บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
หัวใจวายเฉียบพลัน เป็นภาวะเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยที่เราไม่ทันตั้งตัวเลยก็ว่าได้ โดย ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรงซึ่งเกิดขึ้นเมื่อการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจหยุดลงอย่างฉับพลัน ทำให้เนื้อเยื่อเสียหาย โดยปกติแล้วเกิดจากการอุดตันในหลอดเลือดหัวใจหนึ่งเส้นขึ้นไป ซึ่งอาจเกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์หรือลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันบนการอุดตัน อาการของ AMI ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกหรือรู้สึกไม่สบาย หายใจถี่ คลื่นไส้ หรือมีเหงื่อออก ผู้หญิงและผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะมีอาการที่ไม่ปกติ การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และการมีไบโอมาร์กเกอร์ของหัวใจ เช่น โทรโปนิน การรักษารวมถึงออกซิเจน ยาขยายหลอดเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ไนเตรต ยาบล็อกเบต้า สแตติน และการรักษาด้วยการฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือด ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับยาละลายลิ่มเลือด การแทรกแซงทางผิวหนัง หรือการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ
สารบัญ
- 10 อาการ เตือนก่อนหัวใจวายเฉียบพลัน
- หัวใจวายเฉียบพลันเกิดจากอะไร กลุ่มเสี่ยงมีใครเสี่ยงบ้าง
- เมื่อพบว่ามีอาการคล้ายหัวใจวาย ต้องทำอย่างไร
- อยากรู้มีคำตอบ หัวใจวายรักษาได้ไหม
- วิธีป้องกันหัวใจวายเฉียบพลัน ลดความเสี่ยงที่อาจคาดไม่ถึง
10 อาการ เตือนก่อนหัวใจวายเฉียบพลัน
หัวใจวายเฉียบพลัน ขึ้นว่าเฉียบพลันมาเร็วแน่นอน ทุกคนยิ่งต้องเฝ้าระวัง บทความนี้รวบรวมอาการที่น่าสุ่มเสี่ยง มาให้ทุกท่านได้เฝ้าระวังกัน หากสัญญาณอาการเหล่านี้เริ่ม อย่าปล่อยไว้จนเกิดอันตรายมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย
10 อาการก่อนหัวใจวาย เตือนผู้ป่วยหัวใจวายเฉียบพลัน มีดังต่อไปนี้
- มีความรู้สึกกดทับ เจ็บปวด หรือแน่นหน้าอก
- ความเจ็บปวดหรือไม่สบายที่แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หลัง คอ ขากรรไกร ไหล่ หรือท้อง
- เหนื่อยง่าย มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดินขึ้นบันได ขึ้นเนิน หรือออกกำลังกาย
- มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน โดยการอาเจียนอาจเกิดขึ้นพร้อมกับอาการเจ็บหน้าอก หรืออาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังอาการเจ็บหน้าอก
- หายใจลำบาก โดยอาการหายใจลำบากอาจเกิดขึ้นขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือขณะนอนราบ
- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ วิตกกังวล อาหารไม่ย่อย อ่อนเพลียหรืออ่อนแรงผิดปกติ และ หายใจถี่
- 1 เดือนก่อนหัวใจวาย ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ซึ่งอาการอ่อนเพลียอาจเป็นอาการเริ่มต้นของหัวใจวาย และอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้นจนทำให้หมดสติได้
- ผู้ป่วยจะเกิดอาการเวียนศีรษะ โดยอาการเวียนศีรษะอาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก และนำไปสู่ภาวะ หัวใจวายเฉียบพลัน
- มักจะมีอาการมือเท้าเย็น โดยที่อาการมือเท้าเย็นมักเกิดขึ้นร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก หรืออาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังอาการเจ็บหน้าอกก็ได้เช่นกัน
- ใจสั่น มีอาการใจสั่นตลอดเวลา ซึ่งอาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก หรืออาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังอาการเจ็บหน้าอกก็ได้
หัวใจวายเฉียบพลันเกิดจากอะไร กลุ่มเสี่ยงมีใครเสี่ยงบ้าง
หัวใจวายเฉียบพลัน เกิดจาก การอุดตันในหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจ โดยปกติเกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดหัวใจ การอุดตันนี้สามารถทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายหรือตายได้ ซึ่งนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ การใช้ชีวิตอยู่เฉย ๆ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ความเครียด การใช้ยาบางชนิด
ผู้ป่วยมีประวัติภาวะครรภ์เป็นพิษ และภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเองบางอย่าง ปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน และภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน สำหรับกลุ่มเสี่ยง หัวใจวายเฉียบพลัน คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจ และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
เมื่อพบว่ามีอาการคล้ายหัวใจวาย ต้องทำอย่างไร
หากเริ่มมีอาการคล้ายจะเป็นหัวใจวายเฉียบพลัน สิ่งที่ต้องทำเมื่อพบว่ามีอาการ หัวใจวายเฉียบพลันอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายถึงชีวิต มีดังนี้
- เตรียมตัวให้พร้อม เมื่อเกิดหัวใจวายบอกให้คนรอบข้างรู้และเข้าใจเพื่อจะได้ช่วยชีวิตได้อย่างท่วงทัน
- เลือกทางที่เร็วที่สุด หากคุณรู้สึกเจ็บเค้นหน้าอกนานกว่า 15 นาที โทรเรียกรถพยาบาลทันที
- ยิ่งไปถึงโรงพยาบาลเร็ว โอกาสที่จะหายเป็นปกติยิ่งมีมากขึ้น เพราะแพทย์จะให้การช่วยเหลือทันที
- หากคุณยังรู้สึกตัวดี ให้บอกอาการที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมที่สุด
อยากรู้มีคำตอบ หัวใจวายรักษาได้ไหม
อาการหัวใจวาย มักจะเจ็บ แน่น หรือรู้สึกไม่สบายตรงกลางหน้าอก และรู้สึกเจ็บหน้าอก ร้าวไปที่คอ แขน หรือขากรรไกร ผู้ป่วยมีเหงื่อออก รู้สึกหนาวบริเวณลำตัวส่วนบน อาจมีอาการวิงเวียน หายใจไม่อิ่ม และคลื่นไส้ร่วมด้วย อาการเหล่านี้มักจะคงอยู่นานราว 1–10 นาที แต่ผู้ป่วย หัวใจวาย โอกาสรอด มีสูงหากได้รับการรักษาทันทีอย่างรวดเร็ว
โดยวิธีรักษาที่แพทย์เลือกใช้คือ การทำบอลลูน โดยการสอดสายสวนไปยังหลอดเลือดที่ตีบแล้วขยายบอลลูนที่อยู่ในสายสวน เพื่อขยายส่วนของหลอดเลือดที่ตีบ แพทย์จะใช้วิธีรักษานี้แทนการผ่าตัด สำหรับ การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ โดยการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ คือ การนำเอาหลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกายมาทำเป็นทางเบี่ยงเพื่อให้เลือดไหลข้ามส่วนที่อุดตันไปได้ ดังนั้นหากวินิจฉัยพบโรคเร็ว หัวใจวายเฉียบพลัน สามารถรักษาได้แน่นอน
วิธีป้องกันหัวใจวายเฉียบพลัน ลดความเสี่ยงที่อาจคาดไม่ถึง
เราสามารถป้องกันหัวใจวายเฉียบพลันได้ด้วยหลากหลายวิธี เริ่มต้นจากการ หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมัน เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากมาก ๆ เช่น รำข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ การดูแลตนเองจะช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
พักผ่อนไม่เพียงพอ อย่ามองเป็นเรื่องเล็ก มีผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิดสรุป
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ควรหมั่นดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดความเสี่ยงด้วยการงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และพักผ่อนให้เพียงพอ หรือหากพบว่าตนเองเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันควรได้รับการวินิจฉัยทันที เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไปนั่นเอง