อาการไบโพลาร์ อารมณ์สองขั้ว รับมือได้ไม่ยากถ้าเข้าใจ

อาการไบโพลาร์

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         หลายปีมานี้ เราคงคุ้นหูกับอาการไบโพลาร์กันมากขึ้น เพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ง่าย และจำนวนคนที่พบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้เรารู้ถึงอาการและวิธีรับมือเบื้องต้น จากการสำรวจพบว่า 3% ของประชากรโลกทั้งหมด ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคไบโพลาร์

         ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภาวะซึมเศร้ามากกว่าอารมณ์ดี หรือในบางรายอาจเกิดอารมณ์ทั้งสองสภาวะสลับกันไปมา ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับอาการไบโพลาร์กันดีกว่า เพื่อจะได้เป็นความรู้ในการเฝ้าระวังตนเองและผู้คนรอบข้างนั่นเอง

สารบัญ

โรคไบโพลาร์ คืออะไร อาการไบโพลาร์ เกิดมาจากอะไร

         ไบโพลาร์หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า โรคอารมณ์สองขั้ว มีสาเหตุมาจากสารเคมีในสมองมีการทำงานผิดปกติ หรือในผู้ป่วยบางคนได้รับมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือคุณแม่หลังคลอดที่มีความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานาน เป็นอาการทางจิตที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว อาการไบโพลาร์เบื้องต้น ที่มักพบในผู้ป่วยคือ การแสดงออกผ่านอารมณ์ที่สุดโต่ง ไม่ว่าจะดีหรือร้าย สามารถสังเกตให้เห็นได้ถึงความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

อาการไบโพลาร์

         โดยอาการเหล่านี้ไม่สามารถควบคุมได้ จะเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายชั่วโมง หลายวัน หรือเป็นสัปดาห์กว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก หากเกิดบ่อยครั้ง รวมถึงการดำเนินชีวิตประจำวัน และอาจส่งผลเป็นตัวทำร้ายความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอีกด้วย

สัญญาณเตือนอาการไบโพลาร์

         อย่างที่ทุกท่านรู้กันว่า อาการไบโพลาร์ คือ โรคผิดปกติทางอารมณ์ ซึ่งอาการไบโพลาร์นี้สามารถรักษาให้กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ ถ้าหากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งอาการไบโพลาร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้ดังนี้

โรคไบโพลาร์

ระยะของอาการไบโพลาร์

1.ระยะแมเนีย

         เป็นระยะเริ่มต้นที่ผู้ป่วยอาการไบโพลาร์ มักจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย อารมณ์แปรนปรวนเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย รวมไปถึงมักจะมีอาการที่ร่าเริงผิดปกติ หรือมีอาการเงียบซึม เศร้า ซึ่งในระยะแมเนีย สามารถแบ่งกลุ่มอาการย่อยได้อีก 2 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มไฮโปแมเนีย เป็นกลุ่มอาการไบโพลาร์เริ่มต้น ผู้ป่วยมักมีพลังล้นเหลือ และระบบความคิดที่รวดเร็ว สามารถคิด คำนวณได้อย่างรวดเร็ว
  • กลุ่มแมเนียเต็มรูปแบบ ผู้ป่วยระยะนี้มักมักมีอารมณ์รุนแรง พูดเร็ว เพราะความคิดผุดขึ้นมาในหัวมากมาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีความคิดทำหลายอย่างอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่สามารถทำสำเร็จได้

2.ระยะซึมเศร้า

         การเข้าสู่ระยะนี้ ต้องอาศัยระยะเวลานานพอสมควร ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ระยะสุดท้ายมักจะรู้สึกเบื่อหน่ายในการใช้ชีวิต ในการทำงานและพบปะผู้คน มักเก็บตัวนอนอยู่บ้านอย่างเดียว มองโลกในแง่ร้าย และมีความคิดเดิมซ้ำๆ วนเวียนอยู่ในหัวตลอดเวลา บางรายอาจคิดเรื่องฆ่าตัวตาย จนในที่สุดก็นำตนเองไปสู่ความตายได้

โรคซึมเศร้า อาการ เป็นอย่างไร? ความเศร้ารุนแรงที่ต้องระวังไว้ ก่อนที่จะสายเกินไป!

อาการไบโพลาร์ ต่างจากโรคซึมเศร้ายังไง

         ยังมีหลายท่านเข้าใจผิดว่าโรคไบโพลาร์ เป็นโรคเดียวกันกับโรคซึมเศร้า ซึ่งแน่นอนว่าผลสุดท้ายแล้วสำหรับอาการของโรคทั้งสองนี้ จะนำพาไปสู่การเสียชีวิตของผู้ป่วยได แต่จริง ๆ แล้ว สาเหตุของการเกิดและอาการที่แสดงออกมีความแตกต่างกัน ดังนี้

อารมณ์แปรปรวนเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย

สาเหตุของการเกิดและอาการที่แสดงออกมีความแตกต่างกัน

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการไบโพลาร์ เกิดจากสารเคมีในสมองส่วนหน้าทำงานผิดปกติ เช่น เซโรโทนิน โดพามีน เมลาโทนิน เป็นต้น จึงทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์แปรปรวนอย่างสุดโต่ง แต่สำหรับโรคซึมเศร้า เกิดจากการหลั่งของเซโรโทนินในสมองลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไม่สนุกสนาน เบื่อ เหงา เศร้า ท้อแท้ เป็นต้น
  2. ลักษณะอาการของผู้ป่วยต่างกัน ในผู้ป่วยมีอาการไบโพลาร์จะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ แต่จะมีทั้งอารมณ์ดีและอารมณ์ร้ายเกิดขึ้นสลับกันไปมา แต่สำหรับโรคซึมเศร้าอาการที่แสดงออกอย่างเห็นได้ชัดคือ ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนแรง เหนื่อยง่าย ใจลอย ไม่มีสมาธิ และรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ เบื่อหน่ายกับการงาน การใช้ชีวิต
เครื่องวัดความดัน
เครื่องวัดความดัน ตัวช่วยจับความดันสูง เลือกอย่างไรจึงจะเหมาะสม?

อาการไบโพลาร์รักษาได้ไหม ดูแลตัวเองอย่างไร

         หลังจากที่เราทราบกันไปแล้วว่า อาการไบโพลาร์เกิดจากอะไรได้บ้าง และมีอาการอย่างไร ต่อมาเรามาดูกันค่ะว่า การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไบโพลาร์รักษาอย่างไรดี ซึ่งในปัจจุบันสามารถทำได้ แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือของแพทย์และจิตแพทย์ ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีการรักษา ดังนี้

อาการไบโพลาร์เบื้องต้น

ขั้นตอนการรักษาอาการไบโพลาร์

  • ใช้ยาในการรักษา เนื่องจากสาเหตุหลักที่นำไปสู่การเกิดอาการไบโพลาร์ในผู้ป่วย ดังนั้นในการให้ยา แพทย์จึงมุ่งเน้นไปที่การปรับสมดุลสารสื่อประสาทในสมองให้กลับมาทำงานปกติ ซึ่งเป็นยาในกลุ่มควบคุมอารมณ์ ยาต้านอาการทางจิต เป็นต้น
  • การบำบัดสภาพจิต สำหรับผู้ป่วยไบโพลาร์จำเป็นที่จะต้องพูดคุยและปรึกษาอาการต่าง ๆ กับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อหาทางออก และวิเคราะห์สภาพจิตใจไปพร้อม ๆ กับการรักษาทางกายภาพ
  • รักษาด้วยกระแสไฟฟ้า เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง เพื่อให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้น มักนิยมใช้กับผู้ป่วยอาการรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาของแพทย์

โรคอารมณ์สองขั้ว

  • การรักษาด้วยคีตามิน เป็นการให้ยาคีตามินผ่านทางหลอดเลือดดำ ที่สามารถต้านอาการรุนแรงของผู้ป่วยได้ โดยส่วนใหญ่ใช้กับผู้ป่วยที่คิดฆ่าตัวตาย
  • การบำบัดความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วย การบำบัดด้วยวิธีนี้ มุ่งเน้นไปที่การปรับความคิดอัตโนมัติของผู้ป่วย ให้มีความคิดเชิงบวกมากขึ้น และปรับพฤติกรรมบางอย่างที่นำไปสู่อาการไบโพลาร์ได้ การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยระยะเริ่มต้น ที่ยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายที่รุนแรงใด ๆ

PLASMALOGEN (พลาสมาโลเจน)

Original price was: 4,200฿.Current price is: 3,500฿.

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพลาสมาโลเจนจากหอยเชลล์ |
อย.เลขที่ 10-3-17663-1-0001 | 60 แคปซูล/กล่อง

รหัสสินค้า: PMLG1PCS หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

สรุป

         อาการไบโพลาร์เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ที่ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองมีอาการหรือเริ่มก้าวเข้าสู่ระยะแรกของโรคไบโพลาร์ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่คนใกล้ตัวต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมที่แปลกไปของเพื่อน พ่อแม่ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นๆ ให้รู้เท่าทันอาการของตน และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปล่อยอาการเหล่านั้นไว้นาน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาต่อไป ก่อนที่จะสายเกินแก้จะดีกว่า

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup