บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
อาการใจสั่น เป็นอาการที่ทุกคนน่าจะเคยเป็นกันมาบ้างแล้ว โดยความรู้สึกเหมือนใจเต้นเร็วโยกไปมาผิดปกติ บางรายอาจมีอาการวิงเวียน หน้ามืด ร่วมด้วย บางคนเป็นแล้วก็หายไป แต่บางคนมักจะเป็นบ่อยๆ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการอย่างถูกต้อง อาการเวียนหัวใจสั่น เกิดจากโรคอะไร อันตรายหรือไม่ ในบทความนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาฝาก
สารบัญ
- อาการใจสั่นเป็นอย่างไร?
- อาการเวียนหัวใจสั่น เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง
- รับมืออย่างไรเมื่อมีอาการใจสั่น
- อาการใจสั่นแบบไหนควรปรึกษาแพทย์
อาการใจสั่นเป็นอย่างไร?
อาการใจสั่น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็น เดิน กิน นั่ง นอน หรือทำงาน อาการใจสั่นมักจะมาพร้อมกับอาการร่วมด้วยเสมอเช่นอาการเวียนหัวใจสั่น อาการใจสั่นแน่นหน้าอก, ใจสั่นวูบๆ วาบๆ เหมือนตกจากที่สูง, อาการใจสั่นหายใจไม่ออก, และ อาการใจสั่นวูบ หน้ามืด เป็นต้น ในกรณีหัวใจสั่นเต้นเร็วที่มีอาการร่วมกับแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หรือเวียนศีรษะ อาจเกิดจากโรคหัวใจอย่างรุนแรง ผู้ป่วยไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
อ่านบทความ : โรคหัวใจ ออกกำลังกายได้ไหม? ดีต่อสุขภาพอย่างไร?อาการเวียนหัวใจสั่น เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง
อาการเวียนหัวใจสั่นคืออาการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเต้นเร็วเกินไป หรือเบาเกินไป ซึ่งหลายคนอาจจะเคยมี อาการใจสั่น มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว มาแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่าเกิดจากโรคอะไรอาการเวียนหัวใจสั่น เกิดขึ้นได้จากหลายโรค หลายปัจจัยดังนี้
1.โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ Arrhythmia มีหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งทำให้เกิด อาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น ไม่มีแรง ใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็ว หรือเต้นช้าไป ไม่สม่ำเสมอ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ ทำให้การสูบฉีดของเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ เสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลว และหลอดเลือดสมองได้
2.โรคความเครียด หรือกังวล
ความเครียด ความวิตกกังวล มีผลต่อการเต้นของหัวใจ เพื่อให้ร่างกายเกิดความกลัว ถึงแม้ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายก็ตาม ส่งผลทำให้เกิดอาการ ใจเต้นเร็ว เหงื่อออก หายใจติดขัด
3.ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
เมื่อร่างกายเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากไม่ได้รับประทานอาหาร อาจทำให้เกิดอาการเวียนหัวใจสั่น เหงื่อออก และหน้ามืดได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงควรรักษาระดับน้ำตาลให้เลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่สูงเกินไป และไม่ต่ำจนเกินไป
4.ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
ต่อมไทรอยด์เป็นพิษคือภาวะ ที่ต่อมไทรอยด์ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้อวัยวะทั่วร่างกายถูกกระตุ้นให้มีการเผาผลาญสูงกว่าปกติ ส่งผลทำให้เกิดอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับเป็นต้น
5.การทานยาบางชนิด
การทานยาบางชนิดเช่น ยาลดความอ้วน ยาลดความดัน ยาปฏิชีวนะ ก็ทำให้เกิดอาการเวียนหัวใจสั่น ได้เช่นกัน
6.การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายที่มีผลต่อการเต้นของหัวใจเช่น การวิ่ง การเดินขึ้นที่สูง การยกน้ำหนักเป็นต้น ส่งผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วขึ้น เนื่องจากหัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ จึงทำให้หัวใจทำงานหนัก เกิดอาการใจสั่น
7.การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
เพราะคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจ หากได้รับคาเฟอีนเข้าไปในร่างกายมากเกินไป จะทำให้หัวใจทำงานหนัก จนเกิดอาการ มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย ได้เช่นกัน
รับมืออย่างไรเมื่อมีอาการใจสั่น
การรับมือกับอาการเวียนหัวใจสั่น ขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากมีอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก อาจยังไม่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษา ใช้เวลาไม่นานอาการก็หายไปได้เอง แก้อาการใจสั่นเบื้องต้น ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดสูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีสารกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
พร้อมกับพักผ่อนให้เพียงพอ จัดการความเครียด หรือความวิตกกังวล แต่หากหัวใจสั่นมาจากความผิดปกติของโรคหัวใจเช่น โรคหัวใจรั่ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แบบนี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยรักษาอาการอย่างถูกต้อง
อ่านบทความ : พักผ่อนไม่เพียงพอ อย่ามองเป็นเรื่องเล็ก มีผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิดอาการใจสั่นแบบไหนควรปรึกษาแพทย์
อาการเวียนหัวใจสั่นเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่หากมีอาการใจสั่น ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยรักษาโดยเร็วที่สุด
อาการเวียนหัวใจสั่น ที่ควรพบแพทย์
- อาการเวียนหัวใจสั่นร่วมกับอาการ หน้ามืด เป็นลมหมดสติ เจ็บแน่นหน้าอก หรือมีอาการเหนื่อยหอบกว่าปกติ นี่เป็นภาวะโรคหัวใจอย่างรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
- อาการใจสั่นที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน กับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วเช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด ผู้ป่วยที่เคยมีกล้ามหัวใจตายจากหลอดเลอืดอุดตัน หัวใจโตผิดปกติ หากมีอาการใจสั่นอย่างเฉียบพลัน ไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
สรุป
อาการเวียนหัวใจสั่น เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้ว ส่วนการป้องกันให้ห่างไกลโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ก็คือการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พร้อมกับทำจิตใจให้ผ่องใส ลดความความเครียด ความกังวล ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป ก็จะทำให้ร่างกายของเราห่างไกลจากโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดได้แล้ว