บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
อาการวิงเวียนศีรษะ และมีความรู้สึกเวียนหัว บ้านหมุน ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตของแต่ละคน ทำให้ยากต่อการทำงานประจำวัน การทำความเข้าใจถึงสาเหตุของอาการเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการจัดการและรักษาอาการเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในบทความนี้ เราได้รวบรวมปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและบ้านหมุนได้ รวมถึงความผิดปกติของหูชั้นใน ภาวะทางระบบประสาท ตลอดจนปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีส่วนทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ เมื่อเราเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุเหล่านี้ ก็จะสามารถดูแลตัวเองห่างไกลจากอาการเวียนหัว บ้านหมุนได้
สารบัญ
- เวียนหัว บ้านหมุน เกิดจากอะไร
- อาการเวียนหัว บ้านหมุน คลื่นไส้ เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
- วิธีแก้อาการเวียนหัว บ้านหมุนเบื้องต้น
- ท่าบริหารป้องกันอาการเวียนหัว บ้านหมุน
เวียนหัว บ้านหมุน เกิดจากอะไร
หลาย ๆ คนอาจจะเคยเกิดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม บ้านหมุนกันแล้ว ซึ่งเราก็มักจะคิดว่าเป็นอาการของการผักผ่อนไม่เพียงพอ อากาศร้อน รวมไปถึงการไม่ได้กินข้าว ซึ่งจริง ๆ แล้ว อาการเวียนหัว บ้านหมุน มีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัย มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุน
- การทำงานของหูชั้นในที่ผิดปกติ เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลที่เกี่ยวกับศีรษะ และถ้าหากหูชั้นในได้รับผลกระทบจากความผิดปกติ อาจทำให้เวียนศีรษะและบ้านหมุนได้
- สภาวะทางระบบประสาทที่ผิดปกติ ก็ยังอาจนำไปสู่อาการบ้านหมุนได้ ภาวะเหล่านี้ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึงสมองและกระดูกไขสันหลัง และอาจทำให้ร่างกายเสียสมดุลได้
- อาการไมเกรนขนถ่าย เป็นอาการปวดศีรษะไมเกรนชนิดหนึ่งที่เกิดจากคลื่นไฟฟ้าผิดปกติในสมอง ที่มาพร้อมกับอาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม บ้านหมุนได้ อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นโดยมีหรือไม่มีอาการปวดศีรษะก็ได้
- อาการโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS) เป็นอีกหนึ่งภาวะทางระบบประสาทที่อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและบ้านหมุนได้
- ผลข้างเคียงของยา โดยเฉพาะยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงหรือความวิตกกังวล อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและคลื่นไส้เป็นผลข้างเคียงได้
- โรคมีเนียร์ อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและรู้สึกหมุนซ้ำได้ โรคมีเนียร์มีลักษณะเฉพาะคือมีอาการรู้สึกหมุนรุนแรง สูญเสียการได้ยิน และมีเสียงในหู
- โรค BPPV เกิดจากผลึกแคลเซียมขนาดเล็กในหูชั้นในที่หลุดออก ทำให้เกิดความรู้สึกปั่นป่วนรุนแรงเป็นช่วงสั้นๆ อาการบ้านหมุนที่เกี่ยวข้องกับไมเกรนเป็นอีกอาการหนึ่งที่อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและคลื่นไส้ได้
- โรคระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนใหญ่จากสมองน้อย (Cerebellum)
- การติดเชื้อของระบบประสาท
- ความดันโลหิตต่ำ ความดันโลหิตต่ำยังส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งนำไปสู่อาการวิงเวียนศีรษะและหน้ามืดได้
อาการเวียนหัว บ้านหมุน คลื่นไส้ เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
เมื่อเราทราบถึงปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุนกันไปแล้ว มาดูต่อกันเลยว่า อาการเหล่านี้ที่เกิดขึ้น เป็นสัญญาณเตือนที่อาจก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง เพื่อที่เราจะได้เตรียมรับมือ และดูแลป้องกันการเกิดโรคต่อไปนี้ รวมไปถึงไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการได้ทันก่อนที่จะเป็นหนักไปมากกว่าเดิม
อาการบ้านหมุน เสี่ยงเกิดโรคอะไร
- โรคทางหู ไม่ว่าจะเป็นหูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นในได้ เช่น โรคหูชั้นนอกอักเสบกระดูกช่องหูหัก เลือดคั่งในหูชั้นกลาง เนื้องอกที่โพรงหลังจมูก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมไปถึงเนื้องอกประสาทการทรงตัวหรือเส้นประสาทการได้ยิน
- โรคทางสมองและระบบประสาทโรคระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนใหญ่จากสมองน้อย (Cerebellum)ความเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลางการติดเชื้อของระบบประสาท
- โรคแพ้ภูมิตัวเอง
- โรคเลือดจางและอื่น ๆ
- โรคหลอดเลือดตีบจากไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
- โรคกระดูกต้นคอเสื่อม
- โรคไต
- โรคภูมิแพ้
- ภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
- โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
วิธีแก้อาการเวียนหัว บ้านหมุนเบื้องต้น
อย่างที่ทราบกันว่า อาการเวียนหัว บ้านหมุน อาจก่อให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิต หรือการทำงานของแต่ละคนได้ ซึ่งได้รวบรวมวิธีแก้อาการบ้านหมุนเบื้องต้นมาไว้ให้แล้ว ซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและทำได้เลยในทันที มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
วิธีแก้อาการบ้านหมุนเบื้องต้น
- ถ้าเวียนหัว บ้านหมุนขณะขับรถ ให้จอดรถข้างทางเปิดไฟฉุกเฉินทันที
- ถ้าเวียนหัว บ้านหมุนขณะเดิน ให้หยุดเดินทันที หาที่นั่งพัก เพื่อป้องกันการล้มและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
- ถ้าเวียนหัว บ้านหมุนมาก ให้หยุดการเคลื่อนไหวทันที แล้วทำการนอนราบไปกับพื้น หาหลักที่ใดที่หนึ่งแล้วจ้องนิ่ง ๆ จนอาการเริ่มดีขึ้น จึงสามารถขยับหรือลุกขึ้นได้
- ลดหรืองดการดื่มสุรา ชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เช่น เครียด วิตกกังวล นอนน้อย และสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ
- หลีกเลี่ยงการขยับตัว หรือเคลื่อนไหวที่อาจจะทำให้เกิดอาการเวียนหัว เช่น การหมุนตัวเร็ว ๆ การหันหรือขยับคอเร็ว ๆ
- เลี่ยงสถานที่ที่เสียงดัง เนื่องจากเสียงที่ดังเกินไปจะส่งผลต่อหูโดยตรง จะทำให้เกิดอาการเวียนหัวได้
ท่าบริหารป้องกันอาการเวียนหัว บ้านหมุน
นอกจากการนั่งพัก หรือหยุดกิจกรรมต่าง ๆ ขณะที่เกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุนชั่วคราวจะทำให้ดีขึ้นแล้ว การบำบัดด้วยวิธีการบริหารร่างกายนั้นก็สามารถช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการฝึกเพื่อปรับสมดุลของการทรงตัว ทำให้อาการเวียนหัวที่เป็นอยู่บรรเทาลงได้
ท่าบริหาร(สาย)ตาและกล้ามเนื้อคอ
- นั่งอยู่ในท่าสบาย ๆ มองขึ้น-ลงอย่างช้า ๆ แล้วค่อย ๆ เริ่มทำให้เร็วขึ้นจนครบ 20 ครั้ง
- นั่งอยู่ในท่าสบาย ๆ มองไปทางซ้าย มองไปทางขวา อย่างช้า ๆ แล้วค่อย ๆ เริ่มทำให้เร็วขึ้นจนครบ 20 ครั้ง
- นั่งอยู่ในท่าสบาย ๆ หาจุดใดจุดหนึ่ง แล้วทำการจ้องมอง พร้อมกับค่อย ๆ หันศีรษะช้า ๆ จากด้านขวาไปทางด้านซ้าย ทำสลับกันเรื่อย ๆ จนครบ 20 ครั้ง
- นั่งอยู่ในท่าสบาย ๆ ยกนิ้วชี้ข้างใดข้างหนึ่งขึ้น แล้วใช้สายตามองไปที่ปลายนิ้วชี้ ค่อย ๆ เลื่อนนิ้วเข้ามาหาตัวเอง จนมีระยะห่างประมาณ 10 นิ้ว แล้วค่อย ๆ เลื่อนออกไปที่เดิม ทำเรื่อย ๆ จนครบ 20 ครั้ง
ท่าบริหารศีรษะ
- หลับตา ค่อย ๆ ก้มศีรษะ พร้อมกับการงอตัวไปด้วยให้เหมือนเป็นท่าโค้งไปข้างหน้า แล้วค่อย ๆ ยืดตัวกลับไปเป็นท่ายืนปกติ แล้วแหงนคอไปข้างหลังอย่างช้า ๆ ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนครบ 20 ครั้ง
- หันศีรษะไปทางด้านใดด้านหนึ่ง แล้วค่อย ๆ หันสลับไปอีกด้าน ทำซ้ำไปเรือย ๆ จนครบ 20 ครั้ง
สรุป
การที่เราดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่มีประโยชน์ รวมไปถึงการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ จะช่วยทำให้ห่างไกลจากโรคต่าง ๆ รวมไปถึงอาการเวียนหัว บ้านหมุนด้วย อย่างไรก็ตาม ก็ควรมีการเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ก็จะดีมาก ๆ เลยค่ะ