อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงหลายคนน่าจะรู้จัก คือ ที่นอนป้องกันแผลกดทับ เพราะแผลกดทับถือเป็นภัยร้ายสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่อาจร้ายแรงถึงชีวิตได้ ซึ่งที่หลายคนได้ยินบ่อยมากที่สุด คงหนีไม่พ้นที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง หรือเตียงลม บทความนี้จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับที่นอนลมกันแผลกดทับ พร้อมมีสาระดี ๆ ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ และควรรู้ก่อนตัดสินใจลงทุนซื้อให้ผู้ป่วยค่ะ
สารบัญ
- ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง คืออะไร?
- ที่นอนลม เตียงลม กันแผลกดทับได้ผลจริงไหม?
- ใช้ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง กับค่าใช้จ่ายแฝงที่ควรรู้ไว้
- ถ้าไม่ใช้ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง ใช้อะไรแทนได้บ้าง?
- แนะนำ ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ ALLWELL
- สรุป ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง ใช้ได้ผล แต่อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด
ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง คืออะไร?
ที่นอนลมหรือเตียงลมผู้ป่วย คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยชนิดหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อป้องกัน ลดความเสี่ยง หรือดูแลแผลกดทับ โดยใช้กลไกกระจายน้ำหนักของร่างกายผู้ป่วยแต่ละส่วน ด้วยระบบปั๊มลมเข้าไปที่ลอนที่นอน ให้อยู่ในลักษณะยุบ-พองต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง จึงมีลักษณะเป็นลอนยาว หรือเป็นลูกเหลี่ยม ๆ คล้ายรังผึ้ง (เรียกว่า ที่นอนลมแบบรังผึ้ง) โดยรูปลักษณ์ภายนอกจะแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ
ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง จะใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ อย่างผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต ต้องติดเตียง หรือมีแผลกดทับในระดับที่ 1-4 (เช็กระดับแผลกดทับในบทความนี้ >> เตียงลม และที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ เลือกแบบไหนให้เหมาะกับผู้ป่วย!) และยังใช้ในผู้ป่วยผ่าตัด หรือต้องอยู่บนเตียง-เคลื่อนไหวไม่ได้เป็นเวลานาน
ที่นอนลม เตียงลม กันแผลกดทับได้ผลจริงไหม?
ถ้าตามโรงพยาบาลบางแห่ง หรือคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์บางคน ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง เป็นช้อยส์แรกที่นึกถึงหากต้องการดูแลแผลกดทับผู้ป่วย หลาย ๆ คนที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน พอหาซื้อที่นอนลมหรือเตียงลมผู้ป่วยมาใช้ กลับพบว่าแผลกดทับรุนแรงขึ้นกว่าเดิม บางคนจากไม่เป็นก็กลายมาเป็นแผลกดทับ แท้จริงแล้วที่นอนลมกันแผลกดทับ ใช้ได้ผลจริงหรือเปล่า?
ต้องบอกว่า ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์พื้นฐานที่ถูกใช้มานานแล้วค่ะ ซึ่งการจะใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ให้ป้องกันแผลกดทับหรือดูแลให้แผลดีขึ้นแบบมีประสิทธิภาพนั้น เราต้องรู้จักวิธีการใช้ที่ “ถูกต้อง” ก่อนค่ะ เพราะหากใช้ไม่ถูก รับรองว่าแผลกดทับจะรุนแรงขึ้นแน่นอน แต่ว่าเพราะอะไรล่ะ?
วิธีการใช้ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียงที่ถูกต้อง จะต้องมีการเปิดปั๊มลมต่อเนื่องตลอดเวลา หากกดปิดเครื่องเมื่อไหร่ ก็เท่ากับว่าผู้ป่วยนอนอยู่บนที่นอนธรรมดา ๆ ชิ้นหนึ่ง ผิวหนังก็จะถูกกดทับเหมือนเดิม และสิ่งสำคัญที่หลาย ๆ คนไม่รู้ก็คือ แม้จะใช้ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียงแล้ว ผู้ดูแลก็ต้องคอยมาพลิกตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมงด้วยนะคะ เห็นที่นอนลมขยับได้แบบนั้น แต่ก็ไม่ได้ช่วยป้องกันแผลกดทับได้ 100% หากปล่อยผู้ป่วยให้นอนอยู่ท่าเดิมนาน ๆ ต่อให้ใช้ที่นอนลมก็เป็นแผลกดทับอยู่ดีค่ะ
ฉะนั้น หากถามว่า ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียงหรือเตียงลม ใช้ดูแลและป้องกันแผลกดทับได้ผลจริงไหม? ก็ต้องตอบว่าได้ผลค่ะ แต่ต้องใช้อย่างถูกต้องถูกวิธี ควบคู่ไปกับการดูแลอื่น ๆ เช่น การลดการถู-ลาก-ดึง-เสียดสีผิวหนังผู้ป่วย ทำความสะอาดผิวหนังผู้ป่วยสม่ำเสมอ และลดความอับชื้นที่ผิวหนัง หมั่นกายภาพ เป็นต้น และที่สำคัญคือจะต้องดูแลให้ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง อยู่ในสภาพดีเสมอ ปั๊มลมใช้งานได้ต่อเนื่อง ลอนที่นอนไม่รั่วไม่เสีย หากมีการเสียหายต้องส่งซ่อม ก็ควรมีที่นอนลมสำรองไว้ หรือต้องซ่อมโดยไม่ใช้เวลานานเกินไปค่ะ
ใช้ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง กับค่าใช้จ่ายแฝงที่ควรรู้ไว้
ก่อนจะตัดสินใจซื้อที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง หรือเตียงลมผู้ป่วยนั้น ผู้ดูแลจำเป็นจะต้องรู้เรื่องของค่าใช้จ่ายที่คุณจะต้องเสียด้วยค่ะ ไม่ใช่เพียงแค่ราคาที่นอนลมกันแผลกดทับเท่านั้นนะคะ แต่จะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายแฝงอื่น ๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย ซึ่งหลาย ๆ คนอาจไม่รู้เรื่องเหล่านี้ด้วย ไปดูกันว่า มีค่าใช้จ่ายแฝงอะไรที่ควรรู้ไว้ก่อนจะตัดสินใจซื้อ
ค่าใช้จ่ายที่นอนลมที่ควรรู้
- ราคาที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง ราว ๆ 2,500 – 10,000 (ราคาตามแต่ละยี่ห้อ)
- ค่าซ่อมลอนที่นอนลม ราว ๆ 1,600 – 3,200 บาทต่อปี
- ค่าซ่อมอื่น ๆ จากการเสื่อมสภาพ เริ่มต้นตั้งแต่ 200 – 4,000/ค่าเสียหายหนึ่งอย่าง
- ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จากการเสียบใช้ปั๊มลมของที่นอนลมตลอดเวลา
คลิกเพื่ออ่าน ค่าซ่อมที่นอนลมกันแผลกดทับ ต้องเสียเท่าไหร่บ้าง? เฉลี่ยแล้วคุ้มที่จะซื้อไหม?รู้หรือไม่ว่า ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง มีอายุการใช้งานราว ๆ 1-2 ปีเท่านั้น
ถ้าไม่ใช้ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง ใช้อะไรแทนได้บ้าง?
บางคนที่เริ่มลังเลในการตัดสินใจซื้อที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง หรืออยากมองหาตัวเลือกในการดูแลแผลกดทับผู้ป่วยติดเตียงอื่น ๆ แต่ไม่รู้ว่าจะใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับยี่ห้อไหนดี แบบไหนดี บทความนี้ขอพาทุกท่านไปรู้จักกับ “ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ” นวัตกรรมใหม่ที่ถูกใช้แทนที่นอนลม แถมยังมีข้อดีเยอะกว่าที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียงอีกค่ะ
ที่นอนโฟมกันแผลกดทับ คือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกใช้ในการป้องกันและดูแลแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยที่ต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน เช่นเดียวกับที่นอนลมผู้ป่วย เพียงแต่วัสดุจะทำมาจากโฟม (ชนิดของโฟมแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ) ที่มีคุณสมบัติในการกระจายแรงกดทับของผู้ป่วย โดยไม่ต้องใช้ปั๊มลมหรือไฟฟ้า
ที่นอนโฟม เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่แม้อาจจะมีราคาที่สูงกว่าที่นอนลม แต่ไม่มีค่าใช้จ่ายแฝง และอายุการใช้งานยาวนานกว่า ไม่ต้องมีการซ่อมบำรุง เฉลี่ยแล้วจึงมีราคาที่ถูกกว่าเมื่อเฉลี่ยในระยะยาว อีกทั้งบางยี่ห้อมีประสิทธิภาพในการดูแลรักษาแผลกดทับสูงกว่าการใช้ที่นอนลมด้วย จึงเป็นตัวเลือกที่น่าจับตามอง และคุ้มค่าที่จะลุงทุนมากกว่าที่นอนลมที่แม้จะราคาถูก แต่ค่าใช้จ่ายสูงและอายุการใช้งานสั้น
ข้อดีของที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ
- ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ประหยัดค่าไฟ
- ไม่ต้องมีค่าซ่อมบำรุง หรือต้องเสียเงินซื้ออะไหล่บ่อยๆ
- อายุการใช้งานยาวนาน บางยี่ห้อใช้ได้นานถึง 8 ปี
- บางยี่ห้อที่มีคุณสมบัติกระจายแรงกดทับได้สูง จะช่วยลดระยะเวลาการพลิกตัวผู้ป่วยได้ ทำให้ผู้ดูแลเหลือเวลาพักผ่อนมากขึ้น
- ไม่มีปั๊มลม จึงไม่มีเสียงดังรบกวนผู้ป่วย
- วัสดุนุ่ม นอนสบาย ผิวหนังไม่อับชื้น
- ใช้ได้ตั้งแต่ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ
ปัจจุบัน โรงพยาบาลหลายแห่ง มักเลือกใช้ที่นอนโฟมกันแผลกดทับในการดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาล แทนการใช้เตียงลม ที่มีค่าใช้จ่ายสูงและอายุการใช้งานสั้น
แนะนำ ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ ALLWELL
สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงท่านไหน ที่กำลังมองหานวัตกรรมดี ๆ แทนการใช้ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง บทความนี้ขอแนะนำที่นอนโฟมกันแผลกดทับของแบรนด์ ALLWELL ที่โรงพยาบาลหลายแห่งไว้วางใจเลือกใช้ในการดูแลผู้ป่วย นำเข้าจากประเทศอังกฤษ มีประสิทธิภาพและผ่านการวิจัยและทดสอบค่ะ บอกเลยว่าน่าสนใจและคุ้มค่าที่จะลงทุนมาก
ที่นอนโฟม ALLWELL ดีอย่างไร?
- เนื้อโฟมหนาแน่น มาพร้อมการออกแบบสำหรับกระจายแรงกดทับโดยเฉพาะ : ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รุ่น Mercury เนื้อโฟมทำจาก Polyurethane Foam มีความหนาแน่นอยู่ในระดับ 38-40 kg/m3 โดยออกแบบให้เป็นร่องโฟมแบบ Castellated Cut ที่มีขนาดร่องเล็ก – ใหญ่ เพื่อให้เหมาะสมกับน้ำหนักและสรีระในแต่ละส่วนของผู้ป่วย จึงช่วยในการกระจายน้ำหนักและแรงกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เนื้อโฟมด้านข้าง และด้านล่างเป็นโฟมแบบ CME : ช่วยรักษารูปทรงของที่นอนไม่ให้ยุบตัว จึงช่วยยืดอายุการใช้งานของที่นอนโฟมให้ยาวนานได้ถึง 8 ปี มากกว่าที่นอนโฟมที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป
- ใช้ได้กับผู้ป่วยแผลกดทับ ระดับ At Risk และ Hight Risk : แตกต่างจากที่นอนโฟมตามท้องตลาดทั่วไป อีกทั้งยังผ่านการทดสอบแล้วว่า ช่วยลดระยะการพลิกตัวผู้ป่วย เป็นทุก 4 ชั่วโมงได้ โดยไม่ต้องพลิกตัวบ่อย
- ผ้าคลุมที่นอน ทำจาก Polyurethane : ไม่หยาบกระด้างกับผิวผู้ป่วย ตัววัสดุสามารถกันน้ำได้ อีกทั้งยังมาพร้อมปีกคลุมซิป จึงสามารถกันของเหลวและสิ่งสกปรกได้ 100% ทำความสะอาดง่าย นอกจากนี้ยังสามารถระบายความอับชื้นได้ดี ไม่ทำให้ผิวผู้ป่วยอับชื้น
- รองรับน้ำหนักได้สูง : ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ Mercury สามารถรองรับน้ำหนักได้สูงถึง 254 Kg (รุ่น 15 Cm.) ไม่ยุบตัวง่าย รองรับน้ำหนักได้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล ที่ต้องทำหัตถการหรือกายภาพบนตัวที่นอน
- เนื้อโฟมและผ้าคลุมไม่ลามไฟ : ผ่านมาตรฐานป้องกันการลุกลามของไฟทั้งในส่วนของเนื้อโฟม และผ้าคลุมทั้ง 2 ด้าน โดยเป็นมาตรฐานสากล BS 7175: 1989, 5852: 1990 และ BS 7177: 2011 (+A1:2011) จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต
- มีมาตรฐานรองรับ : นอกจากมีมาตรฐานป้องกันการลุกลามไฟแล้ว ที่นอนโฟมกันแผลกดทับ Mercury ยังผ่านมาตรฐาน BS EN ISO 2439 :2008 (การทดสอบความต้านต่อแรงกดทับ) และ BS EN ISO 3385 :2014 (การทดสอบการคืนรูปของเนื้อโฟม) อีกด้วย
- บริษัทผู้ผลิตและร้านค้าที่จำหน่ายน่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ : บริษัทผู้ผลิต Direct Healthcare Group Limited จากประเทศอังกฤษ ได้รับมาตรฐาน ISO 14001:2015, ISO:13485:2016 จัดจำหน่ายโดยบริษัทเครื่องมือแพทย์ Allwell Life ซึ่งได้มาตรฐาน ISO 9001 ติดต่อกัน 12 ปีซ้อน รวมทั้งได้รับรางวัลการันตีมาตรฐานต่าง ๆ มากมาย (ดูข้อมูลบริษัท Allwell Life เพิ่มเติม คลิก!)
- ราคาคุ้มค่าเฉลี่ยแล้วถูกกว่าที่นอนโฟมทั่วไป : ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ Mercury รุ่น 15 Cm. ใช้งานได้ยาวนานถึง 8 ปี เฉลี่ยแล้วเท่ากับเสียเงิน 2,475 บาทต่อปี หรือเพียงเดือนละ 207 บาทเท่านั้น! ซึ่งถูกกว่าที่นอนโฟมตามท้องตลาดทั่วไปที่มีอายุการใช้งานสั้น ต้องเสียเงินซื้อใหม่บ่อย ๆ
รีวิวการใช้งานจริงในโรงพยาบาลทั่วประเทศ
รีวิวการใช้งานจริงจากลูกค้าบ้าน
สรุป ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง ใช้ได้ผล แต่อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด
ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียง แม้จะมีปั๊มลมที่ช่วยกระจายน้ำหนักได้ แต่ผู้ดูแลก็ยังคงต้องหมั่นมาพลิกตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพราะถ้าไม่อย่างนั้น ต่อให้ใช้ที่นอนลมผู้ป่วยก็จะยังคงเป็นแผลกดทับอยู่ดี และอาจรุนแรงขึ้นกว่าเดิมด้วย ฉะนั้น หากต้องการใช้ให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นต้องใช้ให้ถูกต้องถูกวิธีอย่างเคร่งครัด แต่ปัจจุบันก็ได้มีนวัตกรรมใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า ลดค่าใช้จ่ายและภาระของผู้ดูแลได้น้อยลง อย่างที่นอนโฟมกันแผลกดทับ ที่ปัจจุบันโรงพยาบาลหลายแห่งมักเลือกใช้กันอย่างแพร่หลาย