แปลกแต่จริง! “โรคขาอยู่ไม่สุข” สร้างความทุกข์ให้คุณแม้ขณะหลับ

ขาอยู่ไม่สุข คืออะไร ร้ายแรงไหม

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         คันยุก คันยิก เหมือน มีแมลง หรือ สัตว์ตัวเล็กตัวน้อย มาตอม มาไต่ บริเวณขาทั้งยามที่นั่งพักผ่อนอยู่เฉย ๆ หรือ แม้แต่ยามที่หลับพักผ่อน อาการเหล่านี้ถูกรวมเรียกว่า โรคขาอยู่ไม่สุข ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่ไม่เพียงทำให้เกิดความไม่สบายกาย ยังนำมาสู่ความไม่สบายใจ รวมไปถึงทำให้ผู้ที่มีอาการนี้เสียบุคลิกภาพด้วย และ บทความนี้จะขอพอทุกท่านไปพบกับ อาการ สาเหตุ รวมไปถึงวิธีการดูแลตัวเองเมื่อคุณเป็นโรคนี้กัน

สารบัญ

อาการที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังประสบกับสภาวะโรคขาอยู่ไม่สุข

         โรคขาอยู่ไม่สุข ( Restless Legs Syndrome ) คือสภาวะที่ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีแมลงไต่ที่ขาตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นยามนั่งพักผ่อน หรือ ยามนอน โดยโรคนี้สามารถพบได้ในคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ในบางครั้งก็พบโรคนี้ร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ไตวายเรื้อรัง โรคโลหิตจาง เป็นต้น ซึ่งอาการที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังประสบกับโรคขาอยู่ไม่สุขยังมีกลุ่มอาการอื่น ๆ อีก ดังนี้

โรคขาอยู่ไม่สุข อาการ

สัญญาณเตือนอาการโรคขาอยู่ไม่สุข

  1. เกิดความรู้สึกที่ขา ไม่ว่าเป็นอาการคัน อาการปวด หรือ อาการเหมือนถูกไฟช็อต
  2. ช่วงเวลาที่มักเกิด สามารถเกิดได้ทั้งช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้งานขาบริเวณนั้นเป็นเวลานาน ช่วงเวลาที่นั่งพัก หรือ แม้แต่ตอนนอน
  3. เกิดอาการตอนหลับ ส่วนนี้จะทำให้ผู้ที่เป็นโรคขาอยู่ไม่สุขเกิดการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งก็มาจากอาการเกิดขึ้นในขณะที่หลับ หรือ กำลังสะลึมสะลือจะหลับนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม : อาการโรคพาร์กินสัน ปัญหาทางด้านร่างกาย ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ

โรคขาไม่สุข เกิดจากสาเหตุอะไร ?

         โรคขาอยู่ไม่สุข แท้จริงแล้วเป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเพราะ พันธุกรรม การมีโรคประจำตัว หรือ แม้แต่พฤติกรรมการดำเนินชีวิตก็ตาม ซึ่งในด้านปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุการเกิดโรค เราได้รวบรวมมาให้ทุกท่านแล้ว ดังต่อไปนี้

โรคขาอยู่ไม่สุข เกิดจากอะไร

          1. การดื่มเครื่องดื่มบางชนิด โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน และ Alcohol ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้สามารถกระตุ้นร่างกายของางท่านให้เกิดอาการขาอยู่ไม่สุขได้
          2. ลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งนับเป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ เพราะผู้ที่เป็นโรคขาอยู่ไม่สุขกว่า 30% มักมีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน และสาเหตุในข้อนี้มักปรากฎอาการของโรคในช่วงอายุที่น้อยกว่า 40 ปี
         3. การเป็นโรคประจำตัวบางชนิด โรคประจำตัวก็เป็นสาเหตุที่นำไปสู่อาการขาอยู่ไม่สุขได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ โรคไตวาย หรือ โรคเบาหวาน หรือ โรคพาร์กินสัน หรือ โรคเส้นเลือดขอด และ โรคเรเนาด์
         4. การขาดธาตุอาหารบางชนิด ในส่วนนี้หากร่างกายมีความไม่สมดุลของธาตุอาหาร โดยเฉพาะส่วนของธาตุเหล็ก ก็จะทำให้เกิดโรคโลหิตจางขึ้นได้ และ ผู้ป่วยหลายท่านที่ประสบกับสภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กก็ทำให้เกิดอาการขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข เกิดจากอะไร

         5. การตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่หลายท่ายก็มักประสบปัญหากับโรคขาอยู่ไม่สุขเช่นกัน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย ซึ่งจะพบได้บ่อยในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 และ กลุ่มอาการดังกล่าวนี้จะหายไปเองมื่อคุณแม่ให้กำเนิดลูกน้อย
         6. การใช้ยาบางชนิด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาบางชนิดในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งก็จะทำให้เกิดอาการขาอยู่ไม่สุขแบบชั่วคราวได้ แต่หากใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดอาการขาอยู่ไม่สุขแบบถาวร ตัวอย่างยาที่ทำให้เกิดอาการขาอยู่ไม่สุข อาทิเช่น ยาแก้อาเจียน หรือ ยาแก้แพ้ เป็นต้น
         7. การประสบอุบัติเหตุอย่างร้ายแรง โดยอุบัติเหตุเหล่านี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องไปสู่ส่วนของไขสันหลัง หรือ อุบัติเหตุที่นำไปสู่ความเสียหายกับส่วนของเส้นประสาทที่ปลายนิ้วไม่ว่าจะเป็นปลายนิ้วเท้า หรือ ปลายนิ้วมือ

โรคขาอยู่ไม่สุขรักษาได้ไหม มีแนวทางรักษาอย่างไร ?

          อาการของ โรคขาอยู่ไม่สุข นอกจากจะทำให้เกิดความไม่สบายใจแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยเสียบุคลิกภาพอีกด้วย แต่ไม่ใช่ว่าโรคนี้จะไม่มีวิธีรักษาเสมอไป ในเมื่อวิธีแก้ขาอยู่ไม่สุขสามารถทำได้ด้วยการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรักษาที่ต้นเหตุในแต่ละบุคคล โดยมากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะมีการรักษา ดังนี้

โรคขาอยู่ไม่สุข รักษา

วิธีการรักษาโรคขาอยู่ไม่สุข

  1. การรักษาที่ต้นเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาที่เกี่ยวเนื่องกับการงดยาอื่น ๆ หรือ  แม้แต่การปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
  2. การรักษาโดยการทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล โดยเฉพาะสมดุลของแร่ธาตุอย่างธาตุเหล็ก ซึ่งจะช่วยลดการเกิดโรคโลหิตจาง อันเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการขาอยู่ไม่สุข
  3. การรักษาด้วยการปรับระดับชีวเคมีในร่างกาย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสั่งยาที่ช่วยให้เกิดความสมดุลของชีวเคมีในร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนของสาร Dopamine ที่มีผลต่อระบบประสาท ตัวอย่างยาที่แพทย์ใช้ก็เช่น Pramipexole

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคขาอยู่ไม่สุข

         หากท่านอ่านบทความมาจนถึงตรงนี้แล้ว แต่มีความกังวลว่า ตนเอง หรือ คนที่ท่านรัก กำลังเข้าข่ายอาการ โรคขาอยู่ไม่สุข อยู่หรือไม่ แนะนำว่าให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอาการให้แน่ชัด และนอกจากการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้ที่มีอาการขาอยู่ไม่สุขก็ต้องดูแลตัวเองด้วย ซึ่งมีวิธีดังนี้

วิธีดูแลตัวเอง โรคขาอยู่ไม่สุข

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคขาอยู่ไม่สุข

  1. นวดเท้าให้เกิดความผ่อนคลาย
  2. ประคบร้อน ประคบเย็น เพื่อบรรเทาอาการคัน
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และ เครื่องดื่ม Alcohol
  5. ใช้อุปกรณ์พันเท้า

สรุป

         กลุ่มอาการ โรคขาอยู่ไม่สุข เป็นกลุ่มอาการที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ในบางท่านที่ต้องพบปะสังสรรค์หรือติดต่องานสังคมก็จะทำให้เสียบุคลิกภาพได้ ยิ่งแล้วไปกว่านั้นหากอาการ โรคขาอยู่ไม่สุข มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของร่างกาย โดยเฉพาะโรคอื่น ๆ ที่นำมาซึ่งอาการนี้ ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยที่ทันท่วงที และ การรักษาที่รวดเร็วจะช่วยลดความรุนแรงของโรค และ ป้องกันการเกิดซ้ำในอนาคตได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup