เบี้ยผู้สูงอายุ ล่าสุด! ปรับเกณฑ์ใหม่ให้เฉพาะสูงวัยรายได้น้อยเท่านั้น!!

เบี้ยผู้สูงอายุ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         ข่าวที่กำลังตกเป็นประเด็นสังคมในขณะนี้ เมื่อรัฐบาลรักษาการมีการกำหนดและประกาศเกณฑ์การรับเบี้ยผู้สูงอายุโดยใช้หลักเกณฑ์ใหม่ จนผู้สูงอายุที่กำลังจะย่างเข้า 60 ปี ทุกท่านอาจได้รับ หรือ ไม่ได้รับเงินผู้สูงอายุ จนกลายเป็นการเกิดข้อกังขาขึ้นในสังคมอย่างมาก

         ว่าเบี้ยผู้สูงอายุนี้เป็นเงินที่ผู้สูงอายุชาวไทยทุกคนควรได้รับ หรือ เป็นเงินที่ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ หรือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่เพียงพอควรได้รับ แต่ไม่ว่าจะเป็นหลักเกณฑ์ของการรับเบี้ยคนชราจะเป็นเช่นไร ก็เป็นเรื่องที่ทุกท่านควรทราบไว้ และเราได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดให้แก่ทุกท่านในบทความนี้

สารบัญ

เบี้ยผู้สูงอายุปรับใหม่ ปี 66 มีเงื่อนไขหรืออะไรเปลี่ยนไปบ้าง?

         เบี้ยผู้สูงอายุ จัดเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่ภาครัฐได้จัดสรรให้กับประชาชนชาวไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ที่กลายมาเป็นประเด็นในขณะนี้ก็เนื่องมาจากเกณฑ์การรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ถูกปรับเปลี่ยน และประกาศออกมาใหม่ตามหลักเกณฑ์ในฉบับล่าสุด

เบี้ยผู้สูงอายุ

         ซึ่งมีการระบุว่าผู้สูงอายุที่มีสิทธิ์ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนดเท่านั้น สำหรับการรับเบี้ยคนชรา เงื่อนไขที่เหมือนและแตกต่างจากเดิม ดังนี้

เกณฑ์ที่เหมือนกัน :

         ทั้งส่วนของเกณฑ์เดิม และ เกณฑ์ใหม่จะมีเกณฑ์ในข้อเหล่านี้ที่เหมือนกัน คือ

  1. ต้องเป็นประชาชนที่มีสัญชาติไทย
  2. มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปซึ่งได้ลงทะเบียนและยื่นคำร้องขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เบี้ยผู้สูงอายุ

เกณฑ์ที่แตกต่างกัน :

         มีส่วนของข้อความบางข้อความที่แตกต่างจากเดิมอย่างมีนัยยะ คือ

  1. ส่วนของแหล่งที่อยู่ในเกณฑ์เดิมจะใช้ข้อความว่า “ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน” ส่วนเกณฑ์ใหม่นั้นใช้ข้อความว่า “มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”
  2. ส่วนของรายได้ในเกณฑ์เดิมจะใช้ข้อความว่า “ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้ได้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัดบำนาญพิเศษ หรือ เงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน แต่ไม่รวมถึงผู้พิการ หรือ ผู้ป่วยเอดส์ หรือ ผู้ได้รับสวัสดิการอื่นตามมติ ครม.”
  3. ส่วนเกณฑ์ใหม่นั้นใช้ข้อความว่า “เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือ มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด”
เช็กเลย! เงินผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 64 เข้าวันไหน? ต้องทำอย่างไรถึงจะได้รับสิทธิ์?

ขั้นตอนการยืนยันสิทธิ์เบี้ยผู้สูงอายุ ปี 66 ต้องทำอย่างไรบ้าง

         หากคุณยังไม่เคยไม่ลงทะเบียนรับสิทธิ์เบี้ยผู้สูงอายุมาก่อนหน้านี้ และทำการอ่านกฎเกณฑ์และเช็กสิทธิ์แล้วว่า คุณยังคงอยู่ในเกณฑ์ได้รับเบี้ยคนชรา เงื่อนไขใหม่ในปี 2566 นี้ ก็สามารถที่จะลงทะเบียนยืนยันสิทธิ์ได้ ตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

เบี้ยผู้สูงอายุ

เกณฑ์ที่สามารถยืนยันสิทธิ์ได้

  1. เมื่อมีอายุ 59 ปีบริบูรณ์ หรือ ผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน – 1 ตุลาคมของปีนั้น ๆ ไปลงทะเบียนรับสิทธิ์ในวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน ของปีนั้น ๆ
  2. เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ไปลงทะเบียนรับสิทธิ์ในวันที่ มกราคม – กันยายนของปี 2566

สถานที่ในการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

         โดยสถานที่ลงทะเบียนด้วยตัวเองในส่วนของต่างจังหวัดสามารถลงทะเบียนได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เทศบาลประจำจังหวัด และ ในส่วนของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขต กทม. ก็สามารถลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขต หรือ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. ซึ่งสังกัดอยู่ในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม.

เบี้ยคนชรา เงื่อนไข

หลักฐานการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

         ในส่วนของหลักฐานรับเบี้ยผู้สูงอายุสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

  • หลักฐานที่ใช้เมื่อผู้สูงอายุไปลงทะเบียนด้วยตนเอง มีดังนี้
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่มีการลงชื่อ พร้อมข้อความสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีการลงชื่อ พร้อมข้อความสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
  3. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่มีการลงชื่อ พร้อมข้อความสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
  • หลักฐานที่ใช้เพิ่มเติมในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถไปลงทะเบียนด้วยตนเองได้ มีดังนี้
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจที่มีการลงชื่อ พร้อมข้อความสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้รับมอบอำนาจที่มีการลงชื่อ พร้อมข้อความสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
  3. หนังสือมอบอำนาจที่มีการลงรายละเอียดและการลงชื่อจากผู้มอบอำนาจ และ ผู้รับมอบอำนาจ
เช็กสิทธิบัตรทอง ทำอย่างไร? จ่าย 30 บาทรักษาทุกโรคจริงไหม? เช็กเลย!

ผู้ที่เคยได้รับเบี้ยผู้สูงอายุอยู่แล้ว หากไม่มีคุณสมบัติตามปี 66 จะโดนยกเลิกไหม?

         ยังคงเป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยของหลาย ๆ ท่านว่าผู้ที่เคยได้รับเบี้ยผู้สูงอายุมาก่อนนั้น จะถูกยกเลิกสิทธิ์หากไม่เข้าเกณฑ์ที่ประกาศออกมาใหม่นี้หรือไม่ ซึ่งผู้ที่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุก่อนปี 2566 จะยังคงได้รับเช่นเดิม แม้ว่าเบี้ยผู้สูงอายุ ปรับใหม่ในเกณฑ์แรกเข้าก็ตาม เว้นแต่ว่าคุณจะมีสิทธิ์ดังต่อไปนี้ ที่จะไม่สามารถรับได้

เบี้ยผู้สูงอายุ

เงื่อนไขผู้ที่ไม่สามารถรับสิทธิ์เบี้ยผู้สูงอายุได้

  1. ผู้ที่มีสิทธิ์รับผลประโยชน์จากภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรื่อหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างเช่น เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ
  2. เงินพิเศษในส่วนอื่น ๆ ที่เหมือนกับเงินยังชีพ อย่างเช่น ผู้สูงอายุที่เคยมีเงินเดือนประจำ หรื่อจากหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น

กรณีไหนที่สิทธิ์ของผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเบี้ยผู้สูงอายุ ปี 66 สิ้นสุดลง

         นอกจากว่าปี 2566 นี้จะมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การให้เบี้ยผู้สูงอายุแล้วนั้น ก็ยังมีเกณฑ์ที่ทำให้ผู้ที่เคยมีสิทธิ์ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้นสามารถสิ้นสุดการรับสิทธิ์ได้เช่นกัน โดยการที่เบี้ยคนชราล่าสุดนั้นจะสิ้นสุดลง มีใน 3 กรณีด้วยกัน ดังต่อไนี้

เบี้ยคนชรา

กรณีที่สิทธิ์ผู้สุงอายุสิ้นสุดลง

  1. กรณีที่ผู้มีสิทธิ์เสียชีวิต
  2. กรณ๊ที่ผู้มีสิทธิ์ขาดคุณสมบัติตามเกณฑ์กำหนด
  3. กรณีที่ผู้มีสิทธิ์แจ้งสละสิทธิ์ด้วยตนเอง

สรุป

         เบี้ยผู้สูงอายุหนึ่งในสิทธิ์พื้นฐานที่ประชาชนชาวไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะได้รับเพื่อการดำรงชีวิต ซึ่งมีการปรับเกณฑ์ใหม่เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับยุคสมัย การจัดเก็บรายได้ของประเทศ รวมไปถึงความเหมาะสมของสภาวะการณ์ในขณะนี้

         และยังคงเป็นเรื่องที่ได้รับความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไปทั้งภาคประชาชนเอง ภาคของการเมืองการปกครอง รวมไปถึงภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเราในฐานะประชาชนคนไทยคนหนึ่งก็ควรศึกษาข้อมูลจากบทความข้างต้นไว้เพื่อให้ทราบสิทธิ์ที่พึงมีของตนเอง

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup