บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
อีกหนึ่งโรคร้ายที่หลายคนละเลยแต่เป็นโรคที่พบได้บ่อย และเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัยก็คือ หินปูนเกาะเส้นเลือด ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยและสาเหตุหลาย ๆ อย่าง สำหรับโรคนี้นับว่าเป็นโรคอันตรายที่มีความน่ากลัวไม่แพ้โรคร้ายอื่น ๆ กันเลยทีเดียว เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน หรือหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจถึงแก่ชีวิตได้ บทความนี้เราเลยจะพาคุณไปทำความรู้จักกับภาวะ แคลเซียมเกาะเส้นเลือด เกิดจาก อะไร มีวิธีป้องกันหรือไม่ เพื่อให้คุณและคนรักสามารถดูแลตนเองให้มีสุขภาพแข็งแรงตลอดเวลา
สารบัญ
- แคลเซียมเกาะเส้นเลือด เกิดจากอะไร?
- แคลเซียมเกาะเส้นเลือด อาการเป็นอย่างไร?
- แคลเซียมเกาะเส้นเลือดรักษาได้ไหม
- วิธีป้องกันแคลเซียมเกาะเส้นเลือด
- ใครบ้างที่ควรตรวจแคลเซี่ยมในหลอดเลือดหัวใจอย่างสม่ำเสมอ
แคลเซียมเกาะเส้นเลือด เกิดจากอะไร?
แคลเซียมเกาะเส้นเลือด เกิดจาก หินปูนที่เกาะที่ผนังหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง และเกิดขึ้นก่อนเกิดอาการของโรคหัวใจ จากการศึกษาพบว่าปริมาณแคลเซียม หรือการเกิด หินปูนหัวใจ สามารถทำนายโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ นอกจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือการสูบบุหรี่ แล้วภาวะแคลเซียมเกาะที่หลอดเลือดก็เป็นหนึ่งในความเสี่ยงต่อการเกิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันได้ด้วยเช่นกัน
อ่านบทความ : ไขมันอุดตันในเส้นเลือด อาการอันตรายที่ต้องเฝ้าระวังให้ดี!!แคลเซียมเกาะเส้นเลือด อาการเป็นอย่างไร?
หินปูนเกาะหัวใจ อาการ เป็นอย่างไร หลายคนไม่เคยรู้มาก่อนว่าอาการและ แคลเซียมเกาะเส้นเลือด เกิดจาก อะไร ทำให้เกิดการละเลย จนเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่าง ๆ ตามมา โดยอาการ แคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ มักจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
อาการแคลเซียมเกาะเส้นเลือด มีดังนี้
- มีภาวะหัวใจขาดเลือด อาการเจ็บหน้าอก
- มีอาการชาที่ปลายแขนขา
- เกิดภาวะความดันโลหิตลดลง ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
แคลเซียมเกาะเส้นเลือดรักษาได้ไหม
ภาวะแคลเซียมเกาะหัวใจ หรือแคลเซียมเกาะเส้นเลือดเป็นภาวะที่ร้ายแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้ แต่ก็สามารถรักษาได้โดยการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะแคลเซียมเกาะเส้นเลือด เกิดจาก สาเหตุใด และอยู่ในระดับไหน ซึ่งการรักษาจะใช้วิธีการดังต่อไปนี้
วิธีการรักษา มีดังนี้
- ยาละลายลิ่มเลือด
- การผ่าตัดเพื่อนำแคลเซียมออก
- การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
- การฟอกไต
หากท่านใดที่มีอาการใด ๆ ก็ตามที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงของภาวะ แคลเซียมในหลอดเลือด เช่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หรืออ่อนแรงที่แขนหรือขา ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง หากพบว่ามีความเสี่ยงจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและตรงจุดทันที
วิธีป้องกันแคลเซียมเกาะเส้นเลือด
หลังจากที่เราได้ทราบกันไปแล้วว่าแคลเซียมเกาะเส้นเลือดเกิดจากอะไร และแคลเซียมเกาะเส้นเลือด ก็เป็นภาวะเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย แต่เราสามารถป้องกัน และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพหัวใจโดยการเลือกทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอล ไขมัน และโซเดียมต่ำ รวมถึงผลไม้ ผัก และธัญพืชไม่ขัดสี
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางกายเป็นประจำเพื่อรักษาน้ำหนัก จะส่งผลทำให้คุณมีสุขภาพที่ดีจากภายนอกสู่ภายใน และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- งดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ทำลายหลอดเลือดและเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้ง่าย ที่สำคัญควรจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคหัวใจ และยังส่งผลเสียต่อสุขภาพหลาย ๆ ด้านอีกด้วย
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ แพทย์อาจแนะนำยาที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล หรือยาความดันโลหิตเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ง่ายนั่นเอง
- หมั่นตรวจสอบและจัดการภาวะสุขภาพอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ หากคุณเป็นโรคเบาหวาน ให้คุณทำงานร่วมกับแพทย์เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหินปูนในหลอดเลือดได้นั่นเอง
- รักษาระดับความดันเลือดให้อยุ่ในเกณฑ์ปกติ ความดันสูง และ เบาหวาน ควรปรับพฤติกรรมและดูแลตัวเองมากขึ้น โดยควบคุมความดันโลหิตให้ไม่เกิน 140/90 มม.ปรอท และไขมัน LDL ต่ำกว่า 130 mg%
ใครบ้างที่ควรตรวจแคลเซี่ยมในหลอดเลือดหัวใจอย่างสม่ำเสมอ
รู้หรือไม่ว่า สมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำว่า ผู้ที่สมควรได้รับการตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค คือ
บุคคลที่ควรตรวจแคลเซี่ยมในหลอดเลือดหัวใจ
- ผู้ป่วยทั่วไปที่อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
- ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางของการเกิดโรคหัวใจ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไตวาย และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง
จากคำแนะนำของสมาคมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาเบาหวานในสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีอายุมาก และผู้ป่วยโรคไตวายที่ไม่สามารถตรวจหัวใจด้วยการเดินสายพานตามวิธีมาตรฐานได้นั้น การตรวจแคลเซียมในหลอดเลือด ถือว่าเป็นมาตรฐานการตรวจหัวใจที่ดีที่สุดอีกหนึ่งวิธีเลยก็ว่าได้ เพราะฉะนั้นหากคุณเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีที่ถูกต้องที่สุด
สรุป
ดังนั้นไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าไหร่ก็ตาม หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรตรวจสุขภาพประจำปีเสมอ และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคแคลเซียมเกาะเส้นเลือด เพราะหากคุณดูแลตนเองอย่างเหมาะสม เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกต้อง โอกาสที่คุณจะหายจากโรคนี้มีสูงแน่นอน เพราะฉะนั้นหากดูแลตนเองเป็นอย่างดีเราเชื่อว่าคุณจะไม่เสี่ยงต่อภาวะโรคร้ายต่าง ๆ อย่างแน่นอน