บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
การขับถ่ายปกติ คือ ทุกเช้าหลังจากตื่นนอน ซึ่งการขับถ่ายของแต่ละคนนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป และรู้หรือไม่ว่าลักษณะของการขับถ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้นสามารถบ่งบอกได้ถึงความผิดปกติของร่างกายได้ด้วย โดยเฉพาะการ ถ่ายเป็นเลือด เมื่อไหร่ก็ตามที่สังเกตเห็นว่า ถ่ายมีเลือดปน หลายคนเกิดความกลัวว่าจะเป็นโรคร้ายแรง อย่างเช่น มะเร็งลำไส้ อย่างไรก็ตามอย่าเพิ่งตื่นตระหนกตกใจไปก่อน เรามีข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายเป็นเลือด มาฝากเพื่อทุกคนจะได้สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นว่าบ่งบอกถึงอะไรบ้าง
สารบัญ
- ถ่ายเป็นเลือดแบบไหน บอกโรคอะไรบ้าง
- อาการถ่ายเป็นเลือด เมื่อไหร่ควรมาพบแพทย์
- ป้องกันถ่ายเป็นเลือดทำได้ง่ายด้วยการดูแลตัวเอง
ถ่ายเป็นเลือดแบบไหน บอกโรคอะไรบ้าง
เลือดในอุจจาระหรือการ ถ่ายเป็นเลือดสดไม่เจ็บ ที่เรียกว่าเลือดออกทางทวารหนัก สามารถเกิดได้จากปัจจัยหลายประการ โดยการ อุจจาระเป็นเลือด ในแต่ละบุคคลนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ทำให้ความรุนแรงของโรคที่มีอาการจากการถ่ายเป็นเลือดไม่เหมือนกัน ซึ่งเราสามารถดูได้จากปริมาณของเลือดที่ออกมา และจำนวนครั้งที่มีการ ถ่ายเป็นเลือด ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกมากจะมีโอกาสเกิดโรคได้มากกว่า และหากอุจจาระออกมาแล้วมีเลือดหยดตามหลัง อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดบาดแผลที่เส้นเลือดดำส่วนปลายทวารอีกด้วย ดังนั้นเรามาดูสิว่าการ ถ่ายเป็นเลือดเหมือนประจำเดือน บ่งบอกได้ถึงโรคอะไรบ้าง เพื่อจะได้สังเกตตัวเองและรักษาได้ทันนั่นเอง
1.โรคริดสีดวงทวาร
คนที่เป็นริดสีดวงทวาร จะมีอาการเส้นเลือดดำบวมในทวารหนัก จึงทำให้มีเลือดปนมากับอุจจาระได้ และเลือดมักเป็นสีแดงสด ทั้งยังมีอาการเจ็บปวดมากเมื่อเบ่งอุจจาระ ซึ่งหากก้อนริดสีดวงมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถรักษาให้ยุบลงได้ ก็จะต้องผ่าตัดเพื่อเอาก้อนริดสีดวงออกไป
2.ลำไส้ใหญ่อักเสบ
การที่มีเลือดออกมากับอุจจาระ ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้เหมือนกัน ซึ่งโรคนี้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลว ถ่ายบ่อยและมีเลือดปนออกมา รวมถึงอาจมีไข้และปวดท้องร่วมด้วย หากปล่อยไว้นานๆ ก็จะเป็นอันตรายได้
3.เลือดออกในทางเดินอาหาร
การมีเลือดออกในทางเดินอาหารจากสภาวะต่าง ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร โรคถุงผนังลำไส้ หรือโรคลำไส้อักเสบ ก็อาจทำให้ถ่ายเป็นเลือดได้ ซึ่งเลือดอาจปรากฏเป็นสีเข้มหรือสีดำในอุจจาระ
4.ติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่หรือมะเร็ง
ในบางกรณี เลือดในอุจจาระอาจเป็นสัญญาณของติ่งเนื้อหรือมะเร็งในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก ซึ่งเลือดอาจมีสีแตกต่างกันไป ตั้งแต่สีแดงสดไปจนถึงสีเข้ม สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องผูกสลับกับถ่ายเหลวเป็นบางครั้ง และมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง เป็นต้น
5.โรคลำไส้ขาดเลือด
โรคนี้มีสาเหตุมาจากการที่ไม่มีเลือดไหลเวียนเข้าไปในลำไส้ จนกระทั่งเซลล์ลำไส้ตายลง ไม่สามารถทำงานได้ปกติ ซึ่งหากมีอาการรุนแรงก็จะถ่ายเป็นเลือด ร่วมกับมีอาการปวดท้องอย่างหนัก โดยบางคนอาจถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้เลยทีเดียว โรคนี้มีความรุนแรงมาก ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจ หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที
อ่านบทความ : อาการริดสีดวง เริ่มแรกเป็นอย่างไร? รู้เร็ว รักษาไว เจ็บน้อยกว่า!อาการถ่ายเป็นเลือด เมื่อไหร่ควรมาพบแพทย์
ถ่ายเป็นเลือด เกิดจากการขับถ่ายปกติแต่กลับมีลักษณะการ ถ่ายเป็นมูกเลือด มีเลือดปะปนออกมา ซึ่งแต่ละคนจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน บางครั้งอาจถ่ายอุจจาระออกมาแล้วแต่กลับมีเลือดหยดตามหลัง หรือ ถ่ายเป็นเลือด มีเลือดปนอยู่ในนั้น ทำให้อุจจาระเป็นสีแดงต่างไปจากสีปกติ ซึ่งการถ่ายเป็นเลือดในแต่ละแบบ จะช่วยให้วินิจฉัยโรคออกมาได้ไม่เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดจึงเป็นหนึ่งในอาการของหลาย ๆ โรค ไม่ใช่แค่ โรคริดสีดวงเท่านั้น ดังนั้นเมื่อมีอาการ ถ่ายเป็นเลือดสด ร่วมกับมีอาการปวดท้อง หรือมีเลือดออกมาในปริมาณ และบ่อย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยโรคที่อาจเกิดขึ้น และทำการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรชะล่าใจและปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยเด็ดขาด
ป้องกันถ่ายเป็นเลือดทำได้ง่ายด้วยการดูแลตัวเอง
ทุกท่านคงทราบเกี่ยวกับอาการถ่ายเป็นเลือดเบื้องต้นไปแล้ว แน่นอนว่าถ่ายเป็นเลือดไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก ถ่ายเป็นเลือดเสี่ยงอันตรายเป็นโรคร้ายได้เลย เพื่อป้องกันการเกิดโรคร้าย อย่างโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นมะเร็งที่ถูกพบมากเป็นอันดับต้น ๆ หรือลดควาเสี่ยงของการเกิดโรคอื่น ๆ สามารถดูแลตนเองได้ง่าย ๆ ดังนี้
วิธีป้องกันการถ่ายเป็นเลือด มีดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผักและผลไม้ กล้วย หรือมะละกอ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
- ขับถ่ายทันที ไม่ควรกลั้นเอาไว้นาน ๆ เนื่องจากจะทำให้ลำไส้ใหญ่ทำงานไปพร้อม ๆ กัน เพื่อดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เหลืออุจจาระเริ่มแข็งตัวเพราะขาดน้ำ ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา เช่น หลังจากตื่นนอน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อมีกำลังดีจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
- เมื่อทำธุระส่วนตัวเสร็จควรล้างด้วยน้ำมากกว่าการใช้กระดาษทิชชูเช็ด เพราะหากกระดาษที่ใช้ไม่มีความนุ่มละเอียด อาจเกิดการถลอกของเนื้อเยื่อทวารหนักได้ นำไปสู่กี่สะสมของเชื้อโรคและ ทำให้เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อได้ จึงควรให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดเป็นอย่างงมาก เลือกใช้กระดาษชำระที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน
สรุป
ดังนั้นหากใครที่เคยมีระบบการขับถ่ายที่เป็นปกติ แต่เริ่มสังเกตเห็นได้ว่ามีเลือดปนออกมาควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยโรคที่อาจจะเกิดขึ้นทันที เพราะการถ่ายปะปรเลือดออกมาถือเป็นสัญญาณความผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่ง บางครั้งเราอาจไม่สามารถวินิจฉัยอาการป่วยได้ด้วยตนเอง การพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องจึงดีกว่าแน่นอน