อาหารเจผู้สูงอายุ กินอย่างไรให้ไม่อ้วนได้ทั้งบุญและสุขภาพ

อาหารเจผู้สูงอายุ

         เทศกาลกินเจ เป็นเทศกาลที่ใครหลาย ๆ คนให้ความสนใจ เพราะเป็นโอกาสดีที่จะได้ละเว้นการกินเนื้อสัตว์ ได้สร้างบุญสร้างกุศล ตามความเชื่อทางศาสนา แต่ในเรื่องของร่างกายแล้ว หากละเว้นการกินเนื้อสัตว์กินของมันของทอด หรือกินอาหารประเภทเดียวกันติดต่อกันหลายวัน ร่างกายจะเสียสมดุล น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โรคร้ายต่าง ๆ ก็ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ บทความนี้จึงมีข้อแนะนำเรื่อง อาหารเจผู้สูงอายุ และอาหารเจไม่อ้วนยิ่งกินยิ่งดีต่อสุขภาพมานำเสนอค่ะ

อาหารเจผู้สูงอายุ

สารบัญ

อาหารเจ คืออะไร กินอย่างไรถึงจะถูกวิธี?

         เทศกาลกินเจ คือเทศกาลที่ถูกจัดขึ้นเพื่อรักษาศีลตามความเชื่อทางพุทธศาสนา ซึ่งแต่เดิม การกินเจคือการรักษาศีล โดยการงดกินอาหารหลังเที่ยงวัน (เช่นเดียวกับพระสงฆ์) และอาหารที่กินจะต้องไม่มีเนื้อสัตว์ หรือมีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ และงดการกินอาหารต้องห้าม เช่น กระเทียม ผักดอง ต้นหอม ซึ่งอาหารเหล่านี้จะเรียกว่า อาหารเจ แต่ในปัจจุบันการกินเจ หลายคนก็หันมากินอาหารครบทั้ง 3 มื้อ แต่ก็ยังคงรักษาศีล และยึดถือการกินอาหารเจ ตลอดระยะเวลา 9 วันของช่วงเทศกาล

อาหารเจผู้สูงอายุ

ก่อนเริ่มการถือศีลกินเจ ประมาณ 1-2 วัน จะต้องเริ่มงดเว้นการกินเนื้อสัตว์ และอาหารต้องห้ามทุกชนิด เพื่อล้างเนื้อสัตว์ หรืออาหารคาวต่าง ๆ ที่ตกค้างอยู่ในร่างกายออกให้หมดก่อนเริ่มถือศีลตามประเพณี มักเรียกว่า การล้างท้อง

หลักการกินอาหารเจ

  1. งดเว้นการกินเนื้อสัตว์ชนิด และงดกินวัตถุดิบที่มาจากสัตว์ เช่น นม เนย น้ำมันที่มาจากสัตว์
  2. ไม่กินอาหารที่มีรสจัด
  3. งดกินอาหารต้องห้าม คือผักและเครื่องเทศที่มีกลิ่นแรง เช่น กระเทียม หัวหอม ต้นหอม กุยช่าย
  4. ห้ามดื่มแอลกอฮอล์และของมึนเมาทุกชนิด
  5. อาหารเจที่กิน จะต้องเป็นอาหารเจที่ทำโดยผู้ที่ถือศีลกินเจเช่นเดียวกัน

         นอกจากหลักการกินอาหารเจแล้ว ยังมีหลักการปฏิบัติตน และการถือศีลต่าง ๆ ตามประเพณี ซึ่งความเคร่งครัดของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป แต่โดยหลัก ๆ แล้ว สิ่งที่ทุกคนยืดถือร่วมกัน คือการงดเว้นการกินเนื้อสัตว์และกินอาหารเจตลอดช่วงเทศกาล

อาหารเจไม่อ้วน

รู้หรือไม่?!? การกินเจกับการกินมังสวิรัติไม่เหมือนกันนะ! ถึงแม้จะงดเว้นการกินเนื้อสัตว์เหมือนกัน แต่การกินมังสวิรัติ จะเน้นที่การกินผักผลไม้ ซึ่งสามารถกินผักและเครื่องเทศที่เป็นอาหารต้องห้ามได้ อีกทั้งผู้ที่กินมังสวิรัติบางคน ยังกินเนย นม ซึ่งมีส่วนประกอบมาจากสัตว์อีกด้วย

อาหารเจไม่มีเนื้อสัตว์ ทำไมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพ?

         หลายคนคงสงสัยว่า อาหารเจส่งผลเสียกับสุขภาพอย่างไร? จริง ๆ แล้วอาหารเจ แม้จะไม่มีเนื้อสัตว์ แต่อาหารเจส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของแป้ง อีกทั้งยังเน้นอาหารประเภทผัดและทอด จนเห็นน้ำมันเยิ้ม ๆ เลยใช่ไหมล่ะคะ แถมยังปรุงรสหวานและเค็มอีก แค่คิดว่าต้องกินอาหารเหล่านี้ทุกมื้อตลอด 9 วัน ก็เห็นถึงผลเสียที่จะตามมาแล้วล่ะค่ะ ทั้งโรคอ้วน โรคไต โรคความดันโลหิต และอีกสารพัดโรคที่จะตามมาอีกเพียบ

กินเจอ้วนไหม

         โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะด้วยร่างกายที่เสื่อมถอยตามวัย ทำให้เมื่อกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้ผู้สูงอายุเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ท้องอืด ท้องผูก เบาหวาน ยิ่งในช่วงเทศกาลกินเจ ผู้สูงอายุ นิยมทานอาหารเจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักชื่นชอบการทำบุญถือศีลอยู่แล้ว แต่น่าเสียดาย ที่การกินเจมักส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เช่น

  • ท้องผูก ท้องอืด ในกลุ่มผู้สูงอายมักมีปัญหาอาหารไม่ย่อยอยู่แล้ว พอมากินอาหารเจ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีกากใยสูง เมื่อร่างกายได้รับกากใยมากจนเกินไป จะทำให้ผู้สูงอายุท้องอืด และท้องผูกในที่สุด
  • ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน เนื่องจากอาหารเจส่วนใหญ่ มักเป็นของผัดและทอด ซึ่งมีไขมันสูงเกินความจำเป็นต่อร่างกาย ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โรคต่าง ๆ ก็จะตามมา
  • โรคไต โรคเบาหวาน เพราะอาหารเจส่วนใหญ่ มักมีรสเค็มหรือหวาน หากผู้สูงอายุรับทานเข้าไปในปริมาณมาก ๆ และหลายวันติดต่อกัน จะส่งผลเสียกับร่างกายได้
  • ความดันโลหิตสูง เนื่องจากอาหารเจมีความเค็ม หวาน มัน เป็นส่วนใหญ่ จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูงได้
  • ทุพโภชนาการ มาจากการละเว้นเนื้อสัตว์ และทานอาหารประเภทเดิมซ้ำ ๆ ติดต่อกัน ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบ 5 หมู่ จนขาดสารอาหารได้
คลิก! อ่านบทความ : กินเค็ม กินหวาน กินมัน พฤติกรรมเสี่ยงโรคร้าย อาจตายไม่รู้ตัว!

5 ทริคการกิน อาหารเจผู้สูงอายุ อาหารเจไม่อ้วน กินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ!

         แม้อาหารเจ จะส่งผลเสียกับร่างกาย แต่ไม่ใช่ว่าจะกินอาหารเจไม่ได้เลยนะคะ แต่เพียงแค่ต้องปรับเปลี่ยน และเลือกกินอาหารเจที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากจะจะไม่อ้วนแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงโรคที่ตามมากับอาหารได้ด้วยนะคะ ได้ทั้งบุญได้ทั้งสุขภาพไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

อาหารเจคือ

  1. ทานอาหารประเภทถั่ว และธัญพืชต่าง ๆ เนื่องจากการงดกินเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารประเภทโปรตีน แต่ก็สามารถเสริมได้ด้วยโปรตีนจากถั่ว และธัญพืชต่าง ๆ หรืออาจจะเป็นนมถั่วเหลืองก็ได้
  2. ลดการกินผักผลไม้ที่มีกากใยอาหารสูง ช่วยลดปัญหาท้องอืดในผู้สูงอายุ หลีกเลี่ยงการกินผักสด หากจะกินควรนำมาต้ม หรือนึ่งให้นิ่มก่อน เพื่อช่วยในการย่อย
  3. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง และไขมันสูง ซึ่งทำให้ร่างกายจะได้รับสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต และไขมันที่สูงเกินความจำเป็น เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ
  4. พยายามเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรระมัดระวังอาหารเจที่มีส่วนประกอบของแป้ง และอาหารที่มีรสชาติหวานมันมากเกินไป หรือผู้ที่เป็นโรคไต ควรหลีกเลี่ยงอาหารเจที่มีรสเค็ม
  5. เน้นอาหารต้ม นึ่ง ย่าง หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด หรือผัด ร่วมกับการกินผักและผลไม้ไปด้วย

ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ แนะนำให้ผู้สูงอายุ ควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการกินเจ โดยกินเนื้อสัตว์ใหญ่ให้น้อยลง ไม่ควรเลิกกินอย่างกะทันหัน เปลี่ยนมากิน ปลา นม และไข่แทน แล้วค่อย ๆ เริ่มกินผักผลไม้ให้มากขึ้น จนร่างกายปรับตัวได้ แล้วค่อยงดกินเนื้อสัตว์


เครื่องตรวจระดับน้ำตาล ตรวจเบาหวาน

สรุป

         อาหารเจ แม้จะดูเป็นอาหารสุขภาพ เพราะปราศจากเนื้อสัตว์ แต่อาหารเจเหล่านั้น หากกินในปริมาณมาก จะส่งผลเสียกับร่างกายได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ แต่ถึงอย่างนั้น หากกินอย่างถูกต้องถูกวิธี อาหารเจจะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงโรคที่จะตามมากับอาหาร ถือศีลกินเจได้อย่างสบายใจ ตลอดเทศกาลเลยค่ะ

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้" ... อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

Close Popup