เสมหะเกิดจากอะไร จะกำจัดเสมหะออกไปได้อย่างไร?

เสมหะเกิดจาก

     ปัญหากวนใจ ที่ใครหลายคนต้องพบเจอ คงหนีไม่พ้น เสมหะติดคอ ซึ่งสร้างความรำคาญเป็นอย่างมาก พาลทำให้รู้สึกไม่สบายตัว อึดอัด และหงุดหงิดไปด้วย  นอกจากนี้เสมหะ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ด้วย เสมหะเกิดจาก อะไร? เราจะกำจัดเสมหะติดคอออกไปได้อย่างไร?  Allwell ก็ได้รวมวิธีกำจัดเสมหะเบื้องต้น ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง มาไว้ในบทความนี้แล้วค่ะ :]

สารบัญเนื้อหา

เสมหะเกิดจาก อะไร?

         เสมหะเกิดจาก อะไร? เสมหะหรือเสลด มักเกิดจากเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมที่เข้าไประคายเคืองที่หลอดลม ซึ่งเกิดขึ้นได้จาก มลพิษ การสูบบุหรี่ หรือการดื่มเครื่องดื่ม อาหารรสจัด จนทำให้เกิดการระคายเคืองที่คอได้ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ จะทำให้ร่างกายเกิดกลไกกระตุ้นการหลั่งเสมหะ ออกมาเคลือบลำคอ และเมื่อหลั่งออกมามากจนเกินไป จะทำให้เสมหะเป็นก้อนเหนียว และเกิดเสมหะติดคอได้ หากไม่กำจัดเสมหะออกไป อาจสร้างความรำคาญใจได้ และเสมหะยังเกิดขึ้นได้จากโรคต่าง ๆ ดังนี้

เสมหะติดคอ

  1. โรคกรดไหลย้อน

เมื่อมีอาการกรดไหลย้อน จากหลอดอาหารมาที่ลำคอ จะเกิดการกระตุ้นต่อมสร้างเสมหะในลำคอ ทำให้เกิดเสมหะในลำคอขึ้น

  1. ติดเชื้อเรื้อรังที่ลำคอ

การติดเชื้อ อาจเกิดได้จากโรคต่าง ๆ เช่น วัณโรค ซึ่งจะส่งผลให้ลำคอ เกิดการอักเสบขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่างกายจึงต้องสร้างเสมหะออกมาเคลือบลำคอ ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเรื้อรัง มักจะมีเสมหะอยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะได้รับการกำจัดออกไป หรือได้รับการรักษาให้หายขาด

  1. โรคจมูกอักเสบ โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้

เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้ จะมีความไวของเนื้อเยื่อบุที่ผิดปกติ ทำให้เมื่อไปสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งระคายเคืองต่าง ๆ จึงไปกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูก ที่อาจไหลออกมาจมูกส่วนหน้าหรือไหลลงคอได้  และน้ำมูกที่ไหลลงคอ ก็จะกลายเป็นเสมหะ หรือเสลดในลำคอ

  1. โรคไซนัสอักเสบ

เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุจมูก และไซนัส จึงไปกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในโพรงจมูก ทำให้มีน้ำมูกไหลลงคอ และนอกจากนั้น สารคัดหลั่งที่ออกจากไซนัส อาจไหลผ่านรูเปิดของไซนัสออกมา ทำให้ไหลลงคอและกลายเป็นเสมหะ

  1. โรคหลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด

โรคนี้ ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ที่อาจเกิดจากการระคายเคืองต่อสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น ต่อมสร้างเสมหะจึงสร้างเสมหะขึ้นมา เพื่อเคลือบหลอดลมตลอดเวลา

7 วิธีกำจัดเสมหะติดคอ

         เสมหะติดคอ หากไม่ได้รับการกำจัดออกไป นอกจากจะสร้างความรำคาญใจแล้ว ยังทำให้หายใจได้ไม่สะดวกอีกด้วย โดยบทความนี้เรามี 7 วิธีกำจัดเสมหะเบื้องต้นด้วยตัวเองง่าย ๆ สามารถทำได้ที่บ้านเลยค่ะ ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์หรือยา เป็นแนวทางรักษาธรรมชาติ แนะนำให้ลองทำตามกันนะคะ

เสมหะเกิดจาก

  1. ไอให้เสมหะออกมา

วิธีนี้ใช้สำหรับผู้ที่มีเสมหะในลำคอเท่านั้น  ทำได้โดยการสูดลมหายใจเข้าไปลึก ๆ ให้ลมหายใจเข้าไปอยู่หลังเสมหะ สังเกตได้จากทรวงอกที่ขยายไหล่ไม่ยก คอไม่ยืด กลั้นหายใจไว้สักครู่ แล้วจากนั้นให้ไอออกด้วยแรงพอควร จากนั้นให้บ้วนทิ้งในที่ที่เหมาะสม

  1. พยายามขับน้ำมูกและเสมหะออกมา

การขับเสมหะออกมา เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการขจัดเสมหะ เนื่องจากการขับเสมหะ จะช่วยลดปริมาณเสมหะที่คั่งค้างอยู่ออกมา และข้อควรระวังคือ อย่ากลืนเสมหะที่ค้างอยู่ในร่างกาย เพราะอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ระบบในร่างกายได้

  1. ดื่มน้ำให้มาก

การดื่มน้ำเป็นอีกวิธี แก้ปัญหาเสมหะติดคอในผู้ป่วยไข้หวัด โดยให้ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง หรือน้ำอุ่นทุก ๆ ชั่วโมง จะช่วยละลายเสมหะ คลายความเหนียว ช่วยขับเสมหะออกมาได้

  1. ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ

เช่น น้ำขิง หรือซุปอ่อน ๆ จะช่วยในการกำจัดเสมหะ เนื่องจากอุณภูมิที่สูงกว่าปกติของน้ำ จะช่วยละลายเสมหะในคอได้เป็นอย่างดี

ไอมีเสมหะ

  1. ทานอาหารรสเผ็ด

เช่น ต้มยำ น้ำพริก เนื่องจากสมุนไพรในอาหารเหล่านี้ จะช่วยขับเสมหะ และเปิดทางให้ระบบทางเดินหายใจคล่องตัวมากขึ้น แต่หากใครที่ทานเผ็ดไม่ได้ อาจทานเป็นต้มจืดร้อน ๆแทนได้

  1. กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ

ใช้เกลือ ¼ ช้อนชา น้ำอุ่นแก้วใหญ่ ผสมกันแล้วนำมากลั้วคอ  โดยเงยหน้าขึ้นระหว่างที่กลั้วคอไปด้วย เกลือจะช่วยกำจัดแบคทีเรีย และน้ำอุ่นจะช่วยในการละลายเสมหะ

  1. กำจัดเสมหะด้วยสมุนไพร

สมุนไพร สามารถช่วยกำจัดเสมหะได้ เช่น มะนาว มะขามป้อง มะแว้ง เป็นต้น

สรุป

เสมหะเกิดจาก สารก่อภูมิแพ้ หรือเชื้อแบคทีเรีย เข้าไปสัมผัสกับเยื่อเมือกที่ผลิตเสมหะ หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันออกไป โดยหากมีอาการเสมหะติดคอแบบทั่วไป สามารถกำจัดออกได้ด้วยตัวเอง ด้วยวิธีกำจัดเสมหะ 7 ข้อข้างต้น ซึ่งวิธีดังกล่าว เป็นวิธีกำจัดเสมหะเบื้องต้นเท่านั้น หากผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพ หรือมีอาการผิดปกติและรุนแรง ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup