6 วิธีกระตุ้นการขับถ่าย ถ่ายง่าย สบายท้อง

วิธีกระตุ้นการขับถ่าย

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         หลาย ๆ คน มักจะประสบปัญหาในเรื่องของการขับถ่าย ซึ่งร่างกายของคนเราควรมีการขับถ่ายของเสียทุกวัน เนื่องจากว่าถ้าหากไม่ได้รับการขับถ่ายของเสีย อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพด้านต่าง ๆ หรืออาจทำให้การทำงานของอวัยวะบกพร่องขึ้นมา ในบทความนี้ เราได้รวบรวม 6 วิธีกระตุ้นการขับถ่าย ที่สามารถทำตามได้สำหรับทุกเพศทุกวัยเลยค่ะ

สารบัญ

6 วิธีกระตุ้นการขับถ่าย

         ปัญหาอย่างหนึ่งที่เราหรือคนรอบข้างมักพบเจอในชีวิตประจำวันก็คือ เรื่องของระบบขับถ่าย อาการถ่ายยากบ้าง อาการท้องผูกบ้าง ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวันไม่มากก็น้อยเลย แถมยังส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ อีกด้วย เราขอแนะนำ 6 วิธีกระตุ้นการขับถ่าย ที่สามารถทำตามได้ทุกเพศทุกวัย ที่จะช่วยให้คุณขับถ่ายได้เป็นปกติ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

วิธีกระตุ้นการขับถ่าย

6 วิธีกระตุ้นการขับถ่าย

  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อร่างกาย เป็นการรักษาความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน เนื่องจากน้ำจะช่วยให้อุจจาระนิ่มลงและทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
  • การเพิ่มปริมาณไฟเบอร์ในมื้ออาหาร โดยการบริโภคผลไม้ ผัก เมล็ดธัญพืช และพืชตระกูลถั่ว ก็จะสามารถช่วยเพิ่มจำนวนอุจจาระและส่งเสริมการเคลื่อนตัว บีบตัวของลำไส้อย่างสม่ำเสมอ
  • การออกกำลังกาย และการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้ การทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเดิน จ็อกกิ้ง หรือโยคะ เพื่อเป็นการกระตุ้นการขับถ่ายตอนเช้า จะช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อในลำไส้ เพื่อส่งเสริมการเคลื่อนตัวของลำไส้อย่างสม่ำเสมอ

วิธีกระตุ้นการขับถ่าย

  • การนั่งถ่ายที่ถูกวิธี โดยมีการเปลั่ยนวิธีการนั่งขับถ่ายจากเดิมที่เท้าอยู่ที่พื้น ให้หาเก้าอี้หรือฐานรอง มารองบริเวณเป้า ให้มีลักษณะของเข่าที่สูงขึ้น โดยให้เหนือจากช่วงสะโพกขึ้นไป และทำการโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย จะช่วยทำให้มีการขับถ่ายที่คล่องขึ้น
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการขับถ่าย อย่างเช่น นมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต โดยจะต้องมีการกินให้ถูกเวลาควบคู่กันไปด้วย ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ 05.00 – 07.00 น. เนื่องจากจะเป็นช่วงเวลาที่ระบบขับถ่ายและลำไส้ใหญ่ทำงาน พวกจุลินทรีย์ต่าง ๆ ที่อยู่ในนมเปรี้ยว และโยเกิร์ตจะช่วยกระตุ้นการขับถ่ายตอนเช้าได้
  • ลดความเครียด เพิ่มเวลาพักผ่อน เนื่องจากความเครียด และการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ จะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้ส่งผลต่อร่างกายในระยะยาวได้ อย่างเช่น โรคความดัน โรคเครียด
เครื่องวัดความดัน
เช็กด่วน! กินน้ำเยอะดีไหม กินน้ำมากไปมีผลเสียหรือเปล่า?

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก

         อาการท้องผูกเป็นปัญหาทั่วไปที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก เกิดขึ้นเมื่อการเคลื่อนตัวของลำไส้ยากต่อการขับถ่าย แม้ว่าอาการท้องผูกมักถูกมองว่าเป็นเพียงอาการผิดปกติเล็กน้อย แต่จริง ๆ แล้วอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก มีดังนี้

กระตุ้นระบบขับถ่าย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก

  • การได้รับใยอาหารไม่เพียงพอ อาหารที่มีเส้นใยต่ำอาจทำให้การย่อยอาหารช้าลง และอุจจาระมีก้อนน้อยลง ทำให้ถ่ายยากขึ้น
  • การขาดกิจกรรมอย่างการออกกำลังกาย การใช้ชีวิตแบบนั่งนิ่ง ๆ เฉย ๆ อาจทำให้ท้องผูกได้ เนื่องจากการออกกำลังกาย หรือการขยับตัว จะช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อในลำไส้ ที่จะช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย
  • ยาบางชนิดก็มีผลต่อระบบขับถ่าย ยาบางชนิด เช่น opioids และ antacids อาจทำให้ท้องผูกได้โดยการทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวช้าลง
  • ภาวะทางการแพทย์ เช่น ภาวะพร่องของไทรอยด์ และอาการลำไส้แปรปรวนสามารถรบกวนการทำงานของลำไส้ปกติได้ ทำให้เกิดการท้องผูกได้

อันตรายจากอาการท้องผูกไม่ขับถ่าย

         การที่เราไม่ได้ขับถ่ายทุกวัน หรือขับถ่ายไม่เป็นเวลา อย่าเพิ่งมองว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะการที่เราขับถ่ายผิดปกตินั้นจะเกิดอาการท้องผูก และส่งผลไปต่อสุขภาพทางด้านอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งอันตรายจากอาการท้องผูก ไม่ขับถ่ายนั้น มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

กระตุ้นการทำงานของลำไส้

อันตายจากอาการท้องผูก

  1. อาการท้องผูกจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่โดยทั่วไปรวมถึงการเคลื่อนไหวของลำไส้ไม่บ่อย อุจจาระลำบาก และความรู้สึกของการขับถ่ายที่ไม่สมบูรณ์ อาการอื่น ๆ อาจรวมถึงปวดท้อง ท้องอืด และรู้สึกไม่สบายทั่วไป สิ่งสำคัญคือต้องรับรู้อาการเหล่านี้และแก้ไขทันทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติม
  2. ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากอาการท้องผูกที่ไม่ได้รับการรักษาคือการอุดตันของลำไส้และลำไส้ เมื่ออุจจาระก่อตัวขึ้นในลำไส้ มันสามารถก่อตัวเป็นก้อนแข็งปิดกั้นทางเดินของอุจจาระ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องอืด และถึงขั้นอาเจียนได้ ในบางกรณี อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อเอาสิ่งอุดตันออกและฟื้นฟูการทำงานของลำไส้ตามปกติ
  3. อาการท้องผูกเรื้อรัง ยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคถุงผนังอวัยวะอักเสบ และโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคถุงผนังลำไส้อักเสบเกิดขึ้นเมื่อมีถุงเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นที่ผนังของลำไส้ใหญ่ มักเกิดจากแรงดันที่เพิ่มขึ้นจากการเบ่งระหว่างการเคลื่อนไหวของลำไส้ หากถุงเหล่านี้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ อาจนำไปสู่โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ
มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการท้องผูกเรื้อรังแฝงโรคร้ายโดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว!

8 อาหารกระตุ้นการขับถ่าย

         การกินยาเพื่อช่วยในการขับถ่ายไม่ใช่วิธีการรักษาอาการท้องผูกในระยะยาว หากกินยาระบายเป็นประจำ ทำให้ร่างกายเคยชินกับการได้รับยา เมื่อหยุดยาก็จะกลับมาท้องผูกซ้ำอีก ดังนั้นการปรับพฤติกรรมการกินอาหาร เป็นวิธีที่ได้ผลดีมาก เมื่อควบคุมไปพร้อมกับการรักษาของแพทย์ ก็จะมีการกินอาหารกระตุ้นการขับถ่าย ซึ่งเราได้รวบรวมอาหารต่าง ๆ มาไว้ให้แล้ว

อาหารกระตุ้นการขับถ่าย

8 อาหารกระตุ้นการขับถ่าย

  • ถั่วและธัญพืชชนิดต่าง ๆ เนื่องจากถั่วและธัญพืชอุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่ช่วยในเรื่องของการขับถ่ายแล้ว ยังอุดมไปด้วยโปรตีนอีกด้วย
  • โยเกิร์ตและนมเปรี้ยว เนื่องจากโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวอุดมไปด้วยจุลินทรีย์ที่ดีที่ช่วยในเรื่องของการขับถ่าย โดยจะต้องมีการกินให้ถูกเวลาควบคู่กันไปด้วย ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ 05.00 – 07.00 น. เนื่องจากจะเป็นช่วงเวลาที่ระบบขับถ่ายและลำไส้ใหญ่ทำงาน
  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี นอกจากผลไม้ตระกูลเบอร์รีจะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระแล้ว ยังอุดมไปด้วยใยอาหารที่ช่วยในเรื่องของการขับถ่ายอีกด้วย
  • ข้าวโอ๊ต เนื่องจากข้าวโอ๊ตอุดมไปด้วยใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย จะช่วยลดอาการท้องผูกได้

วิธีกระตุ้นการขับถ่าย

  • แอปเปิ้ล เนื่องจากแอปเปิ้ลอุดมไปด้วยไฟเบอร์ และกากใยอาหาร ไม่ว่าเป็นทั้งเนื้อและเปลือกของแอปเปิ้ล
  • ลูกพรุน เนื่องจากลูกพรุนมีไฟเบอร์สูง ที่มีส่วนช่วยให้การทำงานของลำไส้ใหญ่ ทำให้ถ่ายได้คล่องมากยิ่งขึ้น
  • มะละกอ ในเนื้อมะละกอสุก จะมีฤทธิ์เป็นเหมือนยาระบายอ่อน ๆ ที่ช่วยในการแก้อาการท้องผูก
  • เมล็ดเจีย นอกจากจะอุดมไปด้วยไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการขับถ่ายแล้ว เมล็ดเจียอุดมไปสารอาหารมากมาย

สรุป

         อาการท้องผูกนอกจากจะส่งผลต่อระบบขับถ่ายโดยตรงแล้ว ยังส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายตามกันไปด้วย ซึ่งการดูแลตัวเองประกอบกับการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตประจำวันจะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้นแล้ว ยังมีอีก 6 วิธีกระตุ้นการขับถ่ายที่เราได้นำมาฝากกัน หากใครทำตามแล้ว ปรับเปลี่ยนแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไป

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup