เช็คอายุร่างกาย พร้อมเคล็ดลับที่จะทำให้อายุร่างกายดูอ่อนวัยกว่าอายุจริง!

เช็คอายุร่างกาย

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         อายุเป็นเพียงตัวเลขก็จริง แต่หากคุณมีอายุร่างกายมากกว่าอายุจริงก็อาจกลายเป็นความวิตกกังวลของตัวคุณเองได้ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากอายุร่างกายที่มากกว่านั้น อาจกำลังบ่งบอกถึงการทำงานของร่างกายอย่างหนัก หรือ การใช้งานร่างกายที่มากเกินไป หรือ การเผชิญหน้ากับมลภาวะและความเครียด นอกนั้นก็ยังรวมไปถึงความผิดปกติต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นกับร่างกาย บทความนี้เราจึงขอพาทุกท่านมาพบกับวิธี เช็คอายุร่างกาย กัน

สารบัญ

เช็คอายุร่างกาย ด้วยแบบทดสอบอายุร่างกาย

         อายุร่างกาย คือ อายุที่บ่งบอกถึงสภาวะของสุขภาพทั้งการเสื่อมสลายของเซลล์ภายในร่างกาย หรือสภาวะการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งมาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย ชอบดื่มเหล้า-สูบบุหรี่ นอนดึก น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้อายุร่างกายสูงกว่าอายุจริงทั้งสิ้น ซึ่งหากปล่อยไว้อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคอัลไซเมอร์ โรคหัวใจ เป็นต้น

อายุร่างกาย คือ

         ดังนั้น อายุใน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ อายุจริง (อายุตามปีเกิด) กับอายุร่างกาย บทความนี้จะขอพาทุกท่านไปพบกับวิธีเช็คอายุร่างกายด้วยแบบทดสอบอายุร่างกาย โดยแบบทดสอบอายุร่างกายนี้ เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยเช็คอายุร่างกายได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรมาก เพียงแค่มีอุปกรณ์จดและคำนวณตัวเลข ก็พร้อมทำแบบทดสอบได้เลยค่ะ

แบบทดสอบอายุร่างกาย

  1. ความยาวรอบสะโพกของคุณ (นิ้ว) หารด้วย ความยาวรอบเอว (นิ้ว)
  • หากหารแล้ว ได้ตัวเลขออกมาน้อยกว่า 0.816 ให้ บวก 4 คะแนน
  1. ใน 1 นาที ชีพจรของคุณเต้นเท่าไหร่?
  • หากชีพจรเต้นอยู่ที่ 54 – 59 ครั้ง/นาที ให้ลบ 4 คะแนน
  • หากชีพจรเต้นอยู่ที่ 60 – 64 ครั้ง/นาที ให้ลบ 2 คะแนน
  • หากชีพจรเต้นอยู่ที่ 65 – 72 ครั้ง/นาที ให้บวก 1 คะแนน
  • หากชีพจรเต้นอยู่ที่ 73 – 76 ครั้ง/นาที ให้บวก 2 คะแนน
  • หากชีพจรเต้นอยู่ที่ 77 – 82 ครั้ง/นาทีขึ้นไป ให้บวก 4 คะแนน
  1. ให้คุณนั่งกับพื้น โดยนั่งให้หลังตรงและให้ขาทั้ง 2 ข้างชิดกัน จากนั้นยื่นมือทั้งสองไปข้างหน้าให้อยู่ในระดับเดียวกับไหล่ แล้วให้ทำเครื่องหมายจุดเริ่มต้นที่พื้น โดยวัดจากระยะปลายนิ้วมือ จากนั้นให้ค่อย ๆ โน้มตัวไปข้างหน้าให้ได้มากที่สุด (ต้องเหยียดขาตรงเสมอ) แล้วทำเครื่องหมายจุดสิ้นสุดที่พื้น โดยวัดจากระยะปลายนิ้วมือที่ทำได้ สุดท้ายให้วัดระยะห่างระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดว่าได้เท่าไหร่ (หน่วยเป็นนิ้ว)
  • ทำได้ระยะ 0 – 10 นิ้ว ให้บวก 3 คะแนน
  • ทำได้ระยะ 10.1 – 15 นิ้ว ให้บวก 2 คะแนน
  • ทำได้ระยะ 15.1 – 16 นิ้ว ให้ลบ 2 คะแนน
  • ทำได้ระยะ 16.1 – 19 นิ้วขึ้นไป ให้ลบ 3 คะแนน
  1. ทำท่าวิดพื้นแบบวางเข่ากับพื้น (ขยับแค่ช่วงลำตัวด้านบน) ลำตัวเป็นเส้นตรงขนานกับพื้น การลงแต่ละครั้งต้องให้หน้าอกห่างจากพื้นประมาณ 4 นิ้ว วิดพื้นเช่นนี้ต่อเนื่องห้ามหยุดพัก ทำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • ทำได้ 0 – 30 ครั้ง ให้บวก 2 คะแนน
  • ทำได้ 31 – 60 ครั้ง ให้บวก 1 คะแนน
  • ทำได้ 61 – 90 ครั้งขึ้นไป ให้ลบ 1 คะแนน
  1. คุณกินอาหารวันละกี่ครั้ง? (นับมื้อกินเล่นด้วย)
  • 2 ครั้ง ได้ 1 คะแนน
  • 3 ครั้ง ได้ 2 คะแนน
  • 4 ครั้ง ได้ 3 คะแนน
  • 5 ครั้งขึ้นไป ได้ 4 คะแนน
  1. คุณกินอาหารที่มีไขมันสูง หรือของมัน-ของทอดบ่อยแค่ไหน?
  • มากกว่า 7 ครั้งต่อสัปดาห์ ได้ 1 คะแนน
  • กิน 4 – 6 ครั้งต่อสัปดาห์ ได้ 2 คะแนน
  • กิน 1 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ได้ 3 คะแนน
  • ไม่กินเลย ได้ 4 คะแนน
  1. คุณกินอาหารหรือของกินเล่น ที่มีผัก-ผลไม้บ่อยแค่ไหน
  • ไม่กินเลย ได้ 1 คะแนน
  • กิน 1 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ได้ 2 คะแนน
  • กิน 6 – 9 ครั้งต่อสัปดาห์ ได้ 3 คะแนน
  • กินมากกว่า 10 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป ได้ 4 คะแนน
  1. คุณได้หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันไม่ดี โซเดียม ไนเตรต และน้ำตาลมากน้อยแค่ไหน?
  • ไม่ได้หลีกเลี่ยงเลย ได้ 1 คะแนน
  • หลีกเลี่ยงบ้างนาน ๆ ครั้ง ได้ 2 คะแนน
  • หลีกเลี่ยงบ่อย ๆ หลายครั้ง ได้ 3 คะแนน
  • หลีกเลี่ยงเป็นเป็นประจำ ได้ 4 คะแนน
  1. รวมคะแนนที่ได้ตั้งแต่ข้อ 5-8 แล้วคำนวณคะแนนตามต่อไปนี้
  • 0-9 คะแนน ให้ บวก 3 คะแนน
  • 10-12 คะแนน ให้ บวก 2 คะแนน
  • 13-15 คะแนน ให้ ลบ 2 คะแนน
  • 16-17 คะแนน ให้ ลบ 3 คะแนน

เมื่อทำแบบทดสอบครบแล้ว ให้รวมคะแนนทั้ง 9 ข้อ นำไปบวกกับอายุจริง ๆ ของคุณ

ผลลัพท์ที่ได้ คือ อายุร่างกายของคุณ 

ชวนรู้จัก! Allwell Health แอปดูแลสุขภาพ บันทึกผลร่างกายภายในแอปเดียว

นอกจากแบบทดสอบ เราสามารถวัดอายุร่างกายได้อย่างไรบ้าง ?  

         แบบทดสอบอายุร่างกาย เป็นวิธีเช็กอายุร่างกายเบื้องต้นเท่านั้น แต่ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นวิธีเช็กอายุร่างกายที่ทำตามได้ง่าย ๆ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถวัดอายุร่างกายของคุณได้ มีแบบที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจวัดให้ หรือใช้อุปกรณ์ที่มีการคำนวณอายุร่างกายให้ ดังนี้

เช็คอายุร่างกาย

  1. วัดความยาวเทเลเมียร์ (Telomere) คือการวัดความยาวของ DNA ส่วนปลายสุดของโครโมโซม เนื่องจากความยาวของเทเลเมียร์จะสั้นลงเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น จึงสามารถบอกอายุร่างกายที่แท้จริงได้
  2. ตรวจ Epigenome ซึ่งเป็นเซลล์ย่อยที่อยู่ในพันธุกรรมที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงของแต่ละคนว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน ถ้า Epigenome ยังอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เป็นระเบียบ แปลว่าร่างกายยังเด็กอยู่ แต่ถ้าเริ่มมีการผิดเพี้ยน สลับตำแหน่ง อาจแปลว่าร่างกายเริ่มมีความไม่ปกติ เกิดโรคบางอย่าง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความแก่ชรา
  3. ใช้เครื่องชั่งน้ำหนักวัดองค์ประกอบของร่างกาย (Body Analyzer Scale) ที่สามารถวัดอายุร่างกายได้ เป็นอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ง่าย และใช้งานได้เพียงขึ้นชั่งน้ำหนักตามปกติ ตัวเครื่องจะมีเทคโนโลยีที่นำไปคำนวณค่าต่าง ๆ คาดคะเนออกมาเป็นอายุร่างกายได้

Body Analyzer Scale with Bluetooth Connection รุ่น BodyA-1B

Original price was: 2,100฿.Current price is: 950฿.

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ 20 ค่า | Bluetooth ดูค่าผ่าน App ได้ 

รหัสสินค้า: SCA-ZTE-BODYA1BW หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

Body Composition Scale รุ่น JPD-BFS200B

Original price was: 1,990฿.Current price is: 890฿.

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ 14 ค่า | Bluetooth ดูค่าผ่าน App ได้ 

รหัสสินค้า: JPD-BFS200B หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

Body Composition Scale รุ่น GBF-1719-A

Original price was: 1,290฿.Current price is: 790฿.

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ น้ำหนัก, BMI, ไขมัน, กล้ามเนื้อ, น้ำ และมวลกระดูก 

รหัสสินค้า: GBF-1719-A หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

อายุร่างกายมากกว่าอายุจริง ทำอย่างไรดี ? 

         แน่นอนว่าไม่มีใครอยากแก่เกินอายุ ถ้าหากเราเช็คอายุร่างกายแล้วพบสิ่งที่ไม่คาดคิดอย่างการมีอายุของร่างกายที่มากกว่าอายุจริง ทุกท่านไม่ต้องเป็นกังวลไป เราก็มีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะมาช่วยมาช่วยลดอายุของร่างกาย ซึ่งมีดังนี้

เช็คอายุร่างกาย

1.ปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม

         ส่วนนี้ก็แบ่งออกเป็นพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความหวาน ความมัน หรือ ความเค็มที่มากเกินไป ถัดมาก็คือส่วนของพฤติกรรมการบริโภคที่ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ตักอาหารคำเล็ก ๆ เพื่อให้ร่างกายของคุณไม่ทำงานหนักในการเผาผลาญพลังงานมากเกินไป

2.ออกกำลังกาย

         การออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณควรทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัย เพื่อให้เกิดการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินของร่างกาย และ เพื่อความแข็งแรงของร่างของคุณเอง

3.พักผ่อนอย่างเพียงพอ

         การใช้ร่างกายมากเกินไปก็คือการทำงานหรือการเรียนอย่างหนัก จนร่างกายไม่มีช่วงจังหวะในการฟื้นฟูหรือซ่อมแซมตนเอง ซึ่งก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของอายุร่างกายที่มากเกินกว่าอายุจริง ดังนั้นคุณจึงควรพักผ่อนอย่างเพียงพอในแต่ละวันอยู่ที่วันละประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง

4.การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับมลภาวะ

         มลภาวะในที่นี้ก็มีทั้งฝุ่น ควัน แสงแดด มลภาวะทางเสียง ซึ่งล้วนมีสารออกซิเดชั่น โดยสารออกซิเดชั่นเหล่านี้จะมีสารแอนตี้ออกซิเดชั่นของร่างกายต่อต้านไว้ ไม่ให้มาทำร้ายร่างกายของคนเราได้ แต่หากเราเผชิญหน้ากับมลภาวะที่มากเกินไปก็จะทำให้สารต้านออกซิเดชั่นที่ร่างกายสร้างขึ้นไม่เพียงพอกับสารออกซิเดชั่นที่ร่างกายได้รับ เมื่อมีสารออกซิเดชั่นล่วงล้ำเข้ามาภายในร่างกายของคนเราก็จะมาทำปฏิกิริยากับเซลล์ภายในร่างกายแล้วทำให้เกิดการแก่ชราของเซลล์ภายในร่างกายของเราได้ เราจึงควรหลีกเลี่ยงจากมลภาวะเหล่านี้

สนใจสั่งซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักวัดไขมันและมวลกาย BodyA-1B คลิกเลย!

สรุป

         เมื่อคุณได้ทราบวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ในการเช็คอายุร่างกายกันแล้ว คุณคงจะสามารถเปรียบเทียบอายุร่างกายของคุณเทียบกับอายุจริงได้ด้วยตัวของคุณเองได้ และหากคุณเป็นคนหนึ่งที่ทราบว่าอายุร่างกายของคุณเองนั้นมากกว่าอายุจริงของคุณเอง คุณก็ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด เพราะเราก็มาพร้อมกับเคล็ดลับดี ๆ ช่วยให้คุณมีอายุร่างกายที่เทียบเท่ากับอายุ หรือ มีอายุร่างกายน้อยกว่าอายุจริงจากบทความข้างต้นกันเลย

เคล็ดลับดีๆด้านสุขภาพที่อยากบอกต่อ!!

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup