“อาการสมองล้า” ประตูสู่โรคอัลไซเมอร์ มึนๆ เบลอๆ ต้องระวัง!

อาการสมองล้า

         ไม่ว่าช่วงวัยไหน เราต่างก็ใช้สมองในการทำงาน การเรียน หรือจดจ่อไปกับเรื่องสำคัญในชีวิต จนทำให้เราเกิดภาวะเครียดไม่รู้ตัว ส่งผลให้สมองเรานั้นทำงานอย่างหนัก จนนำไปสู่ “อาการสมองล้า” ซึ่งบอกเลยว่าเป็นภาวะร้ายที่ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นเลยค่ะ เพราะอาจทำให้เราเสี่ยงโรคร้ายอย่างโรคอัลไซเมอร์ หรือสมองเสื่อมได้ มาลองสำรวจกันว่าคุณเสี่ยงมีอาการสมองล้าหรือเปล่า? แล้วจะแก้อาการนี้ได้อย่างไรบ้าง?

สารบัญ

อาการสมองล้า คืออะไร?

         อาการสมองล้า (Brian Fog) คือ อาการเหนื่อยหรืออาการล้าที่เกิดขึ้นกับสมอง โดยภาวะสมองล้านี้จะมีการแสดงอาการที่เกิดขึ้นได้แตกต่างกันออกไป และเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศและทุกวัยอีกด้วย ไม่เว้นแม้กระทั่งวัยเด็กหรือวัยชรา อีกทั้งอาการสมองล้าก็เป็นอาการที่พบได้มากในกลุ่มผู้ที่มีความเครียดสะสมด้วยเช่นกัน

         อาการสมองล้า จะมาโดยไม่รู้ตัวจากการที่สมองถูกใช้งานอย่างหนักเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากการทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน หรือพักผ่อนน้อย ซึ่งส่งผลให้ ประสิทธิภาพการทำงานของสมองแย่ลง และหากเกิดบ่อยครั้งจะกลายเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคกระเพาะ โรคเบาหวาน โรคอ้วน ภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมไปถึงโรคอัลไซเมอร์

สัญญาณเตือนว่าคุณอาจมี “อาการสมองล้า”

         หลักจากที่เรารู้กันไปแล้วว่าอาการสมองล้าคืออะไร มาเช็กกันต่อเลยค่ะ ว่าคุณมีภาวะอาการสมองล้า หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นอาการสมองล้ากันบ้างไหม สัญญาณที่บ่งบอกว่าตัวคุณเองหรือคนรอบข้างอาจกำลังตกอยู่ในอาการสมองล้า เป็นอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

อาการสมองล้า

สัญญาณเตือนอาการสมองล้า

  • มีอาการปวดหัว
  • มึน งง ไม่ค่อยเข้าใจอะไร
  • รู้สึกสมองตื้อ
  • จดจำสิ่งที่เพิ่งทำไปไม่ได้
  • มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ
  • ความรู้สึกนึกคิดช้า
  • อารมณ์แปรปรวน
  • หงุดหงิดง่าย
  • ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ค่อยได้
รู้หรือไม่?! ภาวะสมองเสื่อม ≠ อัลไซเมอร์ มาเช็กความต่างของสองโรคนี้กัน!!

อาการสมองล้า เกิดจากสาเหตุอะไร?

         เมื่อเราทราบแล้วว่าอาการสมองล้านั้นสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเพศหรือวัยไหนก็ตาม จากนั้นเราก็มาดูกันต่อค่ะว่า อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอาการสมองล้า มาจากการใช้ชีวิตประจำวันหรือไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปไหม มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

อาการสมองล้า

1.สารสื่อประสาทในสมองเสียสมดุล จากการถูกรบกวนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นที่แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของคนเรา ซึ่งถูกปล่อยออกมาเมื่อคุณมีการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บแล็ต ติดต่อกันเป็นเวลานานในแต่ละวัน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้สารสื่อประสาทถูกรบกวนเป็นอย่างมาก นำไปสู่การทำให้เกิดอาการล้าของสมองขึ้นได้นั่นเอง

2.เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้สมองเกิดความมึนงง โดยมาจากทั้งความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งสาเหตุในข้อนี้เป็นสาเหตุที่สามารถพบได้บ่อยในวัยทำงานหรือวัยชรา

3.การได้รับสารพิษหรือสารปนเปื้อนในชีวิตประจำวัน ที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันเลยก็คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 นอกจากนี้ก็ยังมีสารพิษที่ปะปนมากับน้ำและอาหารอีกด้วย

สมองล้า เกิดจาก

4.การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้สมองอ่อนล้า ไม่ได้พักผ่อน และเสี่ยงต่อการเสื่อมได้ง่าย

5.การขาดสารอาหารหรือวิตามิน ที่มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินบีที่มักพบในข้าวซ้อมมือ

6.การดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ และต้องใช้การแข่งขันกับเวลา ที่จะนำไปสู่ความเครียดสะสมของสมอง

7.การอยู่ในที่ที่อากาศไม่ถ่ายเทและอากาศไม่บริสุทธิ์ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาทิเช่น การอยู่ในที่ที่มีการสูบบุหรี่ หรือ การอยู่ในเหมืองที่ต่ำกว่าระดับผิวโลกเป็นเวลานาน

อาการอัลไซเมอร์ ต้นเหตุของภาวะสมองเสื่อม โรคที่เป็นมากกว่าการหลงลืม

มารักษา อาการสมองล้า ด้วยการปรับพฤติกรรมกันเถอะ!

         แม้ว่าอาการสมองล้าจะเป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้ทั้งการเรียน การทำงาน การใช้วีวิตประจำวัน รวมไปถึงการเข้าสังคม แต่อาการสมองล้านี้สามารถรักษาได้ โดยเราได้รวบรวมวิธีการแก้อาการสมองล้ามาให้ทุกท่านแล้ว มีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

อาการสมองล้า

  • ปรับพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยการจำกัดเวลาการใช้ หากคุณต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ดังกล่าวตลอดทั้งวันแล้ว เมื่อถึงเวลาพักผ่อนคุณก็ควรหากิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ดังกล่าวมาทำแทน
  • หลีกเลี่ยงงานหรือกลุ่มสังคมที่ทำให้เกิดความเครียดหรือความขัดแย้ง แล้วนำไปสู่ความเครียดที่สมองสามารถรับรู้ได้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ขั้นต่ำควรอยู่ที่ 6 – 8 ชั่วโมงต่อวัน
  • ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนที่เพียงพอต่อการไหลเวียนเลือดที่สมอง
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองอย่างครบถ้วน

อาการสมองล้า

  • การหลีกเลี่ยงจากมลภาวะทั้งฝุ่น ควันและแสงแดด โดยทุกท่านควรสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเมื่อต้องเดินทางออกไปนอกบ้าน หรือ ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไว้ภายในบ้านหรือภายในอาคาร
  • หากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ช่วยเพิ่มสมาธิและลดความเครียดจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน
  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ทำลายสมอง ทั้งเครื่องดื่ม Alcohol และของหมักดองอื่น ๆ
  • กินอาหารเสริมบำรุงสมอง เป็นอีกวิธีสำคัญที่จะช่วยรักษาอาการสมองล้าได้ แถมยังช่วยบำรุงให้สมองแข็งแรง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
อาหารเสริมบำรุงสมอง
อาหารเสริมบำรุงสมอง

สรุป

         อาการสมองล้า เป็นอาการที่มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการดำเนินชีวิตประจำวันของเราเอง และบางกิจวัตรเราก็อาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เราเองก็ควรลดและปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตดังกล่าวรวมถึงท่านใดที่ตกอยู่ในสภาวะหรืออาการดังกล่าวแล้วก็ควรรักษาอาการสมองล้าให้หายนอกจากนี้คุณก็ควรป้องกันอาการหรือสภาวะดังกล่าวนี้ทั้งในตัวคุณเองและคนรอบข้างที่คุณรัก เพื่อให้สมองกลายเป็นอวัยวะที่สดใสอยู่คู่กับร่างกายได้อย่างยาวนาน

ความรู้น่าสนใจเกี่ยวกับสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup