บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
อาการเลือดไหลไม่หยุด หรือ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำเป็นหนึ่งกลุ่มอาการที่ไม่นับเป็นโรค แต่เป็นกลุ่มอาการที่เกิดสืบเนื่องมาจากการเป็นโรคบางชนิด ดังนั้นหากเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำขึ้นในร่างกายก็จะเป็นหนึ่งสัญญาณที่เจ้าของร่างกายสามารถทราบได้ถึงความผิดปกติบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นกับร่างกายของตน และอาการดังกล่าวนี้ก็นำไปสู่อันตรายถึงชีวิตที่เราจะขอกล่าวต่อไปในบทความ
สารบัญ
เกล็ดเลือด คือ อะไร ?
เกล็ดเลือด(Platelet) จัดเป็นหนึ่งองค์ประกอบที่มีอยู่ในเม็ดเลือด ซึ่งร่างกายของเราสร้างขึ้นจากไขสันหลัง เกล็ดเลือดนี้ก็จะไหลเวียนอยู่ภายในกระแสเลือดเป็นระยะเวลาประมาณ 10 วัน จากนั้นเกล็ดเลือดเหล่านี้ก็จะถูกทำลายบริเวณตับและม้าม แล้วเกล็ดเลือดชุดใหม่ก็จะถูกสร้างมาแทนที่เกล็ดเลือดชุดเดิมที่ถูกทำลายไป โดยเกล็ดเลือดเหล่านี้มีหน้าที่ทำให้เลือดเกิดการแข็งตัวเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บแล้วเกิดการไหลของเลือด
ค่าเกล็ดเลือดปกติ คือ เท่าไหร่ ?
ก่อนที่เราจะทราบว่าเกล็ดเลือดต่ำมีค่าเท่าไร เราต้องทราบกันก่อนว่าเกล็ดเลือดปกติเท่าไหร่ โดยค่าเกล็ดเลือดปกติมีค่าอยู่ที่ประมาณ 150,000 – 450,000 ตัวต่อปริมาณเลือด 1 ลูกบากศ์มิลลิเมตร ส่วนค่าเกล็ดเลือดต่ำ หรือ Thrombocytopenia เป็นค่าเกล็ดเลือดที่น้อยกว่า 150,000 – 450,000 ตัวต่อปริมาณเลือด 1 ลูกบากศ์มิลลิเมตรนั่นเอง
อาการใดบ่งบอกว่าเกล็ดเลือดต่ำ ?
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ อาการที่ปรากฎขึ้นไม่ได้มีอาการเหมือนกันในทุกท่าน ในบางท่านก็ไม่ปรากฎอาการใด ๆ ที่บ่งบอกถึงอาการเกล็ดเลือดที่ต่ำเลย บทความนี้ได้รวบรวมอาการเบื้องต้น โดยในผู้ที่ปรากฏอาการของเกล็ดเลือดที่ต่ำมีดังนี้
1.อาการปรากฎบนผิวหนัง
ไม่ว่าจะเป็นอาการช้ำ หรือ จ้ำเลือด หรือ รอยช้ำสีต่าง ๆ ทั้งสีน้ำตาล สีม่วง หรือ สีแดง ที่ปรากฎบนผิวหนัง ในบางท่านที่เกิดภาวะเกล็ดเลือดที่ต่ำนี้ก็มีอาการผื่นสีม่วง หรือ สีแดง ปรากฏบนผิวหนัง
2.เลือดออกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยอวัยวะที่เลือดออกมากที่สุดสองอวัยวะก็คือ ส่วนของจมูก และ เหงือก ส่วนของเหงือกนี้จะเกิดการออกของเลือดในปริมาณมากโดยเฉพาะเวลาที่แปรงฟัน
3.เลือดไม่หยุดไหลเมื่อเกิดบาดแผล
ส่วนนี้เป็นอันตรายร้ายแรงอย่างมาก เพราะเมื่อเกิดบาดแผลขึ้นบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกายแล้วนั้นก็จะเกิดการไหลของเลือดมากกว่าปกติ เลือดหยุดไหลช้ามาก รวมไปถึงบางรายเลือดก็ไม่หยุดไหล
4.ปริมาณเลือดประจำเดือนที่ผิดปกติ
เลือดของเสียจากประจำเดือนเป็นเลือดอีกชนิดที่สตรีที่มีภาวะเกล็ดเลือดที่ต่ำกว่าปกติสามารถสังเกตได้โดยง่าย เพราะสตรีที่มีภาวะนี้เมื่อมีประจำเดือนจะมีเลือดประจำเดือนมากกว่าสตรีโดยทั่วไป
5.การปรากฎของเลือดปะปนออกมากับของเสียอื่น ๆ
ไม่ว่าจะเป็นสีของอุจจาระที่เข้มขึ้น หรือ แม้แต่ส่วนของปัสสาวะที่มีเลือด ซึ่งกรณีทั้งสองนี้เป็นภาวะที่บ่งบอกว่ามีการไหลของเลือดในอวัยวะภายใน
อ่านบทความ : ปวดท้องประจำเดือน อันตรายไหม? ปวดแบบไหนต้องไปหาหมอเกล็ดเลือดต่ำ เกิดจากอะไร ?
ทุกท่านอาจจะมีคำถามที่ยังคงเป็นที่น่าวิตกกังวล เกล็ดเลือดต่ำเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเมื่อเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำแล้วจะอันตรายไหม บทความนี้ได้รวบรวมมาให้ทุกท่านแล้วว่าเกล็ดเลือดต่ำ เกิดได้จากหลายหลายสาเหตุ มีสาเหตุอะไรบ้าง มาดูกันเลย
สาเหตุของเกล็ดเลือดต่ำ
- พันธุกรรม เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการสร้างเกล็ดเลือดที่ไม่ปกติ พันธุกรรมดังกล่าวก็เช่น ภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง หรือ Wiskott – Aldrich Syndrome
- ไขกระดูกฝ่อ เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเกล็ดเลือดได้ในระดับปกติ ส่วนของไขกระดูกฝ่อก็เกิดจากโรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
- การเป็นโรคมะเร็งโดยเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการทำลายเซลล์ต้นกำเนิดหรือ Stem Cell โดยโรคมะเร็งเหล่านี้ก็เช่น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
- การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีรุนแรงจากการรักษาโรคอย่างเคมีบำบัด หรือ การฉายรังสี ถัดมาก็คือสารเคมีจากการประกอบอาชีพทั้งสารหนู หรือ สารกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
- การใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน ยาเหล่านี้มักทำให้เกิดผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด และ การสร้างเกล็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็นยาแอสไพริน, ยาคลอแรมเฟนิคอล, ยาไอบูโปรเฟน หรือ ยาขับปัสสาวะ
- การเป็นโรคบางชนิดที่เกิดจากเชื้อไวรัส ทั้งส่วนของโรคเอดส์, โรคตับอักเสบซี, โรคอีสุกอีใส, โรคหัดเยอรมัน หรือ โรคคางทูม เป็นต้น
- การดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ Alcohol เป็นเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดการชะลอการสร้างของเกล็ดเลือด และ ทำให้เกล็ดเลือดลดลง
วิธีเพิ่มเกล็ดเลือดด้วยตนเอง
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำสามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุที่เราได้ทราบกันไป แต่รู้หรือไม่ว่าคุณเองก็สามารถเพิ่มเกล็ดเลือดให้กับตัวเองได้ บทความนี้ Allwell ได้รวบรวมวิธีเพิ่มเกล็ดเลือดด้วยตนเอง ทำง่ายๆได้ที่บ้าน ทุกท่านสามารถเพิ่มเกล็ดเลือดได้ด้วยตัวเองดังวิธีการต่อไปนี้
- รับประทานอาหารช่วยเพิ่มเกล็ดเลือด อาหารที่มีส่วนผสมของวิตามินบี 12 จะช่วยเพิ่มปริมาณเกล็ดเลือดในร่างกายได้เป็นอย่างดี
- ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ ควรออกกำลังกายเป็นประจำ แต่หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่รุนแรง หรือ ต้องใช้แรงอย่างหนัก
- พักผ่อนให้เพียงพอ ทั้งการพักผ่อนร่างกาย และ การพักผ่อนจิตใจ
สรุป
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำกับอีกหนึ่งกลุ่มอาการที่เจ้าของร่างกายสามารถรับรู้และรับทราบได้ด้วยตนเอง และเมื่อใดก็ตามที่เกิดภาวะดังกล่าวขึ้นกับคุณเอง หรือ คนใกล้ชิดของคุณ คุณก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แล้วรีบเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และหาสาเหตุของโรคที่นำมาสู่อาการเกล็ดเลือดต่ำ เพื่อให้คุณสามารถรักษาจากอาการนี้ให้หาย รวมไปถึงรักษาโรคอันเป็นที่มาของเกล็ดเลือดต่ำ