บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
ลำไส้แปรปรวน เป็นอีกโรคที่ในประเทศไทยมีผู้ป่วยจำนวนมาก ซึ่งส่วนมากไม่ทราบว่ามีอาการที่ผิดปกติ จนเริ่มมีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น โดยลำไส้แปรปรวน อาการไม่ได้รุนแรงเหมือนโรคอื่น ๆ สามารถรักษาให้หายได้ แต่ต้องอาศัยการปรับพฤติกรรม รวมถึงการทานยาควบคู่กันไปด้วย ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่รุนแรง แต่ก็อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ มาทำความรู้จักกับภาวะลำไส้แปรปรวนกันให้มากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสังเกตตัวเองในเบื้องต้นกันเลยค่ะ
สารบัญ
- เช็กด่วน! ลำไส้แปรปรวน อาการเป็นอย่างไร
- ลำไส้แปรปรวน อาการผิดปกติเกิดจากอะไร
- วิธีรักษาโรคลำไส้แปรปรวน อาการปวดในเบื้องต้น
- วิธีการป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน อาการปวดที่หลีกเลี่ยงได้
เช็กด่วน! ลำไส้แปรปรวน อาการเป็นอย่างไร
จากการสำรวจของกรมอนามัยโลก พบว่าประชากรโลกมีอาการของโรคลำไส้แปรปรวน มากถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสภาวะลำไส้แปรปรวนนี้ มีอีกชื่อหนึ่ง ที่สามารถเรียกสั้น ๆ ได้ว่า โรค IBS (irritable bowel syndrome) เป็นโรคเรื้อรังอีกอย่างหนึ่ง หากมีอาการแล้ว จะรบกวนกับการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ลำไส้แปรปรวน อาการเบื้องต้นที่คุณสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้
ลำไส้แปรปรวน อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้
- อาการเริ่มแรกคือปวดท้อง โดยลักษณะการปวดนั้น เป็นการปวดแบบถูกบีบ ทำให้ท้องของเราเกร็ง และมักจะเกิดบริเวณช่องท้องด้านซ้าย ซึ่งความรุนแรงจะมีระดับที่แตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่การปวดท้องของภาวะลำไส้แปรปรวนจะมีอาการอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และเป็นติดต่อกัน 3 ถึง 6 เดือน หากมีอาการปวดรุนแรง ควรที่จะรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ก็ได้
- อาการที่สองคือมีการขับถ่ายผิดปกติ ซึ่งอาการนี้จะคล้ายกับท้องเสีย ท้องผูก หรือบางกรณีสามารถมีอาการท้องเสียสลับไปมากับอาการท้องผูกได้เช่นกัน
- อาการอื่น ๆ เช่น มีลมในท้องมาก เรอบ่อย แน่นอกและแสบหน้าอก คลื่นไส้ เป็นต้น
- ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
- มีปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์
ลำไส้แปรปรวน อาการผิดปกติเกิดจากอะไร
ก่อนอื่นเราจะพาทุกท่านมารู้จักถึงสาเหตุของเกิดภาวะลำไส้แปรปรวน อาการปวดท้องที่มีความผิดปกติประเภทหนึ่ง ที่ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีความคาดเดากันว่า อาการของลําไส้แปรปรวนนี้อาจจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง โดยมีดังนี้
อาการของลําไส้แปรปรวน
- การแพ้อาหารบางประเภท เช่น นม กลูเตน ถั่ว ของทะเล และอื่น ๆ ซึ่งทำให้ร่างกายของเราไม่สามารถย่อยอาหารชนิดนั้นได้ ๆ เมื่อเกิดการสะสมไปเรื่อยๆ จะทำให้เกิดอาการท้องผูกและมีอาการปวดท้องตามมา
- การติดเชื้อภายในระบบทางเดินอาหาร โดยปกติแล้วจะพบภาวะลำไส้แปรปรวนหลังจากการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ หรือ ไข้รากสาด
- การบีบเกร็งของลำไส้ผิดปกติ หรือการเป็นตะคริวที่บริเวณลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเกร็งท้องอยู่ตลอดเวลา ในบางรายลำไส้มีความไวต่อการตอบสนองมากเกินไป ซึ่งอาจมีปัจจัยบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดได้ ตัวอย่างเช่น อาหาร เครื่องดื่ม ความเครียด ยา เป็นต้น
- ความเครียดสะสม ที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติของลำไส้
- กรรมพันธุ์ มีการพบว่า ถ้าคนในครอบครัวมีปัญหาลำไส้แปรปรวน ก็มีสิทธิ์ที่อาจถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้
วิธีรักษาโรคลำไส้แปรปรวน อาการปวดในเบื้องต้น
อย่างที่เราทราบกันไปแล้วว่า โรคนี้ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด สามารถเกิดได้เป็นครั้งคราว แต่ก็มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ ลำไส้แปรปรวนวิธีรักษาที่ง่ายที่สุดคืออย่ากลั้นอุจจาระ เมื่อรู้สึกปวดให้รีบเข้าห้องน้ำทันที จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็งได้บ้างในเบื้องต้น จากนั้นปรับพฤติกรรมบางอย่าง ดังต่อไปนี้
วิธีรักษาโรคลำไส้แปรปรวน อาการปวดในเบื้องต้น
- ดื่มน้ำในเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ หรืออาหารที่ย่อยยาก เช่น กลุ่มของเนื้อ อาหารทอด ผักบางชนิด เป็นต้น
- นอนหลับพักผ่อนให้ครบ 8 ชั่วโมง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้การทำงานของระบบลำไส้ทำงานได้ดีมากขึ้น
- การรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ ซึ่งลำไส้แปรปรวน อาการในแต่ละคนไม่เหมือนกัน รวมถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น ดังนั้นการสั่งยาตามอาการของแพทย์ เป็นวิธีการรักษาในเบื้องต้น และจะต้องมีการตรวจติดตามผลภายหลังอีกด้วย
วิธีการป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน อาการปวดที่หลีกเลี่ยงได้
ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็ตาม ถ้าอาการเริ่มปรากฏขึ้นแล้ว ก็จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างแน่นอน โดยเฉพาะโรคในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่เชื่อมต่อไปยังระบบอื่น ๆ หากระบบลำไส้ของเราไม่ดี ย่อมส่งผลไม่ดีต่อร่างกายไปด้วยเช่นกัน วิธีป้องกันลำไส้แปรปรวนง่าย ๆ ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้ ตัวอย่างเช่น
วิธีการป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน
- หลีกเลี่ยงความเครียด เนื่องจากความเครียดส่งผลโดยตรงต่อระบบย่อยอาหาร หากมีความเครียดในระดับสูงอาจส่งผลให้อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารบีบเกร็ง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยท้องตามมา
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นไปที่ผักหรือผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
- นอนให้ครบ 8 ชั่วโมง
- ทานอาหารให้เป็นเวลา และไม่ควรอดอาหาร
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การวิ่ง โยคะ การเต้น ปั่นจักรยาน กระโดดเชือก เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
- ลดการทานชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล
สรุป
อย่างที่ทราบกันไปเบื้องต้นแล้วว่า IBS คือ ภาวะลำไส้แปรปรวน ที่ปัจจุบันยังไม่รู้แน่ชัดถึงสาเหตุของการเกิด ผู้ป่วยโรคนี้ ส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องเกร็งเป็นระยะเวลานาน มีอาการของท้องผูกและท้องเสียร่วมด้วย การวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะ เริ่มจากซักถามโรคที่มีอาการใกล้เคียงกัน เนื่องจากโรคนี้ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน จึงจำเป็นที่จะต้องสอบถามอาการให้ชัดเจน
ซึ่งโรคลำไส้แปรปรวน อาการปวดนี้อาจเกิดมาจากความเครียดสะสมของผู้ป่วย กรรมพันธุ์ การแพ้อาหารจำพวกนม กลูเตน ของทะเล รวมถึงการรับประทานยาต่าง ๆ ก็ส่งผลให้เกิดลำไส้แปรปรวนได้ โดยส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาตามอาการ แต่เราสามารถปรับพฤติกรรมการทานอาหาร การนอน การออกกำลังกาย และผ่อนคลายความเครียด จะช่วยให้หายมาเป็นปกติได้เร็วขึ้น