บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อในกระแสเลือด มีจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี มาทำความรู้จักกับอาการติดเชื้อในกระแสเลือดให้มากขึ้นว่าเป็นอย่างไร มีวิธีแก้ปัญหา รวมถึงวิธีการรักษาภาวะนี้ให้มีอันตรายน้อยลง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนที่เคย ภาวะนี้เป็นความผิดปกติอีกอย่างหนึ่ง ที่ส่งผลร้ายแรงและอันตรายต่อร่างกายของเรา หากรักษาหรือป้องกันไม่ทัน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ในทันที
สารบัญ
- สัญญาณอาการติดเชื้อในกระแสเลือด
- อาการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากอะไร ใครบ้างที่เสี่ยง
- อาการติดเชื้อในกระแสเลือด มีโอกาสหายไหม
- วิธีป้องกันอาการติดเชื้อในกระแสเลือด
สัญญาณอาการติดเชื้อในกระแสเลือด
อย่างที่ทราบกันว่าโรคนี้ค่อนข้างน่ากลัว เนื่องจากร่างกายของเราประกอบด้วยเลือดเป็นสิ่งสำคัญ และยังเป็นของเหลวที่ไหลผ่านอวัยวะทุกส่วน ดังนั้น อาการติดเชื้อในกระแสเลือด จึงต้องได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างเร็วที่สุด แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อในกระแสเลือดแล้ว ?? 3 สัญญาณเตือนเบื้องต้น ที่มักแสดงออกในผู้ป่วย
1.ร่างกายมีปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อเชื้อโรค
โดยปกติร่างของเราจะเกิดการอักเสบขึ้น เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคบุกเข้าร่างกาย การเกิดภาวะนี้ก็เช่นกัน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการหนาวสั่น และหัวใจเต้นเร็วเกิน 90 ครั้งต่อนาที ร่วมถึงมีอาการหายใจเร็วมากผิดปกติ
2.อาการทางผิวหนัง
เนื่องจากเชื้อโรคที่อยู่ในเลือด ซึ่งไหลเวียนไปตามร่างกายส่วนต่าง ๆ สามารถสร้างสารพิษทำให้ในผู้ป่วยบางคน อาจมีตุ่มหนอง หรือเกิดรอยตามผิวหนัง ซึ่งบางครั้งสามารถบ่งบอกได้ว่าเกิดจากเชื้อชนิดใดที่เป็นสาเหตุ
3.อาการเฉพาะอวัยวะ
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อเชื้อโรคบุกเราไปทำลายอวัยะบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ตัวอย่างเช่น หากมีอาการไอ เจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก เชื้อโรคอาจกำลังทำลายปอดหรือเนื้อหุ้มปอดอยู่ หรือถ้าหากมีอาการปวดหลัง ปัสสาวะบ่อย บ่งบอกว่ามีการติดเชื้อบริเวณกรวยไตนั่นเอง
อาการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากอะไร ใครบ้างที่เสี่ยง
การติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อจุลชีพบางชนิด เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา ไม่ว่าจะทางผิวหนัง ปาก เลือด หรือวิธีการอื่น ๆ จึงเกิดการบุกรุกและทำลายอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง และแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดในเวลาถัดมา หากมีความรุนแรงมากอาจทำให้การทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว ส่งผลให้เกิดภาวะช็อกในผู้ป่วยหรืออาจเสียชีวิตได้ อาการติดเชื้อในกระแสเลือดมักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีภาวะดังนี้
1.ผู้ป่วยมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
เมื่อเกิดการติดเชื้อภายในขึ้น โอกาสที่ระบบร่างกายจะต่อสู้กับเชื้อโรคมีเปอร์เซ็นต์น้อยมาก จึงทำให้เชื้อโรคบุกรุกเข้าร่างกายได้ง่าย ร่วมถึงออกฤทธิ์และสร้างสารพิษได้เต็มที่ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
2.มีโรคประจำตัว
ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันจะไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนในคนปกติ ส่งผลมาจากระดับตาลในเลือดสูง จึงไปรบกวนการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคตับแข็ง โดยปกติตับมีหน้าที่กรองสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นเมื่อตับไม่สามารถทำงานได้ เชื้อโรคจึงเข้าสู้ร่างกายได้ง่ายมากขึ้น
3.ผู้ป่วยที่มีการรักษาโดยอาศัยอุปกรณ์ช่วย
เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะติดเชื้อ เนื่องจากการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือบางชนิดมารักษาอาการป่วยบางอย่าง เป็นการนำเข้าสู่ร่างกายโดยตรง เช่น ท่อช่วยหายใจ การสวนทวาร การสวนปัสสาวะ หรือการใส่ท่อเข้าหลอดเลือด เพื่อให้อาหารหรือน้ำ หากเครื่องมือนั้นไม่ได้รับการฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี อาจทำให้อาการติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดได้ง่าย
อาการติดเชื้อในกระแสเลือด มีโอกาสหายไหม
ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีมากมาย ที่ช่วยให้แพทย์สามารถรักษาอาการได้ตรงจุด ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด โอกาสหายมีเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยส่วนใหญ่หากไม่มีอาการรุนแรง การทานยาฆ่าเชื้อก็เพียงพอ หรือจัดการกับอวัยวะต้นเหตุ ด้วยการผ่าตัด เป็นต้น แต่สำหรับผู้ป่วยมีอาการรุนแรง มักจะรักษาแบบประคองอาการให้นานที่สุด ทั้งนี้โอกาสในการติดเชื้อซ้ำมีความเป็นไปได้เช่นกัน
วิธีป้องกันอาการติดเชื้อในกระแสเลือด
ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสในการรักษาให้หายจากภาวะนี้ได้ แต่หากรักษาไม่ทันเวลา อาการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด เป็นอันตรายไม่ต่างจากภาวะอันตรายอื่น ๆ เลย ดังนั้นการป้องกันจึงดีกกว่าที่จะต้องมาแก้ไขตามทีหลัง ซึ่งวิธีการง่าย ๆ ที่ช่วยให้ห่างไกลจากการเกิดภาวะนี้ มีดังนี้
วิธีป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- เสริมภูมิคุ้มกันด้วยการทานวิตามินเสริม
- นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่
- หลีกเลี่ยงจากการวิตกกังวล เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันของเราต่ำลง
- ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม และเพียงพอต่อร่างกาย
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำในทุก ๆ ปี
- ดูแลสุขอนามัยให้สะอาดอยู่เสมอ
สรุป
อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเป็นวิธีการป้องกันอันตรายที่ดีที่สุด จากการเกิดโรคหรือเกิดความรุนแรงต่าง ๆ หากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด เช่น มีไข้สูง อ่อนเพลีย หนาวสั่น หายใจเร็ว หอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที อย่าปล่อยให้อาการหายเอง เพราะการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด โอกาสเสียชีวิตค่อนข้างสูง หากไม่ได้รับการรักษาที่ตรงจุด จากแพทย์ผู้เขี่ยวชาญ