เคล็ดลับ “อาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์” กินดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

อาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์

         พฤติกรรมการกินอาหาร คือสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่รู้หรือไม่ว่า?! หากเลือกกินอย่างถูกต้องและเหมาะสม อาหารจะสามารถเป็นยาที่ช่วยป้องกันและชะลออาการอัลไซเมอร์ได้ โดยปรับการกินควบคู่ไปกับการรักษาจากแพทย์  “อาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์” ควรเป็นอาหารแบบไหน และควรปรับพฤติกรรมการกินอย่างไรให้ดี ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันค่ะ

สารบัญ

อาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ป่วยแบบนี้ปรับการกินแบบไหนดี?

         ก่อนที่เราจะไปดูกันว่า ควรเลือกอาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์แบบไหนดี อย่างแรกเลยเราต้องรู้ก่อนว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์ กำลังเผชิญกับโรคอยู่ในระยะไหน เพราะโรคอัลไซเมอร์ในแต่ละระยะ ก็จะมีความแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของโรค ซึ่งเราจะต้องปรับการกินของผู้ป่วยให้เหมาะสมกับอาการที่พบ

อาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์

  • ระยะแรก : อาการทั่วไปเหมือนคนปกติ แต่จะพบเรื่องอาการหลงลืมที่เพิ่มเข้ามา ในระยะนี้ผู้ป่วยยังสามารถรับประทานอาหารเองได้ ยังไม่ค่อยพบการกินอาหารที่ผิดปกติ
  • คำแนะนำ : จัดการดูแลอาหารให้ถูกโภชนาการและเหมาะสม ครบทั้งห้าหมู่ ถ้ามีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ แนะนำให้กินในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง โดยแบ่งเป็น 4-8 มื้อต่อวันตามความเหมาะสม แกระตุ้นให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ระยะกลาง : ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ลืมว่าตัวเองกินข้าวหรือยัง มีอาการลืมหิว/ลืมอิ่ม และเริ่มมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง
  • คำแนะนำ : อาการลืมหิว/ลืมอิ่ม อาจส่งให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง อาจมีภาวะน้ำหนักน้อยหรือมากเกินไปได้ ในระยะนี้แนะนำให้ผู้ดูแลจัดอาหารผู้ป่วยให้เหมาะสมเหมือนในระยะแรก แต่หากสังเกตผู้ป่วยมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน ให้เน้นจัดอาหารที่มีพลังงานต่ำ เน้นเพิ่มผักและผลไม้ แต่หากผู้ป่วยผ่ายผอมจนเกินไป ให้จัดอาหารที่มีพลังงานสูงมากขึ้น ควบคู่ไปกับการกินอาหารเสริม ภายใต้การดูแลของแพทย์
  • ระยะสุดท้าย : ผู้ป่วยเริ่มมีภาวะกลืนลำบาก สำลักบ่อย มักช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือมีภาวะนอนติดเตียง
  • คำแนะนำ : หากผู้ป่วยยังกินอาหารเองได้ ให้จัดอาหารตามความเหมาะสมเหมือนผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะแรกและระยะกลาง แต่หากมีภาวะติดเตียงกินอาหารไม่ได้ แพทย์จะจัดให้ผู้ป่วยกินอาหารทางสายยาง ผู้ดูแลจัดการให้ถูกต้องเหมาะสมตามคำสั่งของแพทย์ และอาจเสริมวิตามินหรืออาหารเสริมเฉพาะทางการแพทย์ให้ผู้ป่วย ภายใต้การดูแลของแพทย์
รู้หรือไม่?! อาหารมังสวิรัติ – เจ เสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์สูง! กินยังไงให้ห่างไกลโรค

อาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์แบบไหน ช่วยชะลออาการได้

         อาหารบางชนิด จะมีสารอาหารที่ช่วยทำให้สมองแข็งแรง เสริมสร้างระบบประสาทและสมอง ช่วยทำให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีอาการต่าง ๆ ที่ดีขึ้น แต่อาหารที่กินจะต้องได้รับในปริมาณที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยทำควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ

อาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์

อาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์

  • โอเมก้า 3 ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำงานของสมอง โดยพบมากในปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาแซลมอน ปลาโอ แนะนำให้รับประทาน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • อาหารต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากอนุมูลอิสระจะทำลายเซลล์สมอง ทำให้เซลล์ต่าง ๆ เสื่อมไวขึ้น ฉะนั้นต้องกินอาหารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เช่น ลูกพรุน สตรอเบอรี่ ผลทับทิม หรือเครื่องเทศอย่างพริก กระเทียม และขิง
  • โคลีน เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาท พบมากในถั่วเหลือง ไข่แดง ผักใบเขียว ข้าวกล้อง กล้วย กะหล่ำปลี ฯลฯ
  • อาหารกลุ่มแป้ง ควรเน้นเป็นแป้งที่ดีและได้รับในปริมาณที่เหมาะสม เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ และธัญพืช
  • วิตามินหรืออาหารเสริมต่าง ๆ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนให้ผู้ป่วยทาน

นอกจากจะเลือกอาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่ดีแล้ว ผู้ดูแลควรจัดให้อาหารมีความครบถ้วนตามโภชนาการและในปริมาณที่เหมาะสมนะคะ

PLASMALOGEN (พลาสมาโลเจน)

Original price was: 4,200฿.Current price is: 3,500฿.

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพลาสมาโลเจนจากหอยเชลล์ |
อย.เลขที่ 10-3-17663-1-0001 | 60 แคปซูล/กล่อง

รหัสสินค้า: PMLG1PCS หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

ดูแลเรื่องการทานอาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์

         นอกจากเราจะจัดการเรื่องอาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่เหมาะสมแล้ว ต่อมาผู้ดูแลจำเป็นจะต้องช่วยให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้ถูกต้อง รวมทั้งผู้ดูแลเองจะต้องวางแผนการดูแลผู้ป่วยระหว่างกินอาหารอย่างเหมาะสมคู่ไปด้วย

อาหารสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์

  • กำหนดความหยาบหรือละเอียดของอาหาร ตามความสามารถในการเคี้ยวและกลืนอาหารของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการสำลักอาหารหรืออาหารติดคอ
  • จัดการเมนูอาหารตามที่ผู้ป่วยชอบ หรือมีความคุ้นเคย เพื่อช่วยกระตุ้นความทรงจำและทำให้ผู้ป่วยกินอาหารได้มากขึ้น โดยดูแลให้ได้รับโภชนาการที่ถูกต้อง
  • อาจส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการทำอาหารด้วย โดยจัดให้ผู้ป่วยทำสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ เน้นให้ผู้ป่วยทำสำเร็จ
  • ในทุกมื้ออาหาร ควรดูแลอุณหภูมิของอาหารให้เหมาะสม ไม่เย็นหรือร้อนจนเกินไป
  • เลือกช้อนและส้อมให้มีด้ามจับขนาดใหญ่ แต่น้ำหนักเบา เพื่อให้ผู้ป่วยถือจับได้สะดวก และเลือกใช้จาน ชาม แก้วน้ำ ที่มีสีเรียบแตกต่างจากสีโต๊ะอาหาร
  • ในมื้ออาหารควรมี 2-3 เมนู เพื่อความหลากหลาย ไม่น่าเบื่อ

อาหารดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

  • แบ่งอาหารต่าง ๆ ให้พอดีคำผู้ป่วย ให้สามารถกินด้วยตนเองได้ง่าย หรือตักใส่ช้อนให้พอดีคำ แล้วให้ผู้ป่วยทานเอง
  • จัดสิ่งแวดล้อมในการทานอาหารให้สว่างเพียงพอ มีอุณหภูมิเหมาะสม ให้ผู้ป่วยได้กินอาหารในเวลาเดิม ตำแหน่งในการนั่งที่เดิม ด้วยโต๊ะและเก้าอี้ตัวเดิม เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้ผู้ป่วย
  • ไม่ดูทีวีขณะทานอาหาร พยายามลดเสียงรบกวนต่าง ๆ
  • ผู้ดูแลคอยดูผู้ป่วยขณะทานอาหาร เพื่อจะได้สามารถช่วยเหลือหากเกิดอาการสำลักอาหาร อาหารติดคอ หรือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ได้ทันท่วงที
  • ไม่ตำหนิหากผู้ป่วยทานอาหารเลอะเทอะ กินอาหารไม่หมด และไม่ควรเร่งให้ผู้ป่วยทานอาหารไว ๆ
  • นอกจากอาหารแล้ว ต้องคอยดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำดื่มสะอาดที่เพียงพอด้วย
  • ถ้าผู้ป่วยมีโรคที่ต้องลดหรืองดเค็มและหวาน ควรเก็บอาหารหรือเครื่องปรุงต่าง ๆ ให้มิดชิด

สรุป

         ไม่น่าเชื่อว่าอาหารที่เรากินกันทุกวัน จะสามารถช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์ได้ ใครที่ยังไม่ได้เป็นอัลไซเมอร์ อาหารผู้ป่วยอัลไซเมอร์เหล่านี้ ก็จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ต้องลดพฤติกรรมการใช้ชีวิตอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ หรือทำให้โรคอัลไซเมอร์แย่ลง ดังนั้น หันมาดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ควบคู่ไปกับการกินที่ดีนะคะ

บทความที่น่าสนใจ

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup