การดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้าน ดูแลอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย

การดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้าน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         โรคไตกลายเป็นโรคที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลยในปัจจุบัน เพราะโรคไตเป็นโรคที่มีอัตราผู้ป่วยราว ๆ 11.6 ล้านคน และในผู้ป่วยจำนวนนี้ก็มีถึง 1 แสนล้านคนที่ต้องประคับประคองอาการด้วยการฟอกไต และมีการดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้านด้วย อีกทั้งยังมีอัตราของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี เมื่อมองไปรอบกายคุณก็อาจจะพบผู้ป่วยโรคไต

         ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตจึงเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลรักษาทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย ลดภาระของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ บทความนี้เราจึงขอเป็นหนึ่งตัวช่วยเผยเทคนิคเคล็ดลับในการดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้านกัน

สารบัญ

ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตที่เจอบ่อย

         โรคไต เกิดมาจากภาวะที่ไตมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกรองและขับถ่ายของเสียออกจากร่างได้แบบปกติ ส่งผลให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มักพบปัญหาสุขภาพ ซึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย มีดังต่อไปนี้

การดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้าน

ปัญหาสุขภาพผิว ที่พบได้บ่อยและนำมาซึ่งความรำคาญใจให้กับผู้ป่วยก็คืออาการคันที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง แก้ด้วยการใช้โลชันบำรุงผิวกายที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว

ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยโรคไต

  • ปัญหาสุขภาพผิว ที่พบได้บ่อยและนำมาซึ่งความยุ่งยากรำคาญใจให้กับผู้ป่วยก็คือ อาการคันที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง และผู้ป่วยก็มักจะเกาจนทำให้เกิดบาดแผลตามผิวกายจากการเกาตามมาได้ นอกจากนี้ก็มีจ้ำเลือดขึ้นตามผิวอีกด้วย
  • ปัญหาความยืดหยุ่นของผิว โดยจะพบได้ว่าเมื่อกดลงไปบนผิวหนัง จะปรากฎรอยบุ๋มบนผิว และรอยบุ๋มดังกล่าวนี้จะไม่นูนขึ้นมา หรือ คืนตัวช้ามาก
  • ปัญหาความถี่ในการปัสสาวะ เมื่อเป็นโรคไตที่รุนแรง ไตจะไม่สามารถดูดกลับของเสียที่เป็นของเหลวได้ดีเท่าที่ควร ทำให้ปัสสาวะบ่อยมาก แม้จะดื่มน้ำน้อย โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน ทำให้เกิดการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ

การดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

ในผู้ป่วยโรคไต มักมีการบวมของผิวหนังของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้า

การดูแลผู้ป่วยโรคไต

  • ร่างกายมีความอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ซึ่งหากเป็นการดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้าน ก็ควรให้มีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • มีปัญหาเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการรับรู้รสชาติที่น้อยลง รวมถึงรสชาติขมที่มักติดอยู่ในปากของผู้ป่วย และเมื่อรับประทานอาหารแล้วมักเกิดการอาเจียนออกมา
  • พบการปรากฎของก้อนเนื้อบริเวณไต

การล้างไต และการดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้าน

         ถัดมาในส่วนของการดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้านนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์เจ้าของไข้ก่อน จากนั้นเมื่อทีมแพทย์วินิจฉัยและทำการปรึกษาร่วมกับผู้ป่วยและผู้ดูแลแล้วว่าสามารถทำการล้างไตผู้ป่วยที่บ้านได้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การดูแลผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย

กลุ่มผู้ป่วยที่มักได้รับการดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้านมีดังนี้

  • ผู้สูงอายุที่เดินทางไปโรงพยาบาลได้ลำบาก
  • ผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก
  • ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่ต้องทำการล้างไตที่บ้านอย่างทันเวลา เพราะการดูแลผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง และอาจต้องทำไปตลอดชีวิต
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ อาทิเช่น เป็นโรคความดันโลหิตตก ซึ่งการเคลื่อนที่เกิดจากการเดินทางอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ความดันโลหิตตกเพิ่มขึ้นได้ หรือ ผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ และ ผู้ที่มีหัวใจเต้นเร็ว
เครื่องวัดความดัน
สนใจสั่งซื้อเครื่องวัดความดัน ALLWELL คลิกเลย!!

         ในส่วนของการล้างไตผู้ป่วยที่บ้านมีส่วนที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ทั้งนี้เนื่องมาจากการล้างไตที่บ้านไม่ได้เป็นการล้างไตในห้องปราศจากเชื้อเหมือนการล้างไตในห้องปลอดเชื้อที่โรงพยาบาล โดยมี 3 จุดหลัก ๆ ที่จะต้องมีการระมัดระวังเป็นพิเศษในขั้นตอนการล้างไต คือ

การดูแลไตเสื่อม

ข้อควรระวังในขณะล้างไตผู้ป่วย

  1. ความสะอาด : ในทุก ๆ ขั้นตอนของการล้างไต ควรรล้างมือให้สะอาด อาจมีการใส่ถุงมือร่วมด้วย และไม่ให้มือสัมผัสกับอุปกรณ์ เพื่อป้องกันผู้ป่วยเกิดอาการติดเชื้อ
  2. ความปลอดภัย : ผู้ป่วยโรคไต หากไม่ได้รับการดูแลที่ดี อาจจะทำให้เกิดการไตวายที่อาจก่อให้เกิดการเสียชีวิตได้ ดังนั้นควรมีการดูแลที่ถูกต้องตามขั้นตอน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
  3. ขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้อง : ผู้ดูแลผู้ป่วย ควรมีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้าน ให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง

บทความน่าสนใจเกี่ยวกับไต-โรคไต

การดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้าน ไม่ให้อาการแย่ลงไปกว่าเดิม

         เมื่อมีผู้ป่วยโรคไตหรือคนรอบข้างเป็นโรคไต แล้วคุณจะต้องทำการดูแล คุณควรทราบถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยเป็นโรคไตที่บ้านให้เหมาะสมกับแต่ละระยะ เพื่อไม่ให้อาการเกิดการแย่ลงไปกว่าที่เป็นอยู่ โดยการดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้านแต่ละระยะควรปฏิบัติดังนี้

วิธีดูแลคนเป็นโรคไต

การดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้าน

  • การดูแลผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 1 ในระยะนี้ไตยังคงทำงานได้ตามปกติ แต่มีการตรวจพบส่วนของโปรตีน เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาวปะปนออกมากับปัสสาวะ ผู้ที่ดูแลควรควบคุมปัจจัยที่นำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้น ทั้งการควบคุมอาการของโรคประจำตัวที่ทำให้เกิดโรคไต รวมไปถึงการงดสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา
  • ระยะที่ 2 เป็นระยะเริ่มต้นของการเป็นโรคไต ส่วนนี้ผู้ดูแลต้องควบคุมส่วนของประเภทของอาหารที่บริโภคเป็นพิเศษ โดยควรงดอาหารที่มีรสจัดจ้าน อย่าง เค็มจัด หรือ งดการปรุงรสที่มากเกินไปจากการใช้ผงชูรส ซุปก้อน หรือ ซีอิ๊ว และน้ำปลา

การดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้าน

กินเค็ม กินหวาน กินมัน พฤติกรรมเสี่ยงโรคร้าย อาจตายไม่รู้ตัว!

สรุป

         การดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้านเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความพิถีพิถัน ร่วมด้วยเทคนิคเคล็ดลับในการดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตสามารถประคับประคองอาการ รวมถึงสามารถมีชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้นได้ นอกจากส่วนของการดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บ้านในส่วนของสุขภาพแล้วนั้น ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยก็ต้องดูแลส่วนของสภาพจิตใจด้วย

         ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสภาพของจิตใจนั้น มีความเชื่อมโยงต่อสุขภาพของร่างกายเป็นอย่างมาก และอีกหนึ่งจุดสำคัญเลยก็คือ การที่ผู้ดูแลผู้ป่วยต้องมีการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเองร่วมด้วย เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีพร้อมที่จะดูแลผู้ป่วยต่อไป

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup