โรคตุ่มน้ำพอง (เพมฟิกอยด์) เป็นแล้วเสียชีวิตได้เลยเหรอ?!

โรคตุ่มน้ำพอง เพมฟิกอยด์

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         นับเป็นข่าวดังในวงการบันเทิง กับการสูญเสียนักแสดงชื่อดัง “คุณเมฆ วินัย ไกรบุตร” จากโรคตุ่มน้ำพอง หรือโรคเพมฟิกอยด์ ซึ่งรักษาตัวมานานกว่า 5 ปี และเสียชีวิตลงในวัย 54 ปี จึงทำให้คนไทยให้ความสนใจกับโรคตุ่มน้ำพองมากขึ้น ด้วยชื่อที่ดูเหมือนไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่กลับคร่าชีวิตคนสำคัญในวงการบันเทิงไทยลงได้อย่างน่าใจหาย บทความนี้จึงชวนทุกท่านไปรู้จักกับโรคตุ่มน้ำพอง ทั้งสาเหตุ การเช็กอาการ แนวทางการรักษาและป้องกันค่ะ

สารบัญ

โรคตุ่มน้ำพอง เกิดจากอะไร?

         โรคตุ่มน้ำพอง หรือโรคเพมฟิกอยด์ (Bullous Pemphigoid) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือภูมิเพี้ยน ที่ไปทำลายโครงสร้างผิวหนัง จนทำให้เซลล์ผิวหนังหลุดออกจากกัน ผิวภายนอกจึงเห็นเป็นตุ่มน้ำพองใส และเป็นแผลถลอก ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้อย่างแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากการติดเชื้อหรือสารเคมีบางอย่าง นับเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้ไม่บ่อยมาก พบได้ประมาณ 3 คนในแสนคน

โรคตุ่มน้ำพอง เกิดจาก

         โรคตุ่มน้ำพอง พบได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ (พบมากในกลุ่มสูงอายุ) ซึ่งโรคตุ่มน้ำพองนี้ไม่ใช่โรคติดต่อจึงสามารถเข้าใกล้ผู้ป่วยได้ ทั้งโรคนี้ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยปกติไม่ได้ร้ายแรงหรือรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่หากมีการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือมีภาวะแทรกซ้อน ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้

         อย่างในกรณีของโรคคุณวินัย ไกรบุตร สาเหตุการเสียชีวิตนั้น เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และมีภาวะความดันโลหิตต่ำหรือความดันตก จนเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณวินัย ไกรบุตรเสียชีวิต จะเห็นได้ว่าโรคนี้ถึงภายนอกจะดูเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง แต่ในความเป็นจริงแล้วส่งผลกระทบไปถึงระบบสำคัญภายใน ดังนั้น เมื่อสงสัยว่าป่วย ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุโดยเร็ว

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย ออลล์เวล

230฿349฿

ขนาด 250 ml. และ 480 ml. | มีการรับรองความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

รหัสสินค้า: Lotion หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

โรคตุ่มน้ำพอง อาการเป็นอย่างไร?

         จุดสำคัญในการเฝ้าระวังโรคนี้ คือการหมั่นสังเกตสุขภาพผิวหนังว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพราะโรคตุ่มน้ำพอง ถึงจะเกิดจากภูมิคุ้มกันภายในที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าก็จริง แต่จะแสดงอาการเตือนออกมาให้เห็นผ่านผิวหนัง ดังนั้น ลองตรวจเช็กอาการของตนเองว่ามีอาการเหล่านี้ไหม หากพบว่ามีและน่าสงสัยที่จะเป็น แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย

โรคตุ่มน้ำพอง อาการ

อาการโรคตุ่มน้ำพอง

  • เริ่มจากพบรอยผื่นแดง คัน ที่บริเวณผิวหนัง
  • มีตุ่มน้ำใสพอง ขึ้นตามร่างกาย โดยตุ่มพองจะแตกง่ายและมีน้ำใส ๆ ออกมา หรือหากเกิดการติดเชื้อแล้วอาจเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็น
  • พบตุ่มพองมากบริเวณศีรษะ หน้าท้อง หน้าอก ทั้งยังพบตุ่มใสได้ตามเยื่อบุภายใน เช่น ในช่องปาก (พบมากที่เพดานและเยื่อบุแก้ม) ช่องคลอด ทางเดินหายใจ ฯลฯ
  • ตุ่มพองที่แตก จะกลายเป็นแผลถลอกและสะเก็ดเป็นวงกว้าง ดูคล้ายถูกน้ำร้อนลวก
  • บริเวณแผลถลอกจะมีความรู้สึกเจ็บปวดหรือแสบ
  • ผู้ป่วยบางคนมีภาวะกลืนลำบาก และเสียงแหบพร่า
  • หากเกิดการติดเชื้อในระบบกระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ความดันต่ำ และอาจเสียชีวิตได้
  • ถ้าหายจากโรคนี้แล้วจะไม่เป็นแผลเป็น แต่จะทิ้งรอยดำไว้บนผิวในช่วงแรก ๆ แล้วก็จะจางไป
คันมือ มีตุ่มใสที่นิ้ว เกิดจากอะไร บอกโรคอะไรได้บ้าง!?

วิธีรักษาโรคตุ่มน้ำพอง

         โรคตุ่มน้ำพอง หรือโรคเพมฟิกอยด์ สามารถรักษาให้หายได้ แต่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงมาก-น้อยของอาการที่เป็น ซึ่งมีทั้งการกินยาและรักษาผิวหนัง ดังนั้น หากพบว่าป่วยไม่ควรหาแนวทางรักษาด้วยตนเอง เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาวิธีการรักษาที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ยิ่งมีโอกาสในการรักษาให้หายได้สูง โดยวิธีการรักษาส่วนใหญ่จะมีดังนี้

โรคตุ่มน้ำพอง รักษา

การรักษาโรคตุ่มน้ำพองใสโดยแพทย์

  1. ให้ยากดภูมิ ร่วมกับยาแก้อักเสบ เพื่อควบคุมโรค หรืออาจให้ยาที่จะช่วยเปลี่ยนการทำงานของเซลล์ผิวหนัง ลดการเกิดตุ่มพอง อย่างไรก็ตามระยะเวลาในการรักษาโดยใช้ยาจะหายช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละบุคคล
  2. รักษาแผลภายนอกด้วยวิธีที่ถูกต้อง และเฝ้าระวังการติดเชื้อของแผลและโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ
  3. หากผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากหรือกินอาหารไม่ได้ แพทย์จะพิจารณาให้ให้อาหารทางสายเป็นการทดแทน

แนวทางการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคตุ่มน้ำพอง

         นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว ผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองหรือผู้ดูแลก็จำเป็นจะต้องดูแลตนเองด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าข่ายรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้รักษาตัวที่บ้าน จึงจำเป็นต้องรู้แนวทางในการดูแลตนเองให้อาการดีขึ้น และลดการเสี่ยงติดเชื้อรุนแรง

โรคเพมฟิกอยด์

  • ทำความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณบาดแผลด้วยน้ำเกลือ
  • ไม่ใช้ยาพ่น หรือยาพอกผิว ที่มีความระคายเคืองหรือมีสารอันตราย
  • ห้ามเกาหรือแกะแผลตามผิวหนัง
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะระคายเคืองผิวหนัง เช่น การใส่เสื้อผ้ารัดรูป อยู่กลางแสงแดดจัด
  • เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพและรสไม่จัด และงดการกินอาหารแข็ง ๆ ของขบเคี้ยว เพราะอาจทำให้เยื่อบุภายในช่องปากลอกหนัก
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ห้ามหักโหมหนักเกินไป และไม่ออกกำลังกายกลางแจ้ง

โรคตุ่มน้ำพอง

  • พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียดเพราะอาจกระตุ้นอาการให้แย่ลงได้
  • กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่หยุดยาหรือเพิ่ม-ลดยาเอง
  • หากต้องกินยากดภูมิ ร่างกายจะอ่อนแอ ดังนั้น ไม่ไปสถานที่ที่มีความแออัด ผู้ดูแลพยายามหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อได้
  • หากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง อุจจาระสีดำ อ้วกเป็นเลือด หรือโรคประจำตัวอื่น ๆ กำเริบให้รีบมาพบแพทย์โดยเร็ว
  • หากยังไม่หายจากโรค ไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะยารักษาที่กินจะส่งผลกับทารกในครรภ์
  • มาพบแพทย์ตามนัดเสมอ หมั่นเช็กอาการตนเองเป็นประจำ

สรุป โรคตุ่มน้ำพองใส ภัยที่ต้องระวัง

         หากถามว่า โรคตุ่มน้ำพอง หรือโรคเพมฟิกอยด์ อันตรายถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้เลยเหรอ? ต้องบอกเลยว่า โดยปกติแล้วไม่ได้มีอัตราที่เสียชีวิตจากโรคนี้สูงมากนัก โดยปกติจะสามารถรักษาให้หายได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาการก็มีความรุนแรงมาก สาเหตุส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตมักมาจากการติดเชื้อในกระแสเลือด พร้อมอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังนั้น หากพบว่าป่วยแล้วรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว ก็จะเพิ่มโอกาสหายจากโรคนี้ได้สูง

เรื่องผิวหนังน่ารู้

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup