การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง ใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุข

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

         เมื่อผู้ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หาย หรือป่วยเป็นโรคระยะสุดท้าย เป้าหมายต่อไปของญาติหรือผู้ดูแล คือการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขจวบจนวาระสุดท้าย พร้อมเตรียมพร้อมและดูแลสภาพจิตใจของคนในครอบครัว บทความนี้มีแนวทาง การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่บ้าน ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมจนถึงขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยมาฝากกันค่ะ

สารบัญ

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

         ผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือผู้ป่วยที่เป็นโรคในระยะลุกลาม เรื้อรัง โรคอยู่ในระยะท้าย หรือไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ญาติหรือผู้ป่วยเลือกการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) ซึ่งผู้ดูแลจะต้องทำการดูแลอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เพื่อลดความทรมานของผู้ป่วย ไปพร้อม ๆ กับการดูแลจิตใจให้แข็งแรง ซึ่งก่อนจะเริ่มนำผู้ป่วยกลับมารักษาที่ตัวที่บ้าน ผู้ดูแลจะต้องเตรียมพร้อม ดังนี้

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

การเตรียมตัวดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน

  • ควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์เรื่องการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ว่ามีสิ่งไหนที่จำเป็นจะต้องทำบ้าง หรือมีเรื่องอะไรที่ต้องระวัง
  • ผู้ดูแลต้องฝึกทักษะในการดูแลผู้ป่วยในเรื่องต่าง ๆ เช่น การให้อาหารผู้ป่วยทางสายยาง การดูดเสมหะ การปฐมพยาบาลดูแลบาดแผลต่าง ๆ
  • ควรหาที่ปรึกษาประจำในการให้คำปรึกษาเรื่องการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ที่สำคัญจะต้องมีชื่อและเบอร์โทรของเขา เพื่อติดต่อในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
  • เตรียมพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เช่น เตียงผู้ป่วย เครื่องดูดเสมหะ รถเข็นผู้ป่วย ที่นอนป้องกันแผลกดทับ ฯลฯ
  • เตรียมสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย เพื่อความปลอดภัย เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย และอำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแล เช่น การจัดห้องนอนให้เหมาะสำหรับการพักผ่อน การดูแลพื้นที่สำหรับการใช้รถเข็นผู้ป่วย เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

สิ่งที่ควรดูแลและระวัง

  • หมั่นดูแลสุขอนามัยของผู้ป่วย ทั้งการทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยสดชื่นสบายตัว และไม่เกิดการสะสมของเชื้อโรค
  • ระมัดระวังเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วย ก่อนใช้อุปกรณ์จะต้องสะอาด และหลังใช้จะต้องกำจัดทิ้งในขยะติดเชื้อและทำลายอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค
  • ให้ผู้ป่วยกินอาหารที่ชอบได้ แต่ควรจำกัดปริมาณให้กินน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง และควรกินอาหารให้เป็นเวลา สำหรับผู้ป่วยที่ไม่อยากอาหาร ไม่ควรคะยั้นคะยอให้กิน ส่วนผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลควรให้ในปริมาณและตามเวลาที่แพทย์แนะนำ ที่สำคัญจะต้องดูแลเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์ด้วย
  • สิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือแผลกดทับ เพราะแผลกดทับจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดและทรมาน อาจทำให้อาการต่าง ๆ แย่ลง ดังนั้น ต้องหมั่นพลิกตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง ร่วมกับการใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับ

DYNA-TEK PROFILE

Original price was: 8,900฿.Current price is: 3,950฿.

รับน้ำหนักได้ 114kg | ผ้าคลุมเบาะกันน้ำ

รหัสสินค้า: Dyna-Profile หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ DYNA-TEK SUPERIOR

Original price was: 9,900฿.Current price is: 4,990฿.

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ | หนา 10 cm | รับน้ำหนักได้ 127kg | ผ้าคลุมเบาะกันน้ำ

รหัสสินค้า: Dyna-Tek หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

เก้าอี้ผู้ป่วยปรับไฟฟ้า G-2

Original price was: 449,000฿.Current price is: 220,000฿.

นั่งพักผ่อน | ปรับเอนหลังได้ | นำเข้าจากประเทศอังกฤษ

รหัสสินค้า: G2 หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

ที่นอนลม AD-1200

7,900฿

ที่นอนลม | ปั๊มลมทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง | รับประกัน 1 ปี

อ่านเพิ่ม

อาการของผู้ป่วยระยะสุดท้าย พร้อมแนวทางการดูแล

         ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย สิ่งที่ผู้ดูแลจะต้องเจอคือภาวะหรืออาการเจ็บปวดต่าง ๆ ของผู้ป่วย เป้าหมายหลักในการดูแลแบบประคับประคอง คือการที่ญาติจะต้องบรรเทาอาการเจ็บปวดเหล่านั้นของผู้ป่วย เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกทุกข์ทรมาน รวมทั้งทำความเข้าใจอาการของผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิต เพื่อให้ครอบครัวสามารถรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

อาการที่มักพบบ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย

1. แผลกดทับ : อันเนื่องมาจากภาวะติดเตียง หรือต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่นอนอยู่บนเตียง จนทำให้เกิดการกดทับจนเป็นแผล แผลกดทับนี้จะสร้างความเจ็บปวดทรมานให้ผู้ป่วยมาก

แนวทางการดูแล : หากผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ พยายามให้ผู้ป่วยเดินบ่อย ๆ หรือพานั่งรถเข็นผู้ป่วยบ้าง แต่หากติดเตียงให้พยายามพลิกตัวหรือกายภาพบำบัดผู้ป่วยบ่อย ๆ ควบคู่ไปกับการใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับ

2. อาการเจ็บปวดจากโรคที่เป็นอยู่ : โรคที่ผู้ป่วยเป็นอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมาน เช่น ปวดหัว ปวดตัว เจ็บแผล ปวดจากภายใน ฯลฯ

แนวทางการดูแล : หากไม่ปวดมากสามารถกินยาแก้ปวดที่เป็นยาสามัญแบบทั่วไปได้ แต่หากมีอาการปวดมากจำเป็นจะต้องได้รับยาเฉพาะภายใต้คำสั่งแพทย์ และญาติยังสามารถบำบัดอาการปวดต่าง ๆ ร่วมไปกับการใช้ยาได้ เช่น แผ่นประคบร้อน-เย็น การนวดบรรเทา หรือการทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย

การรักษาประคับประคอง

3. ท้องผูก : มักเกิดขึ้นบ่อย โดยมีสาเหตุที่มาจากทั้งภาวะของโรคที่เป็นอยู่ สภาพจิตใจผู้ป่วย ยาที่ผู้ป่วยได้รับ หรือการไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย

แนวทางการดูแล : ผู้ดูแลช่วยพลิกตัว กระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหว หรือช่วยขยับเคลื่อนไหวร่างกายให้ผู้ป่วย และดูแลให้ผู้ป่วยได้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ

4. อ่อนเพลียไม่มีแรง : เนื่องจากอาการของโรคที่ผู้ป่วยกำลังประสบ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้น้อยลง การเคลื่อนไหวก็ทำได้ลำบาก

แนวทางการดูแล : ให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ พยายามไม่รบกวนผู้ป่วย ส่วนเวลาที่ผู้ป่วยต้องลุกไปทำกิจวัตรต่าง ๆ แนะนำให้ญาติคอยหาอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยต้องใช้มาไว้ใกล้ ๆ ตัว การขับถ่ายอาจจะใช้เป็นรถเข็นนั่งถ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วย และจัดห้องนอนของผู้ป่วยไว้ชั้นล่าง เพราะผู้ป่วยที่มีภาวะนี้จะขึ้นลงบันไดเองไม่ได้

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน

5. ทานอาหารและน้ำลดลง : ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมักมีอาการอยากอาหารและน้ำลดลงมาก อีกทั้งเวลากินก็จะกินได้น้อย ส่งผลให้ผู้ป่วยยิ่งซูบผอม และดูอ่อนเพลีย เนื่องมาจากตัวโรคที่เป็นมากขึ้น ที่ทำให้ผู้ป่วยกลืนอาหารและน้ำได้น้อยลง ร่วมกับความต้องการของร่างกายที่ลดลง

แนวทางการดูแล : ไม่แนะนำให้บังคับหรือคะยั้นคะยอผู้ป่วยให้กิน เพราะจะทำให้ผู้ป่วยอึดอัดใจ

Checklist!!! ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน 1 วันต้องทำอะไรบ้าง?

สัญญาณเตือนอาการผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต

         นอกจากอาการหลัก ๆ ที่มักพบในผู้ป่วยระยะสุดท้ายแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ญาติของทราบ คืออาการก่อนผู้ป่วยเสียชีวิต นั่นก็เพื่อให้ญาติและครอบครัวนั้น ได้สามารถเตรียมการช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยไม่ให้ทุกข์ทรมานกับอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ในวาระสุดท้าย ซึ่งคือหนึ่งในหลักการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

อาการของผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต

  • ผู้ป่วยเริ่มมีอาการทรง ๆ ทรุด ๆ และภายหลังอาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ ทรุดหนักลงเรื่อย ๆ
  • มือและเท้าผู้ป่วยเย็นผิดปกติ ผิวหนังเปลี่ยนมีสีคล้ำขึ้น หรือมีจ้ำตามผิว
  • การหายใจเริ่มผิดปกติ เช่น เร็วขึ้น ช้าลง  หายใจขาดเป็นช่วง ๆ
  • มีเสมหะออกมากผิดปกติ
  • กล้ามเนื้อหย่อนยานควบคุมไม่ได้ นอนหลับตาไม่สนิท
  • มีอาการอ่อนเพลีย ง่วง ซึม หลับตลอดเวลา
  • การรับรู้แย่ลง มีอาการเพ้อ เห็นภาพหลอน ร้องไห้หรือร้องคราง
  • มีอาการปากและตาแห้ง
  • ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาลง
  • ในบางราย จากที่อาการทรุดหนักมาตลอด อยู่ ๆ ก็อาการดีขึ้นผิดปกติภายใน 1-2 วัน คนโบราณเชื่อกันว่าคือพลังฮึดสุดท้ายก่อนเสียชีวิต

อ้างอิงข้อมูลจาก : คู่มือสำหรับประชาชนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)

เครื่องวัดความดัน

สรุป

         แม้การสูญเสียเป็นเรื่องที่ทำใจได้ยาก และคงเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธการเสียชีวิตได้ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่แพทย์แนะนำมากที่สุด นั่นก็เพื่อลดความเจ็บปวดทรมานให้กับผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยนั้นสามารถจากไปได้อย่างสงบ และมีความสุขหรือติดค้างสิ่งใดจนวาระสุดท้าย

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup