บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
ประคบร้อน ประคบเย็นกับศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และ มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์แผนปัจจุบันมารองรับว่าสามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ จนการประคบร้อน ประคบเย็นได้ถูกนำมาบัญญัติเป็นหนึ่งบทของการบำบัด บรรเทา และ การรักษาในการแพทย์แผนไทยประยุกต์ แต่หลาย ๆ ท่านก็ยังคงสับสนและสงสัยอยู่ว่าเราต้องประคบเย็นหรือเราต้องประคบร้อนเมื่อใด โดยเราจะพาทุกท่านมาไขข้อสงสัยดังกล่าวนี้กัน
สารบัญ
ประคบร้อน ประคบเย็น ต่างกันอย่างไร?
แน่นอนว่าการประคบร้อน และ ประคบเย็น มีการใช้ที่แตกต่างกันออกไป แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้วประคบร้อน ประคบเย็นนั้นมีส่วนที่เหมือนกัน ซึ่งก็คือเป็นการปฐมพยาบาลในเบื้องต้นด้วยกันทั้งสิ้น แต่ทั้งการประคบร้อน ประคบเย็นนั้นมีความแตกต่างกันอยู่ในด้านการใช้ เราจำเป็นต้องรู้วิธีการใช้และใช้กับอาการอย่างไรในเบื้องต้นเพื่อเลือกการประคบให้ถูกประเภท ซึ่งก็คือ
- การประคบร้อน เป็นการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดียิ่งขึ้น โดยความร้อนจากการประคบนั้นจะไปทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว
- การประคบเย็น เป็นการช่วยให้เส้นเลือดเกิดการหดตัว รวมไปถึงช่วยให้เลือดหยุดไหล โดยการประคบเย็นมักทำเมื่อได้รับบาดเจ็บเฉียบพลัน
เจ็บปวดตรงไหนใช้ประคบอะไรดี?
เมื่อกล้ามเนื้ออักเสบ ประคบร้อนหรือเย็น หรือ เมื่อเส้นเอ็นอักเสบ ประคบร้อนหรือเย็น เราขอพาทุกท่านไปร่วมไขข้อสงสัยนี้กัน โดยเราควรประคบร้อน ประคบเย็นเมื่อเจ็บปวดแบบไหนหรือตรงไหน เพื่อรักษาให้ตรงจุด สามารถแบ่งได้ดังนี้
1.การประคบร้อน ควรทำเมื่อคุณมีอาการดังต่อไปนี้
- ประคบร้อนลดบวม
- ปวดท้องประจำเดือน
- ปวดตึงกล้ามเนื้อจากออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ทั้งส่วนของหลัง บ่า ไหล่ หรือ น่อง
- เมื่อมีอาการบาดเจ็บจากการเกร็งกล้ามเนื้อ
- เมื่อมีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ
- เมื่อมีอาการปวดกล้ามเนื้อ
- เมื่อมีอาการปวดคัดเต้านม
- เมื่อเกิดตะคริว
2.การประคบเย็น ควรทำเมื่อคุณมีอาการดังต่อไปนี้
- ข้อเท้าแพลง
- เกิดการบาดเจ็บเฉียบพลัน แล้วเกิดอาการบวม หรือ อาการแดงขึ้น
- เมื่อมีไข้สูง
- เมื่อเกิดอาการปวดศีรษะ
- เมื่อเกิดอาการปวดฟัน
- เมื่อเกิดข้อเท้าบวม
- เมื่อข้อเท้าเคล็ด
- เกิดการไหลของเลือดกำเดา
- หลังการผ่าตัดกระดูกหรือข้อ
- หลังการฟกช้ำ
วิธีประคบร้อน ประคบเย็นที่ถูกต้อง
เมื่อเราสามารถแยกการประคบทั้งสองแบบว่าเหมาะกับการบาดเจ็บหรือเจ็บปวดแบบใดได้แล้ว ถัดมาเราก็ขอพาทุกท่านไปพบกับวิธีการประคบร้อน และวิธีการประคบเย็นที่ถูกต้อง แน่นอนว่าหากเราทำถูกต้องตามวิธีการ อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นก็จะหายเร็วขึ้น มีวิธีการอะไรบ้าง มาดูกันเลย
1.วิธีการประคบร้อน
- เริ่มทำการประคบเมื่อมีอาการผ่านไปแล้วประมาณ 2 วัน หรือ 48 ชั่วโมง
- การประคบร้อนในแต่ละครั้งใช้เวลาประคบประมาณ 20 นาที หรือ ขั้นต่ำก็ต้อง 15 นาที
- ความถี่ในการประคบร้อนต่อวันอยู่ที่ 2 – 3 ครั้ง
- อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการประคบร้อน
> กระเป๋าน้ำร้อนที่ห่อด้วยผ้าขนหนูอีกครั้งหนึ่งและไม่ควรร้อนเกินกว่า 45 องศาเซลเซียส
> ผ้าชุบน้ำร้อนที่ไม่ควรร้อนเกินกว่า 45 องศาเซลเซียส
> เจลประคบร้อนสำเร็จรูปไม่ควรร้อนเกินกว่า 45 องศาเซลเซียส
ข้อควรระวัง
- การประคบร้อนแต่ละครั้งต้องไม่นานเกินไป เพราะการประคบร้อนอาจทำให้เกิดการผุพองหรือปวดแสบจากความร้อนได้
- การประคบร้อนไม่ควรประคบโดยตรงที่บาดแผลที่เกิดการผุพอง หรือ บาดแผลที่มีอาการบวมแดง หรือ บาดแผลที่ยังคงมีเลือดไหลอยู่ หรือ แผลเปิด
- ควรหลีกเลี่ยงการประคบร้อนในผู้ที่มีความสามารถในการรับสัมผัสร้อนอย่างผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ ผู้ที่รับรู้ความร้อนได้บกพร่อง
- ควรหลีกเลี่ยงการประคบร้อนในผู้ที่มีภาวะเลือดไหลไม่หยุด หรือ เลือดออกรุนแรงผิดปกติ
2.วิธีการประคบเย็น
- เริ่มทำการประคบเมื่อมีอยู่ในช่วง 2 วันแรก หรือ 48 ชั่วโมงแรกของการบาดเจ็บหรือการเจ็บปวด
- การประคบเย็นในแต่ละครั้งใช้เวลาประคบประมาณ 20 นาที หรือ ขั้นต่ำก็ต้อง 15 นาที
- ความถี่ในการประคบร้อนต่อวันอยู่ที่ 2 – 3 ครั้ง
- อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการประคบร้อน
> กระเป๋าหรือถุงห่อน้ำผสมน้ำแข็งที่หุ้มด้วยผ้าขนหนูอีกครั้งหนึ่ง
> ผ้าห่อน้ำแข็ง
> เจลประคบเย็นสำเร็จรูป
> ถังน้ำผสมน้ำเย็น หรือ ถังน้ำผสมน้ำแข็ง ซึ่งควรใช้อุปกรณ์นี้กับการประคบเย็นที่แขนหรือขา
ข้อควรระวัง
- การประคบเย็นแต่ละครั้งต้องไม่นานเกินไป เพราะการประคบเย็นอาจทำให้เกิดการปวดแสบจากความเย็นได้เช่นกัน
- การประคบเย็นไม่ควรประคบโดยตรงที่บาดแผลที่เกิดการผุพอง หรือ บาดแผลที่ยังคงมีเลือดไหลอยู่ หรือ แผลเปิด
- ควรหลีกเลี่ยงการประคบเย็นในผู้ที่มีความสามารถในการรับสัมผัสเย็นอย่างผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ ผู้ที่รับรู้ความเย็นได้บกพร่อง
- ควรหลีกเลี่ยงการประคบเย็นในผู้ที่มีอาการผื่นหรือแพ้ได้ง่าย เพราะอาจจะกระตุ้นให้เกิดการแพ้ขึ้นมาได้
สรุป
การประคบร้อน ประคบเย็นเป็นศาสตร์และความรู้ทางการแพทย์ของประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ และ เมื่อทุกท่านได้อ่านบทความมาจนถึงช่วงท้ายนี้แล้ว ทุกท่านก็คงจะสามารถแยกความแตกต่างระหว่างการ ประคบร้อน ประคบเย็นได้ รวมไปถึงทุกท่านยังสามารถใช้การประคบในรูปแบบที่ถูกต้องกับอาการเจ็บหรืออาการปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ซึ่งล้วนเป็นความรู้พื้นฐานที่เป็นสมบัติและภูมิปัญญาไทยที่เราควรสืบทอดและส่งต่อสู่ลูกหลานต่อไป