บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
ปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่มักจะใส่บาตรพระด้วยอาหารที่ทำสำเร็จรูป หรืออาหารถุง เพื่อความสะดวก แต่สิ่งที่เราชาวพุทธไม่ค่อยได้ตระหนักนั่นก็คือ อาหารที่เราใส่ไปนั้นดีต่อสุขภาพของพระสงฆ์หรือไม่ เพราะอาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน โซเดียมสูง
และเมื่อพระสงฆ์ต้องฉันอาหารตามที่ญาติโยมใส่ จึงทำให้พระสงฆ์เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา ลองเช็คกันดูว่าอาหารที่เราใส่บาตรนั้นจะทำให้สุขภาพของพระสงฆ์แย่ลงหรือไม่ วันนี้เราจึงได้นำ 5 ปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ ที่มักจะพบบ่อย ๆ มาบอกให้รู้กันว่ามีโรคอะไรบ้าง รู้ไว้เราชาวพุทธจะได้ใส่บาตรพระด้วยอาหารที่เหมาะสม และดีต่อสุขภาพของพระสงฆ์นั่นเอง
สารบัญ
- 5 โรคปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ ที่มักจะพบได้บ่อย ๆ
- สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพพระสงฆ์
- ดูแลอย่างไร ให้ห่างไกลโรคและปัญหาสุขภาพพระสงฆ์
5 โรคปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ ที่มักจะพบได้บ่อยๆ
ปัจจุบันมี พระสงฆ์ สามเณร ที่อาพาธ ป่วยเพิ่มขึ้นมากมาย ซึ่งโรคที่ พระสงฆ์ป่วย ส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมักมาจากการฉันอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง รวมถึงการที่พระสงฆ์อยู่ในเพศบรรพชิต ไม่ค่อยเอื้อในการออกกำลังกายเท่าไหร่ จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา ปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ ที่พบได้บ่อย 5 อันดับแรกก็จะมีดังนี้
5 โรคปัญหาสุขภาพพระสงฆ์
- โรคความดันโลหิตสูงภาวะความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่พบบ่อย ผู้ป่วยหลายรายอาจมีอาการดังกล่าวหลายปี แต่ยังไม่มีอาการที่เด่นชัดออกมา โดยจะสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือด และหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน หัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองโรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัยได้หมด ยิ่งพระสงฆ์ที่ออกกำลังกายมากไม่ได้ ประกอบกับอาหารที่ญาติโยมนำมาถวายอาจจะมีคอเลสเตอรอลสูง และมีส่วนในการเพิ่มความดัน จึงทำให้พระสงฆ์เกิดความดันสูงได้นั่นเอง
- โรคเบาหวานโรคเบาหวาน ถือเป็น ปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ อันดับต้น ๆ เลย โรคเบาหวานเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง ทำให้ไตไม่สามารถดูดกลับน้ำตาลได้หมด โดยปกติแล้วไตจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ ส่งผลทำให้น้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะจึงเกิดโรคเบาหวานในที่สุด ซึ่งคนไทยเรานั้นก็มักจะนิยมตักบาตรหรือถวายอาหารแด่พระสงฆ์ด้วยอาหารคาวหวานควบคู่กันอยู่เสมอ เป็นเหตุให้ท่านต้องทานของหวานเป็นประจำจนร่างกายมีน้ำตาลสูงเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้
ปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ อันดับต้น ๆ คือ โรคเบาหวาน ที่มาจากอาหารจำพวกของหวาน
- โรคไขมันในเลือดผิดปกติไขมันคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้น มักจะมาจากอาหารที่รับประทาน เช่น อาหารที่มีไขมันเยอะ รวมถึงอาหารที่มีน้ำตาลสูง และคอเลสเตอรอลสูงด้วย เมื่อไหร่ก็ตามที่ร่างกายมีไขมันมากเกินไป ไขมันก็จะไปเกาะตามผนังของเส้นเลือดถ้าไขมันในเส้นเลือดสูงมาก จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ได้ อาจทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนเกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้นั่นเอง ดังนั้นการถวายอาหารแด่พระสงฆ์ ก็ควรหลีกเลี่ยงที่มีคอเลสเตอรอลสูงด้วย
- โรคไตอีกหนึ่ง โรคที่พระสงฆ์ป่วย ที่พบบ่อยนั่นก็คือ โรคไต โรคไตนั้นเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยด้านพันธุกรรม และด้านพฤติกรรมของการกินอาหาร เช่น การรับประทานอาหารที่มีรสจัด เค็มจัด และอาหารที่มีโซเดียมสูงซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดไตวายเรื้อรังมากที่สุดก็มาจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และนิ่วทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ซึ่งพระสงฆ์ที่ป่วยด้วยโรคไตก็มักจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการนั่นเอง
- โรคข้อเข่าเสื่อมโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อนที่ป้องกันปลายกระดูกสึกหรอ โดยเป็นโรคข้ออักเสบชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดและสามารถเกิดขึ้นได้กับข้อต่อใดๆ แต่มักพบที่มือ เข่า สะโพก และกระดูกสันหลัง โรคข้อเข่าเสื่อมอาจทำให้เกิดอาการปวด ตึง บวม และเคลื่อนไหวได้ยากขึ้นซึ่งก็เป็นปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ที่พบได้บ่อยเช่นกัน เนื่องจากพระสงฆ์จะต้องมีการทำกิจวัตรประจำวันโดยการเดินบิณฑบาตในตอนเช้าทุกวัน และต้องนั่งสมาธิ หรือทำวัตรสวดมนต์เป็นเวลานาน ซึ่งล้วนมีผลต่อการเสื่อมของข้อเข่าทั้งสิ้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพพระสงฆ์
สาเหตุที่ทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ส่วนใหญ่ มักจะมาจากการฉันอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ และไม่ครบ 5 หมู่ เนื่องจากพระสงฆ์ไม่สามารถที่จะเลือกอาหาร มาปรุงเหมือนฆราวาสได้ ต้องฉันอาหารตามที่ญาติโยมชาวพุทธใส่มาให้
โดยเฉพาะอาหารยอดนิยมเช่น แกงเขียวหวาน ไข่พะโล้ อาหารผัด ทอด และขนมหวาน ที่ชาวพุทธมักจะนิยมใส่บาตรด้วยอาหารคาวหวานให้ครบ รวมถึงเครื่องดื่มอย่าง ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เมื่อฉันเข้าไปบ่อยๆ ก็จะส่งผลต่อ ปัญหาสุขภาพระยะยาว พระสงฆ์จำนวนมาก อาพาธด้วยโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต และยังเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน เนื่องจากแคลเซียมต่ำอีกด้วย
วิธีคุมเบาหวานให้อยู่หมัดง่ายๆ แค่เลือกทาน!ดูแลอย่างไร ให้ห่างไกลโรคและปัญหาสุขภาพพระสงฆ์
เมื่อเรารู้แล้วว่าอาหารที่เราใส่บาตรพระในทุก ๆ วันนั้นเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ เราจึงควรใส่บาตรด้วยอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพของพระสงฆ์ โดยการใส่บาตรด้วยอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพพระสงฆ์ มีดังนี้
อาหารที่ควรใส่บาตรพระสงฆ์
- ใส่บาตรพระด้วยอาหารที่มีความหลากหลายตามสัดส่วนที่เหมาะสม ให้พระได้ฉันครบ 5 หมู่ เหมาะสมเพียงพอต่อร่างกาย
- เน้นการใส่บาตรพระด้วยข้าวกล้อง หรือข้าวขัดสีน้อยที่สุด
- เน้นอาหารจำพวกผัก และผลไม้ในการใส่บาตรพระ โดยผลไม้จะต้องไม่เป็นผลไม้ที่หวานจนเกินไป
- ใส่บาตรพระด้วยอาหารประเภท ปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วและผลิตภัณฑ์ถั่ว เป็นประจำ
- ถวายน้ำปานะที่ไม่มีรสหวานจนเกินไป
ชุดสังฆทาน ถวายแบบไหนให้ได้บุญ
นอกจากที่ชาวพุทธที่ส่วนใหญ่มักจะใส่บาตรพระด้วยอาหารคาวหวานที่ทำสำเร็จรูป หรืออาหารถุง เพื่อความสะดวกแล้วนั้น ยังมีการทำบุญอีกหนึ่งแบบคือการ “ถวายสังฆทาน” อีกด้วย เราจึงขอแนะนำชุดสังฆทาน ที่ได้บุญอย่างแน่นอนค่ะ
นอกจากยาจะเป็นปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแล้ว อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน และนอกจากจะได้บุญแล้ว ยังเชื่อว่าส่งผลให้มีสุขภาพดีอีกด้วย
สังฆทาน “ชุดดูแลเบาหวาน”
ในชุดสังฆทานดูแลเบาหวาน ประกอบไปด้วย
- เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด ALLWELL รุ่น G-426 อุปกรณ์ครบชุด พร้อมใช้งานได้เลย
- กล่องใส่ยา 7 วัน
- หน้ากากอนามัยสำหรับพระสงฆ์ 10 ชิ้น
สังฆทาน “ชุดดูแลความดัน”
ในชุดสังฆทานดูแลความดัน ประกอบไปด้วย
- เครื่องวัดความดันโลหิต ALLWELL รุ่น BSX-593 ที่ใช้งานง่ายเพียงกดปุ่มเดียว
- กล่องใส่ยา 7 วัน
- หน้ากากอนามัยสำหรับพระสงฆ์ 10 ชิ้น
สังฆทาน “ชุดวัดออกซิเจน”
ในชุดสังฆทานวัดออกซิเจน ประกอบไปด้วย
- เครื่องวัดอุณหภูมิดิจิตอล ALLWELL รุ่น T14 วัดผลไว บันทึกค่าได้ และวัสดุไม่มีสารอันตราย
- กล่องใส่ยา 7 วัน ที่สามารถแบ่งช่องได้ 4 ช่องต่อวัน
- ตลับตัดยา
- หน้ากากอนามัยสำหรับพระสงฆ์ 10 ชิ้น
สังฆทาน “ชุดดูแลสุขภาพ”
ในชุดสังฆทานดูแลสุขภาพ ประกอบไปด้วย
- เครื่องวัดอุณหภูมิดิจิตอล ALLWELL รุ่น T14 วัดผลไว บันทึกค่าได้ และวัสดุไม่มีสารอันตราย
- กล่องใส่ยา 7 วัน ที่สามารถแบ่งช่องได้ 4 ช่องต่อวัน
- ตลับตัดยา
- โลชั่นออแกนิก สำหรับบำรุงผิวกาย
สรุป
และนี่ก็คือ 5 โรคยอดฮิตที่มักจะพบในพระสงฆ์ ซึ่งปัญหาของโรคเหล่านี้มักจะมาจากการที่พระสงฆ์ฉันอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ ฉันตามที่ญาติโยมได้ใส่บาตรให้ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เมื่อเราชาวพุทธรู้อย่างนี้แล้ว ควรตระหนักถึงอาหารที่เราจะนำไปใส่บาตรพระว่าดีต่อสุขภาพของพระสงฆ์หรือไม่ เพราะพระสงฆ์อยู่ในเพศบรรพชิตไม่เอื้อที่จะออกกำลังกาย เพราะฉะนั้นเราจึงควรใส่บาตรด้วยอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นการดีที่สุด