เป็นเบาหวาน ถอนฟัน-ขูดหินปูน-ผ่าฟันคุด ได้ไหม?

เป็นเบาหวาน ถอนฟัน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         อย่างที่ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนทราบดีว่า เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันร่างกายจะต่ำกว่าคนปกติ มีโอกาสในการติดเชื้อได้ง่าย และแผลหายช้า ซึ่งเรียกว่าแผลเรื้อรังจากเบาหวานดังนั้น เมื่อเกิดแผลเล็กๆ น้อยๆ รวมทั้งการถอนฟัน ผ่าฟันคุด ขูดหินปูน ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงตามมาได้ แต่ถึงอย่างนั้นการทำฟันก็ยังมีความจำเป็นมาก แน่นอนว่า ผู้ป่วยเบาหวานคงทนทรมานกับอาการปวดฟัน หรือสุขภาพช่องปากไม่ดีตลอดไปไม่ได้ แล้วสรุปว่า เป็นเบาหวาน ถอนฟัน หรือทำฟันได้ไหม ไปหาคำตอบกันค่ะ

สารบัญ

เบาหวาน ถอนฟัน-ผ่าฟันคุด-ขูดหินปูน ได้ไหม?

         การถอนฟัน ผ่าฟันคุด ขูดหินปูน เป็นการรักษาสุขภาพช่องปากที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะแผลจะหายช้า และอาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ เนื่องจากช่องปากของเรานั้นเต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียจำนวนมาก ทำให้โอกาสเกิดการติดชื้อแพร่กระจายไปสู่กระแสเลือดได้สูง ดังนั้น การทำฟันกับผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องมีการซักประวัติและตรวจโดยละเอียดก่อนการทำฟัน ไปดูกันว่า เป็นเบาหวาน ถอนฟัน หรือทำฟันได้ไหม

เบาหวาน ผ่าฟันคุด

เป็นเบาหวาน ถอนฟัน หรือทำฟันได้ไหม?

         ผู้ที่เป็นเบาหวาน ถอนฟัน ได้ รวมทั้งสามารถขูดหินปูน ผ่าฟันคุด หรือหัตถการอื่น ๆ ได้ด้วย ถ้าระดับน้ำตาลไม่เกินจากเกณฑ์ที่กำหนด (ไม่เกิน 200 มก./เดซิลิตร) ดังนั้น หากผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรได้ หรือมีการรับรองจากแพทย์ผู้รักษาว่าสามารถทำฟันได้ ก็สามารถยื่นให้คลินิคหรือหมอฟันก่อนการทำฟันได้เลย

         ส่วนผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ทางทันตแพทย์จะให้ผู้ป่วยกลับบ้านไปควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและคงที่ก่อน หรือมีการเข้ารับการตรวจรับรองจากแพทย์ประจำตัว เพื่อคงระดับน้ำตาลให้ปกติก่อน จึงจะสามารถทำการรักษาฟันให้ได้ ซึ่งผู้ป่วยบางคนอาจต้องใช้เวลาในการรักษาระดับน้ำตาลนานเป็น 2 – 3 เดือนเลยก็มี

อันตรายอย่างไรหากฝืนทำฟันในขณะน้ำตาลในเลือดสูง?

         หากผู้ป่วยไม่บอกทันตแพทย์ว่ามีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน รวมทั้งโรคอื่น ๆ แล้วฝืนทำการรักษาฟันต่อไป อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากช่องปากอุดมไปด้วยเชื้อและแบคทีเรียมากมาย ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนปกติ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง และยังทำให้แผลที่เกิดจากการถอน ผ่า หรือขูดหินปูน หายช้าด้วย เนื่องจากว่าเชื้อโรคชอบน้ำตาล เพราะเป็นแหล่งพลังงานชั้นดี น้ำตาลในเลือดเยอะ เลือดก็จะหนืด ไปเลี้ยงแผลยาก ทำให้แผลหายช้านั่นเอง

แผ่นสำหรับเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด GlusoAll-1B และเข็มเจาะเลือด

639฿1,199฿

แผ่นตรวจ 25 ชิ้น/กล่อง | เข็มเจาะเลือด 50 ชิ้น/กล่อง

รหัสสินค้า: ไม่ระบุ หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

แผ่นสำหรับเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด GlucoAll-1B

299฿549฿

แผ่นตรวจ 1 กล่อง (25 ชิ้น)

รหัสสินค้า: ไม่ระบุ หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

GlucoAll-1B

1,190฿

บันทึกค่าได้ 400 ข้อมูล | ตั้งค่าโหมดการวัดก่อน-หลังมื้ออาหารได้ | รับประกันตลอดอายุการใช้งาน

รหัสสินค้า: ไม่ระบุ หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

Glucosure Autocode

Original price was: 2,490฿.Current price is: 1,190฿.

แผ่นและเข็มอย่างละ 25 ชิ้น | รับประกันตลอดอายุการใช้งาน

อ่านเพิ่ม

เข็มเจาะเลือด Blood Lancet

Original price was: 120฿.Current price is: 100฿.

เข็มเจาะเลือด 1 กล่อง ( 50 ชิ้น )

อ่านเพิ่ม

แผ่นสำหรับเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด Glusosure Autocode และเข็มเจาะเลือด

645฿1,090฿

แผ่นตรวจ 25 ชิ้น/กล่อง | เข็มเจาะเลือด 50 ชิ้น/กล่อง

รหัสสินค้า: TL หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

ผู้ป่วยเบาหวาน ถอนฟัน-ทำฟัน เตรียมตัวอย่างไรดี?

         แน่นอนว่าการทำฟันในผู้ป่วยเบาหวานนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หากมีแผนที่จะไปทำการรักษาทางทันตกรรม เป็นเบาหวานถอนฟัน การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปทำฟันสำคัญมากๆ ผู้ป่วยควรเตรียมความพร้อมดังนี้

เป็นเบาหวาน ถอนฟัน

  • ควรนัดรับการรักษาในช่วงเช้า เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหาร และยา ให้เรียบร้อย เพื่อลดความเครียดในการรักษาให้น้อยที่สุด และเพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • หากระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์อย่างดี  (<126 มิลลิกรัม/ เดซิลิตร) หรือไม่สูงเกินกว่า 200 มิลลิกรัม/ เดซิลิตร ทันตแพทย์จะทำการรักษาได้ตามปกติ
  • ควรควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีคือ 90/60 มิลลิเมตรปรอท และไม่สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ในกรณีปวดฟันมาก ความดันอาจสูงตามได้ หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตต่ำในเกณฑ์ที่ทันตแพทย์รับได้ ก็จะสามารถถอนฟันได้
  • วันที่มารักษา ผู้ป่วยจะได้รับการซักประวัติอีกครั้ง ควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพให้ครบถ้วนกับทันตแพทย์ โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟันในครั้งก่อน รวมถึงโรคประจำตัว การแพ้ยา เป็นต้น
อย่าเบาใจ!! เบาหวานขึ้นเท่าไหร่อันตราย? ขึ้น 300 ควรไปหาหมอหรือยัง?!

มีโรคฟันอะไรบ้างที่ผู้ป่วยเบาหวานควรระวัง

         ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ส่งผลต่อความผิดปกติกับเรตินาในช่องปาก เมื่อช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานติดเชื้อก็มักจะมีอาการเจ็บปวดมากกว่าคนปกติทั่วไป เนื่องจากสุขภาพช่องปากไม่แข็งแรง ยิ่งหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี อาจจะเกิดภาวะแทรกจากโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สำหรับโรคฟันที่ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะต้องเฝ้าระวังก็มีดังนี้

เป็นเบาหวาน ถอนฟัน

  • โรคฟันผุ มีสาเหตุจากการทำความสะอาดฟันไม่สะอาด ทำให้ฟันผุ และมีอาการปวดมาก
  • โรคเหงือกอักเสบ มักเกิดจากการที่มีแบคทีเรีย หินปูนสะสมมากเกินไป จึงทำให้เหงือกบวมแดงขึ้นมา เนื่องจากการระคายเคืองนั่นเอง
  • โรคปริทันต์อักเสบ โดยจะมีคราบสีขาวติดอยู่บนฟัน และตามซอกฟัน เกิดจากการดูแลทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ ซึ่งเมื่อมีการอักเสบ จะเกิดอาการเหงือกบวม มีเลือดออก และเจ็บขณะเคี้ยวอาหารได้

         ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานควรดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี โดยไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพปากและฟันอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง หรือ 6 เดือนครั้งนั่นเอง

สรุป

         นี่คือข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และการรักษาทางทันตกรรม เป็นเบาหวานถอนฟัน ได้หรือไม่ ก็คงจะได้คำตอบกันไปแล้วสำหรับข้อมูลในข้างต้น เป็นโรคเบาหวาน นอกจากการดูแลควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว การดูแลสุขภาพปากและฟันก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากเกิดปวดฟันระหว่างที่เป็นโรคเบาหวานการรักษาอาจจะไม่สามารถทำได้ทันที เพราะฉะนั้นจึงควรดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเหงือกและฟัน 

บทความที่น่าสนใจ เพิ่มเติม

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup