกิดความอับชื้น และลดการสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรีย
สรุป
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเตียงผู้ป่วยธรรมดา หรือเตียงผู้ป่วยมีช่องขับถ่าย ล้วนแล้วแต่ความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละประเภท ซึ่งหากเป็นผู้ป่วยที่ร่างกายยังพอเคลื่อนไหวได้ พลิกตัวเองได้ สื่อสารรู้เรื่อง ก็แนะนำให้เลือกขับถ่ายในห้องน้ำ ด้วยซื้ออุปกรณ์มาช่วยจะดีกว่า เพราะจะช่วยลดเรื่องกลิ่นและสุขอนามัย แยกที่นอนกับห้องน้ำออกจากกัน และถือว่าเป็นการฝึกกายภาพผู้ป่วยไปด้วยในตัว แต่หากผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยติดเตียง 100% ขยับและสื่อสารไม่ได้เลย ก็สามารถเลือกใช้เตียงผู้ป่วยที่มีช่องขับถ่ายได้ค่ะ