บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
ไส้เลื่อน (hernia) คือภาวะที่มีเนื้อเยื่อโผล่ตามจุด หรือพื้นที่ที่มีความอ่อนแอบนผนังหน้าท้อง อาจเป็นตำแหน่งใดก็ได้ ทำให้มองเห็นลักษณ์ก้อนนูนขึ้นมา โดยเนื้อเยื่อที่โผล่ออกมานี้อาจจะเป็นเนื้อไขมัน ลำไส้ หรือกระเพาะปัสสาวะก็ได้ หากสังเกตพบว่ามีเนื้อเยื่ออะไรโผล่ขึ้นมาตามผนังของหน้าท้อง ให้สันนิษฐานไว้เลยว่า นี่อาจจะเป็นอาการของไส้เลื่อนก็เป็นได้ ไส้เลื่อน อาการเป็นอย่างไร สามารถเกิดขึ้นกับใครบ้าง บทความนี้มีคำตอบ8jt
สารบัญ
- เช็ก! ไส้เลื่อน อาการเป็นแบบไหน?
- ไส้เลื่อน เกิดจากอะไร? ไม่ใส่กางเกงในบ่อย ๆ เกี่ยวหรือเปล่า?
- ไส้เลื่อน รักษาเองได้ไหม?
- วิธีป้องกันโรคไส้เลื่อน
เช็ก! ไส้เลื่อน อาการเป็นแบบไหน?
หากพูดถึงโรคไส้เลื่อน เชื่อว่าหลาย ๆ คนมักจะเข้าใจผิดว่า เป็นโรคที่สามารถเกิดกับผู้ชายเท่านั้น แต่รู้ไหมว่า ไส้เลื่อน อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับชายและหญิง ซึ่งไส้เลื่อนอาการในผู้หญิงและชาย จะมีอาการคล้ายคลึงกัน ใครที่สงสัยว่ากำลังเป็นโรคไส้เลื่อนอยู่หรือเปล่า ลองเช็กอาการดูค่ะ
อาการไส้เลื่อน
- คลำพบก้อนนูน นิ่ม ๆ ในบริเวณหน้าท้อง ขาหนีบ กระบังลม ใต้สะดือ หัวหน่าว ถุงอัณฑะ (ไส้เลื่อนลงอัณฑะ) แต่ในบางคนก็อาจไม่มีก้อนเนื้อนูนออกมา
- เวลาดันก้อนนูน หรือนอนลง ก้อนดังกล่าวจะยุบลง แต่จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนเวลา ไอ จาม ยกของหนัก ลุกขึ้นยืน และเบ่งปัสสาวะ-อุจจาระ
- ปวดท้องเวลา ไอ จาม
- ท้องอืด ท้องผูกอยู่บ่อย ๆ เวลาอุจจาระแล้วมักมีเลือดปน
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะกรดไหลย้อนร่วมด้วย
- บางรายจะรู้สึกคลื่นไส้บ่อย ๆ
สินค้าสุขภาพ บันทึกประวัติและประเมินผลผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ไส้เลื่อน เกิดจากอะไร? ไม่ใส่กางเกงในบ่อย ๆ เกี่ยวหรือเปล่า?
โรคไส้เลื่อน เกิดจากการที่มีความดันในช่องท้องสูงผิดปกติ ร่วมกับการที่กล้ามเนื้อและพังผืดที่หน้าท้องหย่อนยาน จนทำให้ลำไส้เลื่อนหรือเคลื่อนตัวไปยังบริเวณต่าง ๆ นั่นก็คือบริเวณที่เราพบก้อนนูนนิ่ม ๆ ขึ้นมานั่นเอง ดังนั้น ไส้เลื่อน อาการที่มักพบจึงเป็นการพบก้อนนูนตามบริเวณหน้าท้อง หัวหน่าว ขาหนีบ หรือไปยังบริเวณอัณฑะได้ โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
ไส้เลื่อน เกิดจากอะไร?
- ผู้ที่มีอาการไอเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, วัณโรค, มะเร็งปอด เป็นต้น
- มีภาวะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาก หรือเป็นโรคอ้วน
- ยกของหนักเป็นประจำ
- ท้องผูกบ่อย หรือชอบเบ่งอุจจาระ-ปัสสาวะ
- ตั้งครรภ์
- ผู้ชายที่มีภาวะต่อมลูกหมากโตผิดปกติ,
หลายคนอาจมีความเชื่อว่า ไส้เลื่อน เกิดจากการที่ไม่ใส่กางเกงในบ่อย ๆ ต้องบอกเลยว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดค่ะ อย่างที่เราได้พูดถึงไปแล้วข้างต้นว่า ไส้เลื่อนสามารถเกิดได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ดังนั้น ต่อให้ผู้หญิงไม่ใส่กางเกงในบ่อย ๆ ก็ไม่ทำให้เป็นโรคไส้เลื่อนค่ะ
อ่านบทความ : โรคอ้วน เสี่ยงสารพัดปัญหาสุขภาพ! รีบคุมก่อนสายเกินแก้ไส้เลื่อน รักษาเองได้ไหม?
ไส้เลื่อน อาการเหล่านี้ ไม่สามารถรักษาให้หายเองได้ จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยการรักษาโรคไส้เลื่อนมีตั้งแต่การทานยารักษา และการรักษาโดยการผ่าตัด โรคไส้เลื่อนบางชนิดไม่อันตรายมาก ก็สามารถรักษาได้โดยการทานยา แต่ถ้าเป็น โรคไส้เลื่อน อาการ ที่รุนแรงมาก การรักษาที่ดีที่สุดก็คือการผ่าตัด ซึ่งการรักษาโดยการผ่าตัดนั้นก็จะมีด้วยกัน 2 แบบคือ
1.การผ่าตัดผ่านการส่องกล้อง (laparoscopic surgery)
การผ่าตัดผ่านการส่องกล้อง เป็นวิธีรักษาโรคไส้เลื่อนที่ได้รับความนิยม เนื่องจากว่าเป็นการเจาะรูบริเวณหน้าท้อง และทำการรักษา ซึ่งแผลผ่าตัดเล็กมาก พักฟื้นไม่นาน เสียเลือดน้อย และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากการผ่าตัด หรือแผลติดเชื้อ ได้เป็นอย่างดี
2.การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (open surgery)
การรักษาโดยการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง แพทย์จะทำการผ่าตัดตรงที่นูน และดันอวัยวะที่เกินออกมาดันกลับเข้าไปข้างใน จากนั้นก็เย็บแผลพร้อมใส่วัสดุสังเคราะห์ลักษณะคล้ายกับตาข่าย เพื่อป้องกันไม่ให้อวัยวะส่วนนั้นปลิ้นกลับออกมาอีก และเสริมความแข็งแกร่งให้กับผิวหนังส่วนนั้น หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นตามลำดับ และอาจพักฟื้นนานกว่าการผ่าตัดผ่านกล้อง ไส้เลื่อน อาการ จะดีขึ้น เมื่อได้รับการผ่าตัดรักษา ไม่สามารถที่จะหายเองได้
วิธีป้องกันโรคไส้เลื่อน
จากที่เราทราบกันบ้างแล้วว่าโรคไส้เลื่อน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย อาการไส้เลื่อน คือมีเนื้อเยื่อนูนออกมาบริเวณช่องท้อง ถ้าหากไม่อยากเป็นโรคไส้เลื่อน การดูแลตัวเองด้วยวิธีดังต่อไปนี้ จะช่วยลดภาวะการเกิดโรคไส้เลื่อนได้ มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย
วิธีการดูแลตัวเองไม่ให้เป็นไส้เลื่อน
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่อ้วนจนเกินไป
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่มีกากใยสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ หรือธัญพืชต่างๆ
- ไม่ยกของที่มีน้ำหนักมาก ถ้าจำเป็นต้องยกจะต้องยกอย่างถูกวิธี เช่น ทำท้องให้แฟบ พร้อมกับนั่งย่อเขาแทนที่จะก้มแล้วยกของเลย
- การไอเรื้องรัง หากมีอาการไอ ต้องรีบรักษาให้หายขาด อย่าปล่อยให้ไอเรื้องรัง
- ไม่เบ่งถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ บ่อยๆ
- ไม่สูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้ผู้ที่กำลังสูบบุหรี่
- ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีนเช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ฯลฯ เพื่อป้องกันการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร สาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน เพราะสามารถลามมาเป็นไส้เลื่อนกระบังลมได้เช่นกัน
สรุป
โรคไส้เลื่อน อาการ อาจจะดูรุนแรง แต่สามารถรักษาได้ หากเริ่มมีอาการอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรค ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้ จนเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ไส้เลื่อนไม่สามารถรักษาเองได้ จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาโดยการทานยา และการผ่าตัดจากแพทย์เฉพาะทาง สำหรับใครที่อยากห่างไกลโรคดังกล่าวนี้ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมกับปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นนี้ ก็จะทำให้ห่างไกลจากโรคไส้เลื่อนได้