รู้จัก “อาการซันดาวน์” ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก้าวร้าว-เห็นภาพหลอน หลังตะวันตกดิน?!

         นอกจากปัญหาเรื่องการหลงลืมแล้ว อีกหนึ่งอาการที่ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์เกือบทุกบ้านต้องพบ คืออาการผิดปกติของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ ช่วงเวลานั้นอยู่ ๆ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็ก้าวร้าว โวยวาย หรือกระสับกระส่ายผิดปกติ บางคนอาจเห็นภาพหลอนหนัก ทั้ง ๆ ที่ช่วงกลางวันอาการยังปกติดีอยู่ นั่นคือสัญญาณของอาการซันดาวน์ค่ะ แต่ว่าอาการซันดาวน์คืออะไรนั้น ไปทำความรู้จักพร้อม ๆ กันค่ะ

สารบัญ

Checklist อาการซันดาวน์ ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์?

         อาการซันดาวน์ เป็นหนึ่งภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ แต่ผู้ดูแลหลายคนอาจจะไม่ทราบว่าผู้ป่วยที่บ้านมีอาการซันดาวน์ เพราะลักษณะอาการไม่ได้มีอะไรที่พิเศษไปกว่าอาการอัลไซเมอร์ แต่ที่น่ากังวลคือความรุนแรงของอาการอัลไซเมอร์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเราพอจะสังเกตอาการซันดาวน์ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ มาลองเช็กดูว่า ผู้ป่วยที่บ้านมีอาการเหล่านี้หรือเปล่า?

อาการซันดาวน์ เป็นอย่างไร?

  • ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
  • อาจมีอารมณ์เศร้า ซึม ร้องไห้ผิดปกติ
  • กระสับกระส่าย สับสน อยู่ไม่นิ่ง
  • หวาดระแวง เห็นภาพหลอน หูแว่ว
  • อยู่ดี ๆ ก็เอาสิ่งของไปซ่อน หรือซ่อนตัวเอง
  • ถามซ้ำบ่อย หลงลืมมากขึ้นกว่าปกติ
  • ปีนออกจากเตียง ไม่ยอมนอน
  • เดินวนไปวนมา

อาการซันดาวน์เหล่านี้ มักเกิดในช่วงเวลาบ่าย เย็น หรือค่ำ ในเวลาเดิมทุกวัน หรือวันเว้นสองวัน ในบางราย มีอาการสัปดาห์ละครั้ง

PLASMALOGEN (พลาสมาโลเจน)

Original price was: 4,200฿.Current price is: 3,500฿.

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพลาสมาโลเจนจากหอยเชลล์ |
อย.เลขที่ 10-3-17663-1-0001 | 60 แคปซูล/กล่อง

รหัสสินค้า: PMLG1PCS หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

อาการซันดาวน์ เกิดจากอะไร?

         อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า อาการซันดาวน์ คือ อาการอัลไซเมอร์หรือพฤติกรรมอันเนื่องจากภาวะสมองเสื่อม ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาบ่าย หรือหลังพระอาทิตย์ตกดิน จึงถูกเรียกว่า Sundown Syndrome หรือก็คือ อาการซันดาวน์ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ซึ่งอาการซันดาวน์เกิดจากสาเหตุไหน ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยเหล่านี้ค่ะ

สาเหตุของอาการซันดาวน์

  • ผู้ป่วยพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการอ่อนล้าทางด้านร่างกาย
  • เกิดจากความผิดปกติทางด้านจิตใจ เช่น เครียด เหงา เศร้า
  • หิวหรืออิ่มจนเกินไป ทำให้ไม่สบายตัว
  • กิจวัตรประจำวันไม่เป็นเวลา หรือเวลาเปลี่ยนไปจากที่เคย
  • สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น เปลี่ยนที่นอน เปลี่ยนสถานที่
  • ไม่ได้ออกไปรับแสงธรรมชาติ หรือรับน้อยไป
  • การได้ยินหรือการมองเห็นบกพร่อง จึงทำให้คิดไปเองหรือสับสนเข้าใจผิดได้
  • ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงผิดปกติ
  • ผลของยาบางชนิด
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ไม่ยอมนอน อันตรายนอกสายตาผู้ดูแล แก้อย่างไรดี?

แก้ปัญหาอาการซันดาวน์ ได้อย่างไรบ้าง?

        อาการซันดาวน์ นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอัลไซเมอร์ หรือสมองเสื่อมที่รุนแรงขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว สิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยคือความไม่สบายใจของผู้ดูแล ที่จะต้องรับมือกับอาการรุนแรงที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ดังนั้น เรามาดูวิธีลดอาการซันดาวน์ หรือรับมือกับอาการเหล่านั้นกันค่ะ

  • สร้างกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยให้เป็นเวลา เช่น เวลาตื่น เวลานอน เวลากินข้าว ฯลฯ ตามตารางหรือช่วงเวลาเดิมทุกวัน หากต้องมีการปรับเปลี่ยนตาราง แนะนำให้ค่อย ๆ เปลี่ยนไปทีละน้อย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้ ไม่เปลี่ยนกะทันหันเกินไป
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม : แน่นอนว่าผู้ดูแลต้องจัดให้ผู้ป่วยกินข้าวให้เป็นเวลาและตรงเวลา นอกจากนี้จะต้องจัดสรรปริมาณอาหารของผู้ป่วยให้เหมาะสม ไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกหิวหรืออิ่มเกินไป หลีกเลี่ยงการกินอาหารมื้อหนัก ๆ ในตอนเย็น เพื่อช่วยให้เขารู้สึกสบายท้องและช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น และต้องงดให้ผู้ป่วยดื่มคาเฟอีนที่มีผลต่อการนอนหลับของผู้ป่วย
  • ออกไปรับแสงนอกบ้าน : หนึ่งในสาเหตุของอาการซันดาวน์คือเรื่องของแสง แนะนำให้พาผู้ป่วยออกไปรับแสงแดดอ่อน ๆ ช่วงเช้าเพื่อให้ผู้ป่วยรู้เวลา เข้าใจว่าเวลาไหนควรตื่นควรนอน อีกทั้งแสงยังทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน ช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น
  • ปรับแสงในบ้าน : เมื่อใกล้เข้าสู่ช่วงที่จะเกิดอาการซันดาวน์ หรือช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ ให้ผิดม่านปิดหน้าต่างภายในบ้าน แล้วเปิดไฟให้สว่าง แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องเข้านอน ก็ให้ปิดไฟในห้องนอน แล้วเปิดโคมไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอที่ผู้ป่วยจะมองเห็น แต่ไม่สว่างจนนอนไม่หลับ

เตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุ

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ALLWELL รุ่น Floore ฟังก์ชันครบ มาพร้อมไฟใต้เตียง ป้องกันการหกล้มในตอนกลางคืน

  • จัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย : จัดให้บ้านสงบ มีอุณหภูมิที่เหมาะสม หากต้องเปลี่ยนสถานที่อยู่อาศัย เช่น ย้ายจากบ้านไปอยู่โรงพยาบาล ให้พยายามจัดเตียงนอนหรือแวดล้อมรอบ ๆ ให้เหมือนอยู่บ้าน เอาผ้าห่มหรือหมอนที่ใช้ประจำไปด้วย
  • หากิจกรรมลดความเครียดให้ผู้ป่วยทำ : ทำให้ใจเย็นลง ลดอาการสับสนและกระสับกระส่าย เช่น อ่านหนังสือที่ชอบ การเปิดเพลงช้า ๆ ที่ผู้ป่วยชอบคลอเบา ๆ หากผู้ป่วยชอบสัตว์ก็หาสุนัขหรือแมวมาเลี้ยง เพื่อให้เค้าได้เล่นหรือกอดลูบสัตว์ จะช่วยให้ใจเย็นลง
  • ออกกำลังกายลดอาการนอนไม่หลับ : ผู้ป่วยอาการซันดาวน์หลายคนมักประสบปัญหานอนไม่หลับหรือไม่ยอมนอน แนะนำให้ผู้ดูแลจัดให้ผู้ป่วยมีการออกกำลังกายเบา ๆ ในระหว่างวัน หรือพาไปเดินเล่นสวนสาธารณะบ้าง แต่งดออกกำลังกายในช่วง 4 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะจะทำให้ผู้ป่วยนอนหลับยาก
  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย : ว่าปัจจัยหรือสาเหตุอะไรที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการต่าง ๆ รุนแรงขึ้น ทำให้ผู้ป่วยหงุดหงิดไม่พอใจ หรือหวาดกลัว แล้วพยายามกำจัดปัจจัยเหล่านั้น เพื่อให้ผู้ป่วยสบายใจ และไม่มีตัวกระตุ้นทำให้เกิดอาการซันดาวน์

สรุป

         ปัญหาเรื่องอาการซันดาวน์ เป็นหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งหลายครั้งก็ยากที่ผู้ดูแลจะรับมือไหว ทางที่ดี คือการค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยให้เป็นเวลามากขึ้น ตามวิธีรับมืออาการซันดาวน์ที่บทความนี้นำมาฝาก หากลองทำสักระยะยังไม่ได้ผล แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาหายารักษา หรือแนวทางรักษาอื่นต่อไป

ความรู้น่าสนใจเกี่ยวกับสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup