อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ของใช้จำเป็นสำหรับผู้ป่วย กลับบ้านทั้งทีต้องมีอะไรบ้าง?

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

         สำหรับผู้ป่วยบางราย เมื่อมีอาการดีขึ้นเเล้ว แพทย์อาจจะอนุญาติให้กลับมารักษาที่บ้าน ซึ่งนอกจากจำเป็นจะต้องมีผู้ดูแลแล้ว อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน หรือของใช้จำเป็นที่ผู้ป่วยควรมีก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะนอกจากจะช่วยในการรักษาแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของผู้ป่วย และแบ่งเบาภาระให้กับผู้ดูแลอีกด้วย

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

         แต่ผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้านแต่ละคน ก็มีลักษณะอาการป่วยและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่ต้องใช้ก็แตกต่างเช่นกัน แล้วผู้ป่วยที่บ้านของคุณ เหมาะกับอุปกรณ์แบบไหน? จำเป็นต้องใช้อะไรบ้าง? อ่านบทความนี้เลยค่ะ

สารบัญ

ก่อนออกจากโรงพยาบาลมาพักฟื้นที่บ้าน ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

         หลายคนอาจเข้าใจว่า การพาผู้ป่วยกลับมารักษาตัวที่บ้าน จะสามารถทำได้เลยทันที แต่จริง ๆ แล้ว ผู้ดูแลจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการรักษา และการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เพราะเนื่องจากอาการป่วยที่เป็นอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้เสรีเหมือนกับคนทั่วไป ดังนั้น ก่อนที่ผู้ป่วยจะออกจากโรงพยาบาลมารักษาตัวที่บ้าน ผู้ดูแลควรพิจารณาและเตรียมตัว ดังนี้ค่ะ

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

  1. ปรึกษาแพทย์ถึงอาการของผู้ป่วย ว่าควรมีแนวทางในการดูแลประคับประคองอาการอย่างไรบ้าง และควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
  2. วางแผนถึงการดูแลผู้ป่วยล่วงหน้า เช่น กลับบ้านไปมีผู้ดูแลหรือไม่? ต้องจ้างคนดูแลหรือเปล่า? ต้องกายภาพบำบัดไหม?
  3. พิจารณาและจัดเตรียม อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ว่าควรมีอะไรบ้าง? หาซื้อที่ไหน? ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
  4. ประเมินสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน และจัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้ป่วย

การแบ่งประเภทผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้าน 

         แม้ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้กลับมารักษาตัวที่บ้านจากแพทย์เหมือนกัน แต่ไม่ได้แปลว่ามีอาการเหมือนกันทุกคนนะคะ สาเหตุที่แพทย์ให้กลับก็แตกต่างกันออกไป เช่น อาการคงที่ อาการอาจไม่ดีขึ้นแล้ว หรืออาการรุนแรงจนไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว บทความนี้จะแบ่งประเภทของผู้ป่วย ตามลักษณะอาการและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วย ออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

ระดับที่ 1 สีเขียว : ผู้ป่วยระดับนี้ สามารถรู้สึกตัวได้ดี หรืออาจมีการตอบสนองช้าบ้างเป็นบางครั้ง โดยส่วนใหญ่สามารถดูแลตนเองได้ ต้องการความช่วยเหลือบ้างในบางกิจกรรม เช่น สามารถอาบน้ำได้เอง แต่อาจต้องการให้เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้ หรือในบางรายอาจ ต้องการให้ทำความสะอาดในส่วนที่ไม่ถนัดให้ ผู้ดูแลต้องคอยช่วยเหลือในเรื่องของการกินยาให้ครบถ้วน และคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยบ้าง ซึ่งผู้ป่วยในระดับนี้ จะเข้าใจและยอมรับถึงอาการเจ็บป่วยของตน และให้ความร่วมมือในการรักษา

ระดับที่ 2 สีเหลือง : เป็นผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือระดับปานกลาง รู้สึกตัว แต่มีอาการซึม มึนงง ตอบคำถามถูกบ้างผิดบ้าง เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อย ผู้ดูแลต้องคอยป้อนอาหารให้ สามารถขับถ่ายเองบนเตียงได้ แต่ต้องทำความสะอาดให้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นได้บ่อย เช่น หอบ เหนื่อย ผู้ดูแลต้องคอยดูแลเรื่องของยา โดยเฉพาะยาที่ผู้ป่วยไม่สามารถกินได้เอง เช่น ยาพ่น และต้องคอยสังเกตอาการหลังได้รับยาด้วย

ระดับที่ 3 สีส้ม : ในระดับนี้ ผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือทั้งหมด เนื่องจากเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยมาก แต่สามารถพลิกตัวเองได้ ขับถ่ายได้เองโดยไม่ต้องสวน ผู้ดูแลต้องระมัดระวังในเรื่องของการสำลักขณะป้อนอาหาร รู้สึกตัว ลืมตาได้เอง แต่ตอบคำถามหรือทำตามคำสั่งไม่ได้ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าไม่ถูก มักมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่ยังสามารถควบคุมอาการได้ จึงต้องคอยสังเกตอาการทุก 2 – 4 ชั่วโมง ผู้ป่วยในระดับนี้ มักจะเกิดความกังวล ซึมเศร้า มีแนวโน้มทำร้ายตนเอง และคนรอบข้าง มักต่อต้านการรักษา จำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

ระดับที่ 4 สีแดง : ผู้ป่วยในระดับนี้ ต้องการความช่วยเหลือโดยสมบูรณ์ ไม่รู้สึกตัวและไม่ตอบสนอง ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เลย ต้องให้อาหารทางสาย ขับถ่ายเองไม่ได้ ต้องสวนหรือใช้ยาระบายทุกครั้ง มักเกิดอาการผิดปกติเกือบตลอดเวลา เช่น หยุดหายใจ ผู้ดูแลจึงต้องเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอาการทั้งก่อนและหลังให้ยารักษา

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ของใช้จำเป็นสำหรับผู้ป่วย ควรมีอะไรบ้าง?

         ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์ดูแลผู้ป่วย เราควรพิจารณาก่อนนะคะ ว่าผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีแค่ไหน จัดอยู่ในระดับใด เพื่อที่จะได้เลือกซื้ออุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม และตอบโจทย์ต่อการใช้งานมากที่สุด จากนั้นก็มาพิจารณาถึงแต่ละบริเวณที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้งานค่ะ

         1.ห้องนอน เป็นบริเวณที่ผู้ป่วยใช้งานมากที่สุด ผู้ป่วยบางประเภทใช้ห้องนอนเป็นทั้งที่พักผ่อน กินข้าว ขับถ่าย อาบน้ำ เพราะฉะนั้นห้องนอน จึงถือเป็นบริเวณหนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้ป่วย

    • เตียงนอน

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่น Libra สามารถปรับท่าทางได้ 4 ฟังก์ชัน ปรับสูงต่ำได้ 25 – 80 เซนติเมตร ควบคุมการใช้งานด้วยรีโมท รองรับน้ำหนักได้สูงสุด 225 กิโลกรัม มีราวกั้นข้างเตียง

         เป็นอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่ควรให้ความสำคัญที่สุด เพราะผู้ป่วยมักใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนเตียงนอน ควรเลือกเตียงนอนที่มีความกว้างไม่เกิน 3 – 3.5 ฟุต มีราวข้างเตียง เพื่อกันผู้ป่วยพลัดตก และสามารถปรับระดับหรือท่าทางได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น กินข้าว อาบน้ำ นอนหลับ มีทั้งแบบมือหมุน และแบบไฟฟ้า
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยทุกระดับ

    • ที่นอนป้องกันแผลกดทับ

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

ที่นอนโฟมลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ รุ่น MERCURY ช่วยกระจายน้ำหนักได้ดี รองรับสรีระ ระบายความอับชื้น

         ปัญหาใหญ่สำหรับผู้ป่วยที่ขยับร่างกายไม่ได้มากนักหรือขยับไม่ได้เลย คือปัญหาเรื่องแผลกดทับ เป็นอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ง่าย และมีความรุนแรงมาก การใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาเหล่านี้ได้
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยทุกระดับ

    • ผ้ารองกันเปื้อน / ผ้าขวางเตียง

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

ผ้ารองกันเปื้อน ชนิดกันน้ำ ALLWELL ช่วยกันรอยเปื้อนจากคราบต่าง ๆ ป้องกันการซึมผ่านของเหลวลงบนที่นอน ลดสาเหตุการเกิดแผลกดทับ หรืออักเสบของผิวหนัง

         ปัญหาผู้ป่วยปัสสาวะหรืออุจจาระรดที่นอน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อย การใช้ผ้ารองกันเปื้อนกับผู้ป่วยจะช่วยป้องกันของเหลวเหล่านั้น ไม่ให้ซึมเข้าสู่ที่นอน ช่วยลดการเกิดแผลกดทับจากความอับชื้นได้
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยทุกระดับ

    • โต๊ะคร่อมเตียง

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

โต๊ะคร่อมเตียง รุ่น ENT-1302A (ซ้าย) และรุ่น ENT-1002C (ขวา) สามารถปรับเอียงพับเก็บได้ 90 องศา โครงสร้างแข็งแรงกันสนิม ฐานของโต๊ะคร่อมเตียงเป็นรูปตัว A / C สามารถใช้งานกับเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ ได้ เท้าผู้ป่วยไม่ชนฐาน

         สำหรับผู้ป่วยที่ต้องทำกิจกรรมส่วนใหญ่บนเตียง โต๊ะคร่อมเตียง จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยบนเตียง เช่น เวลาทานอาหาร อ่านหนังสือ และช่วยให้ผู้ดูแลใช้วางสิ่งของต่าง ๆ ขณะดูแลผู้ป่วย สะดวกต่อการหยิบใช้งาน
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยทุกระดับ

    • ผ้ายกตัวผู้ป่วย

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

ภาพจาก : เพจฉลาดคิด by Siriraj

         สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายลงจากเตียงได้เอง ผู้ดูแลจึงต้องเข้ามาช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย แต่การจับตัวผู้ป่วยแล้วเคลื่อนย้าย อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยได้ จึงจำเป็นต้องใช้ผ้ายกตัวผู้ป่วย สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยลงจากเตียงไปยังอีกบริเวณหนึ่ง เช่น จากเตียงไปยังวีลแชร์
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีแดง สีส้ม สีเหลือง

    • อ่างสระผมบนเตียง

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

         การที่ป่วยไม่สามารถลุกไปอาบน้ำในห้องน้ำได้ ทำให้ต้องทำความสะอาดร่างกายบนเตียงนอน ซึ่งการสระผมเป็นวิธีการทำความสะอาดร่างกายที่ลำบาก เนื่องจากต้องคอยระวังน้ำหกหรือเปียกเลอะที่นอน หากมีอ่างสระผมจะช่วยให้การสระผมบนเตียงของผู้ป่วยง่ายขึ้น สะดวกสบายกับผู้ดูแล
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีแดง สีส้ม สีเหลือง

    • กระเป๋าน้ำร้อน

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

         ผู้ป่วยหลายคนมักมีอาการปวดบริเวณกระดูกและข้อ อาจจะมาจากการกายภาพบำบัด การใช้กระเป๋าน้ำร้อนในการประคบบริเวณที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านั้นลงได้
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีส้ม สีเหลือง สีเขียว

    • ถุงมือกันผู้ป่วยดึงสาย

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

         สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการดิ้น ชอบแกะเกาบริเวณที่มีแผล มักดึงสายน้ำเกลือออกบ่อย ๆ มีภาวะเกร็งข้อมือ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีถุงมือกันผู้ป่วยดึงสาย เพื่อลดความเสี่ยงผู้ป่วยบาดเจ็บจากปัญหาเหล่านี้
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีส้ม สีเหลือง สีเขียว (โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องด้านการรับรู้หรือมีอาการอัลไซเมอร์)

    • เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วย

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

         เนื่องจากร่างกายที่ไม่แข็งแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียการทรงตัว จนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ขณะลงจากเตียงไปยังห้องน้ำ เข็มขัดพยุงตัวจะช่วยให้ผู้ดูแลพยุงตัวผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉาะผู้ป่วยที่กำลังฝึกเดิน
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีเขียว

         2.ห้องน้ำ เป็นอีกหนึ่งบริเวณที่ผู้ป่วยบางรายใช้งานบ่อย ทั้งขับถ่ายและทำความสะอาดร่างกาย แต่ห้องน้ำกลับเป็นบริเวณที่ง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุกับผู้ป่วยมากที่สุด ผู้ดูแลจึงจำเป็นจะต้องดูแลเป็นพิเศษ

    • เก้าอี้อาบน้ำ – นั่งถ่าย

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

รถเข็นนั่งถ่าย และอาบน้ำ รุ่น MOEM ถอดฝาปิดและถังรองรับของเสียได้ อำนวยความสะดวกในการทำความสะอาด และใช้งานกับสุขภัณฑ์ได้

         เก้าอี้อาบน้ำและนั่งถ่าย จะช่วยลดอุบัติเหตุในการเข้าห้องน้ำของผู้ป่วย สามารถขับถ่ายและอาบน้ำได้บนเก้าอี้ ป้องกันการลื่นหกล้มได้
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีส้ม สีเหลือง สีเขียว

    • แผ่นยางกันลื่น

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

         เนื่องจากพื้นห้องน้ำที่มีความเปียกและลื่นตลอดเวลา จึงส่งผลให้เกิดความอันตรายกับผู้ป่วย เนื่องจากการทรงตัวไม่ได้ และความไม่แข็งแรงของร่างกาย แผ่นยางกันลื่น จะช่วยลดความเสี่ยงในการลื่นล้มของผู้ป่วยได้ แต่อย่างไรผู้ดูแล ก็จำเป็นที่จะต้องคอยสังเกตและเฝ้าระวังอยู่ตลอด
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีเขียว

         3.อุปกรณ์อื่น ๆ สามารถใช้ได้กับทุกบริเวณ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน หรือเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยบางรายต้องใช้

    • ชุดผู้ป่วย

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

         ควรเป็นชุดที่มีความเบาสบาย ไม่หนาหรือบางจนเกินไป ไม่ควรรัดตัวผู้ป่วย ควรเลือกเสื้อที่มีกระดุมหรือผูกด้านหน้า เพื่อให้ง่ายต่อการถอด-ใส่ เมื่อทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วย
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยทุกระดับ

    • เครื่องวัดความดันโลหิต

ครื่องวัดความดันโลหิต ALLWELL รุ่น HA120 ระบบเสียงพูดภาษาไทย เชื่อมต่อแอปสำหรับบันทึกค่าและดูผลย้อนหลังได้ สะดวกกับผู้ดูแลเมื่อต้องนำผลสุขภาพไปพบแพทย์ผู้รักษา

         แม้จะกลับมารักษาตัวที่บ้าน ผู้ป่วยก็ยังคงต้องตรวจวัดความดันโลหิตทุกวัน เพื่อคอยเฝ้าระวังภาวะผิดปกติ เพราะหากเกิดความผิดปกติใดขึ้นมา จะได้ปรึกษาแพทย์ได้อย่างทันท่วงที
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยทุกระดับ

    • เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด

เครื่องวัดน้ำตาล ยี่ห้อไหนดี

เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด รุ่น G-426GlucoAll-1B ไม่ต้องใส่ code แผ่นไม่ error ง่าย เชื่อมบลูทูธได้ อุปกรณ์การใช้งานครบชุด

         เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน เพื่อคอยตรวจเช็กค่าระดับน้ำตาล แต่ถึงแม้ผู้ป่วยจะไม่ได้ป่วยเป็นเบาหวาน ก็ควรตรวจเช็กเช่นกัน เพราะอาจเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยทุกระดับ

    • เครื่องวัดอุณหภูมิ

เครื่องวัดอุณหภูมิดิจิตอล รุ่น EasyTemp วัดผลเร็ว 9 วินาที หน้าจอเปลี่ยนสีตามอุณหภูมิที่วัดได้ แม่นยำสูง

         อุณหภูมิร่างกายที่ผิดปกติ ก็เป็นสัญญาณเตือนถึงโรคที่อาจจะกำลังเกิดขึ้นกับผู้ป่วย จึงต้องหมั่นตรวจเช็กอุณหภูมิของผู้ป่วยอยู่เสมอ หากมีความผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยทุกระดับ

    • ถุงให้อาหารทางสายยาง

ของใช้จำเป็นสำหรับผู้ป่วย

         สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทานอาหารเองได้ จำเป็นจะต้องมีถุงให้อาหารทางสายยาง ซึ่งแพทย์จะใส่สายยางทางจมูกหรือเจาะใส่สายยางผ่านทางหน้าท้อง ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น ควรปรึกษาและปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีแดง (หรือผู้ป่วยที่แพทย์มีคำสั่งให้ใช้)

    • เครื่องดูดเสมหะ

aspiret

เครื่องดูดเสมหะ รุ่น NEW ASPIRET ตัวเครื่องมีขนาดเล็กกะทัดรัด มีแรงดูดสูงสุด 563 mmHg บรรจุของเหลวขนาด 1,000 ml ดูดเสมหะได้อย่างรวดเร็ว

         เนื่องจากผู้ป่วยบางราย ไม่สามารถไอขับเสมหะออกเองได้ จึงต้องใช้สายยางดูดเสมหะ ผ่านเข้าทางปาก จมูก หรืออุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในหลอดลม เพื่อนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก ในโรงพยาบาลอาจจะมีเครื่องดูดเสมหะชนิดติดฝาผนัง แต่สำหรับผู้ป่วยที่พักฟื้นที่บ้าน จะเป็นเครื่องดูดเสมหะแบบพกพา อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้งานกับผู้ป่วย
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีแดง (หรือผู้ป่วยที่แพทย์มีคำสั่งให้ใช้)

    • เสาน้ำเกลือ

อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย

         ผู้ป่วยบางรายมีความจำเป็นจะต้องให้น้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือด เพื่อทดแทนสารน้ำที่จำเป็นและสารโซเดียมคลอไรด์ เนื่องมาจากผู้ป่วยมีภาวะร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่จากอาการป่วย โดยแพทย์จะเจาะเส้นเลือดของผู้ป่วย แล้วให้น้ำเกลือเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสม
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีแดง (หรือผู้ป่วยที่แพทย์มีคำสั่งให้ใช้)

    • ถังออกซิเจน

ของใช้จำเป็นผู้ป่วยติดเตียง

         ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบากหรือไม่สามารถหายใจได้เอง แพทย์จะให้ออกซิเจน เพื่อช่วยในการหายใจ ซึ่งการดูแลผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจน ผู้ดูแลต้องมีความรู้ความเข้าใจในสภาพของผู้ป่วย และสามารถใช้อุปกรณ์การให้ออกซิเจนได้อย่างถูกวิธี
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีแดง (หรือผู้ป่วยที่แพทย์มีคำสั่งให้ใช้)

    • ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ (แพมเพิร์ส)

อุปกรณ์ผู้ป่วยพักฟื้น

          ผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกไปเข้าห้องน้ำ หรือนั่งกระโถนได้ จำเป็นจะต้องใช้แพมเพิร์ส เพื่อขับถ่ายบนเตียงแทน
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีแดง สีส้ม สีเหลือง

    • รถเข็นผู้ป่วยวีลแชร์

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

รถเข็นวีลแชร์ แบบล้อเล็ก รุ่น GK863LABJ-12 (ซ้าย) และแบบล้อใหญ่ รุ่น GK863LAJ-20 (ขวา) น้ำหนักเบา พับเก็บใส่ท้ายรถได้

          สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทรงตัวได้ เดินไม่คล่อง หรือไม่สามารถเดินได้เลย รถเข็นผู้ป่วย จะช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังบริเวณต่าง ๆ ใช้ได้ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ผู้ป่วยบางรายสามารถใช้รถเข็นวีลแชร์ได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ดูแล
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีส้ม สีเหลือง สีเขียว

    • กระบอกปัสสาวะ / กระโถน

ของใช้ผู้ป่วย

         ผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกไปเข้าห้องน้ำได้ อาจจะใช้กระบอกปัสสาวะหรือกระโถนในการขับถ่าย
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีส้ม สีเหลือง 

    • อุปกรณ์บริหารปอด

อุปกรณ์บริหารปอด

อุปกรณ์บริหารปอด รุ่น Pulmogain มีชุดกรองอากาศ สายใส สามารถมองเห็นสิ่งสกปรกได้ สามารถถอดล้างทำความสะอาดได้

         การที่ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ไม่สามารถออกกำลังกายได้ อาจส่งผลให้ปอดแฟบ อุปกรณ์บริหารปอด เป็นเครื่องมือกายภาพหนึ่งที่จะช่วยทำให้ปอดของผู้ป่วยแข็งแรง โดยไม่ต้องออกกำลังกาย
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีส้ม สีเหลือง  สีเขียว

    • กล่องใส่ยา

กล่องใส่ยา ALLWELL สำหรับใส่ยา 7 วัน แบ่งออกเป็น 4 ช่อง กันน้ำ กันชื้น กันแสง

         เมื่อผู้ป่วยกลับมาพักฟื้นที่บ้าน สิ่งที่จะได้กลับมาด้วยก็คือยารักษา ที่แพทย์จะจ่ายให้ตามอาการ ซึ่งในแต่ละวันหรือแต่ละมื้อ ก็มีประเภทและปริมาณยาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากกินยาผิดประเภทอาจส่งผลเสียกับผู้ป่วยได้ เพื่อป้องกันการกินยาผิดพลาด ควรมีกล่องใส่ยา เพื่อแยกประเภทของยาที่ต้องกินในแต่ละวัน
เหมาะสำหรับ :ผู้ป่วยระดับสีส้ม สีเหลือง  สีเขียว

    • กล่องตัดยา

กล่องตัดยา

ใบมีด Stainless เหมาะสำหรับตัดยาโดยเฉพาะ ตัดแบ่งได้ แม่นยำ สะดวก มองเห็นเม็ดยาขณะตัดได้

         สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์มีคำสั่งในกินยาในประมาณครึ่งเม็ดหรือ 1/4 เม็ด อาจสร้างความลำบากให้กับผู้ป่วยหรือผู้ดูแลเอง อีกทั้งยังอันตรายขณะใช้มีดตัดยาด้วย จึงแนะนำให้ใช้กล่องตัดยา เพื่อช่วยให้การแบ่งเม็ดยามีความแม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีส้ม สีเหลือง สีเขียว

    • อุปกรณ์ช่วยเดิน

อุปกรณ์ผู้ป่วย

         สำหรับผู้ป่วยที่สามารถเดินได้เองหรือต้องกายภาพบำบัดการเดิน จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ช่วยเดิน เพื่อช่วยในการทรงตัว ป้องกันการล้มที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น ไม้เท้า วอล์คเกอร์ เลือกใช้ตามความสามารถของผู้ป่วย
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีเขียว

คลิก อ่านบทความ : ไม้เท้า รถเข็นผู้ป่วย อุปกรณ์ช่วยเดินแบบต่างๆ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม?
    • ราวจับ

ของใช้ผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง

         ราวจับจะช่วยให้ผู้ป่วย สามารถพยุงตัว ป้องกันการลื่นหรือหกล้มได้ ควรติดในบริเวณที่ผู้ป่วยใช้บ่อย เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ทางเดิน
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยระดับสีเขียว

สรุป

               สำหรับผู้ป่วยที่กลับมาพักฟื้นที่บ้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีอุปกรณ์ไว้ช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อให้การใช้ชีวิตที่บ้านของผู้ป่วย เป็นไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้อาจตามมาซึ่งค่าใช้จ่ายมากมาย สิ่งที่ดีที่สุด คือการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง แม้จะยังไม่เจ็บป่วย เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงปัญหาเหล่านี้นะคะ

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup