บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
ข่าวที่โด่งดังมากในช่วงหนึ่งก่อนหน้านี้ และ กลายเป็นที่หวาดวิตกของประชาชนบริเวณใกล้เคียงก็คือ ข่าวที่มีการพบกากสังกะสี และ กากแคดเมียม ซึ่งพบที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดแรกถึง 15,000 ตัน ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เมื่อดูเส้นทางเดินของการขนย้ายก็ยังพบกากดังกล่าวที่จตุจักรในกรุงเทพมหานครอีกด้วยและด้วยข่าวที่โหมกระหน่ำ และ การตามติดของกระทรวงสาธารณสุขทำให้หลาย ๆ ท่านเริ่มหันว่าหาคำตอบที่ว่าแคดเมียม คืออะไร มีอันตรายชนาดไหน ซึ่งเราจะขอพาทุกท่านไปพบกับคำตอบของคำถามเหล่านี้กัน
สารบัญ
- ทำความรู้จักแคดเมียม คือ อะไร?
- แคดเมียนสามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไรบ้าง?
- แคดเมียม ก่อให้เกิดโรคหรือผลกระทบต่อร่างกายอะไรบ้าง?
- อาการเป็นพิษจากแคดเมียม เป็นอย่างไร?
- วิธีป้องกันตัวเองและปฐมพยาบาล
ทำความรู้จักแคดเมียม คือ อะไร ?
ก่อนอื่นเลยเราก็ขอพาทุกท่านไปทราบกันก่อนว่า แคดเมียม คือ อะไร ทำไมหลาย ๆ ท่านจึงคุ้นเคยกับคำว่าแคดเมียนเป็นอย่างมาก โดย แคดเมียม คือ ธาตุโลหะชนิดหนึ่งที่ปรากฎอยู่ในตารางธาตุที่หลาย ๆ ท่านต้องท่องสมัยมัธยม แคดเมียนจึงเป็นธาตุที่หลาย ๆ ท่านพอคุ้นหูอยู่บ้าง
แคดเมียนมีสูตรทางเคมีว่า Cd มีลักษณะเป็นโลหะสีขาว แวววาว เมื่อสะท้อนแสงจะปรากฎเป็นสีน้ำเงิน มีความอ่อนตัว สามารถบิดงอปรับรูปได้ แต่คงทนต่อการสึกกร่อน มักถูกนำมาใช้ในการเคลือบโลหะชนิดอื่น เพื่อเพิ่มความคงทนกับกับโลหะชนิดนั้น ๆ และยังมีการนำแคดเมียมไปใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ เม็ดสี พลาสติก หรือแม้แต่พีวีซี
PM 2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ภัยร้ายใกล้ตัวแคดเมียมสามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไรบ้าง?
เมื่อเราทราบแล้วว่าแคดเมียม คืออะไร เราก็คงจะเกิดข้อสงสัยว่าเราจะมีโอกาสรับแคดเมียนเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไรบ้าง เพราะแคดเมียนนั้นเป็นโลหะ เราเองคงมีโอกาสเจอแคดเมียนในชีวิตประจำวันได้น้อยมาก ในส่วนนี้เราก็พบว่า เราสามารถรับแคดเมียนด้วยความไม่ตั้งใจเข้าสู่ร่างกายในทางต่าง ๆ ดังนี้
แคดเมียมสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยวิธี ดังต่อไปนี้
- การสัมผัสผ่านทางผิวหนัง อาจเกิดการตกค้างของแคดเมียนในพื้นที่หรือบริเวณต่าง ๆ แล้วเราไปสัมผัสกับแคดเมียมเหล่านั้นโดยตรง
- การสูดดม ส่วนนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ยากมาก เพราะการรับแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดมมักเกิดจากแคดเมียมที่ปะปนอยู่กับฝุ่นละอองในอากาศ
- การรับประทานหรือดื่ม ส่วนนี้มักเกิดจากแคดเมียมในอาหารหรือในน้ำดื่ม ที่ก็มักเป็นการรับแคดเมียนโดยตรงแบบไม่ตั้งใจ อาจมาจากแหล่งน้ำที่มีแคดเมียมปะปน หรือ การรับประทานอาหารที่มีแคดเมียมปะปน อย่างปลาในหนองน้ำที่มีแคดเมียน หรือ เนื้อวัวที่กินหญ้าที่เจริญเติบโตจากดินที่มีแคดเมียมปะปน เป็นต้น
แคดเมียม ก่อให้เกิดโรคหรือผลกระทบต่อร่างกายอะไรบ้าง?
เมื่อเราเผลอรับแคดเมียมเข้าไปในร่างกายแล้ว แคดเมียมจะถูกกระบวนการในร่างกายนำไปสะสมไว้ที่ตับและไต ในส่วนนี้ร่างกายก็มีกลไกตามธรรมชาติที่จะขับแคดเมียมออกมาทางปัสสาวะ แต่เป็นที่น่าเสียดายมากที่ระยะเวลาการขับแคดเมียมใช้เวลานานถึง 20 ปี
ดังนั้นแคดเมียม ผลกระทบต่อร่างกายได้ในระยะยาว และแคดเมียม โรคที่นำมาซึ่งความเสียหายอย่างหนักของร่างกายทั้งโรคอิไตอิไตที่พบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งตับอ่อน โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือแม้แต่การเกิดโรคกระดูกพรุนอย่างไม่ทราบสาเหตุในผู้ป่วยหลายราย และ โรคกระดูกเจริญผิดปกติ
อาการเป็นพิษจากแคดเมียม เป็นอย่างไร?
ทุกท่านคงทราบกันไปบ้างแล้วว่าแคดเมียมเป็นสารอันตราย ที่เมื่อเราได้รับเข้าไปแน่นอนว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก หากหลีกเลี่ยงได้และป้องกันไว้ก่อนก็จะดีกว่า โดยอาการเป็นพิษที่เกิดจากแคดเมียมก็เกิดได้ใน 2 ลักษณะ คือ
อาการเป็นพิษจากแคดเมียมมีลักษณะ ดังนี้
1.การเกิดพิษแคดเมียมแบบเฉียบพลัน
กรณีการเกิดพิษแบบเฉียบพลันนี้มักเกิดจากการสูดดมแคดเมียมเข้าไปในร่างกาย อาการปรากฎก็คือ การหายใจลำบาก หารหายใจติดขัด แน่นหน้าอก รวมไปถึงการหยุดหายใจได้เลย นอกจากอาการที่เกี่ยวข้องกับการหายใจยังมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
2.การเกิดพิษแคดเมียมแบบเรื้อรัง
ส่วนนี้มักเกิดกับผู้ที่ได้รับแคดเมียมสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน โดยหากเกิดการสะสมที่ไตก็ทำให้เกิดการอักเสบของไต ไตสูญเสียการทำงานอย่างเป็นปกติ นำไปสู่ไตวายเรื้อรังได้ ส่วนท่านใดที่แคดเมียมเข้าไปสะสมในกระดูกก็จะทำให้กระดูกเปราะ หรือ กระดูกพรุนได้ง่าย ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ร่างกายที่รับแคดเมียมเข้าไปจะไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติได้ พิษเรื้อรังจากแคดเมียมจึงเป็นพิษที่นำความเสียหายมาให้แก่ร่างกายอย่างถาวร
ไตวายเฉียบพลัน! ระวังเสียชีวิตไม่ทันตั้งตัววิธีป้องกันตัวเองและปฐมพยาบาล
แคดเมียมเป็นสารอันตรายที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่นอน ดังนั้นเราควรจะทราบวิธีการป้องกันตัวเองจากสารอัตรายนี้ รู้ไว้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตัวเองเสี่ยงอันตราย บทความนี้ ได้รวบรวมวิธีการป้องกันและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายไว้แล้ว ซึ่งมีดังนี้
วิธีการป้องกันและการปฐมพยาบาล มีดังนี้
- การสูดดม อย่างแรกที่ควรทำเลย คือ การออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด จากนั้นจึงรีบนำตัวส่งแพทย์โดยด่วน
- การกิน หลีกเลี่ยงการทำให้อ้วกโดยเด็ดขาด แต่ควรดื่มน้ำสะอาดเข้าไปอย่างน้อย 2 แก้ว จากนั้นจึงรีบนำตัวส่งแพทย์โดยด่วน
- การสัมผัส รีบถอดเสื้อผ้าที่สัมผัสกับแคดเมียม ล้างตัวผ่านน้ำสะอาดให้มากที่สุด แล้วรีบนำตัวส่งแพทย์โดยด่วน
- การเข้าตาล้างตาด้วยน้ำสะอาด หรือ น้ำเกลือสำหรับล้างตา จากนั้นจึงรีบนำตัวส่งแพทย์โดยด่วน เพื่อตรวจรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
สรุป
เมื่ออ่านบทความถึงจุดนี้ นอกจากเราจะทราบว่าแคดเมียม คืออะไร เรายังจะพบกับผลเสียเมื่อร่างกายได้รับแคดเมียนเข้าไป แต่เราก็ยังมีวิธีปฐมพยาบาลที่ช่วยลดความรุนแรงของพิษจากแคดเมียมได้ อย่างไรก็ดีการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาเสมอ ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงพิษที่เกิดจากแคดเมียมก็คือ การงดเว้นเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริเวณที่มีแคดเมียมโดยเด็ดขาด