ดูแลแผลไม่ดี เสี่ยง! บาดทะยัก อาการติดเชื้อที่อาจถึงชีวิต!!

บาดทะยัก

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         คนส่วนใหญ่แล้ว มักเข้าใจว่า โรคบาดทะยัก อาการป่วยแบบนี้เกิดจากการที่เราได้รับบาดแผลจากสิ่งของที่ไม่สะอาด เช่น สังกะสีที่มีสนิม และหากเมื่อโดนบาดหรือเกิดแผลแล้วนั้น จำเป็นต้องไปหาหมอเพื่อทำการฉีดยากันบาดทะยัก ซึ่งจริง ๆ แล้วโรคบาดทะยักเกิดจากอะไรได้บ้าง มีอาการเป็นอย่างไร แล้วมีวิธีการรักษาแบบไหน เราได้ทำการรวบรวมข้อมูลมาไว้ในบทความนี้แล้วค่ะ

สารบัญ

บาดทะยัก อาการเป็นอย่างไร

         หากเรามีบาดแผลเกิดขึ้นที่ผิวหนังแล้วนั้น เราควรที่จะมีวิธีการดูแลและทำความสะอาดแผลอย่างถูกวิธี รวมไปถึงการรักษาความสะอาดด้วย ถ้าหากดูแลไม่ดี แผลติดเชื้อ ก็อาจก่อให้เกิดโรคโรคบาดทะยัก อาการแผลอักเสบนี้ได้ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคบาดทะยัก มักจะมีอาการ ดังต่อไปนี้

บาดทะยัก อาการ

อาการของโรคบาดทะยัก

เครื่องวัดความดัน

บาดทะยัก อาการป่วยนี้เกิดจากสาเหตุอะไร

         บาดทะยักหรือที่เรียกว่าโรคขากรรไกร เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นอันตรายอย่างมาก เนื่องจากส่งผลต่อระบบประสาท และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนเลยค่ะ ว่าโรคบาดทะยัก อาการป่วยนี้เกิดจากอะไรได้บ้าง

บาดทะยัก อาการ

โรคบาดทะยัก เกิดจาก

  • เกิดจากแบคทีเรีย Clostridium tetani ที่จะสร้างสปอร์ที่มีสารพิษ ซึ่งพบได้ทั่วไปในดิน ฝุ่นละอองและมูลสัตว์
  • แบคทีเรียสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผลเปิด แผลเจาะ หรือแม้แต่บาดแผลและรอยขีดข่วนเล็กน้อย เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้ว แบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนและปล่อยสารพิษที่เรียกว่า tetanospasmin
  • สารพิษนี้แพร่กระจายไปตามกระแสเลือดและส่งผลต่อเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ซึ่งนำไปสู่อาการเฉพาะของบาดทะยัก ซึ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาทโดยตรง
แผลปัสสาวะกัด ไม่ใช่แผลกดทับ แต่ทรมานไม่ต่างกัน! แก้อย่างไรดี?

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดบาดทะยัก อาการติดเชื้อ

         นอกจากโรคบาดทะยัก อาการเจ็บป่วยและติดเชื้อนี้ จะเกิดจากการที่ผิวหนังของเรามีแผลแล้วแผลเกิดการติดเชื้อจากเชื้อโรคแล้วนั้น โรคบาดทะยักก็ยังสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัยอีกด้วย โดยปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดอาการอักเสบ อาการติดเชื้อนี้ มีดังต่อไปนี้

แผลบาดทะยัก

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดบาดทะยัก

  1. การขาดภูมิคุ้มกันหรือการได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วน บาดทะยักสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน ซึ่งสร้างภูมิคุ้มกันต่อแบคทีเรีย อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ไม่ได้รับวัคซีนบาดทะยักหรือฉีดวัคซีนกระตุ้นไม่ครบตามที่แนะนำจะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ
  2. บาดแผลที่ปนเปื้อนและการดูแลบาดแผลที่ไม่ดียังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดบาดทะยัก หากไม่ทำความสะอาดและรักษาบาดแผลอย่างถูกต้อง อาจทำให้ติดเชื้อ Clostridium tetani ได้
  3. บาดแผลที่ปนเปื้อนดิน มูลสัตว์ หรือแหล่งที่มาของแบคทีเรียอื่นๆ มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การติดเชื้อบาดทะยัก
  4. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมก็มีบทบาทในการแพร่เชื้อบาดทะยักเช่นกัน Clostridium tetani มักพบในดิน โดยเฉพาะดินที่ปนเปื้อนอุจจาระสัตว์ ดังนั้นบุคคลที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องสัมผัสกับดินหรืออุจจาระของสัตว์จึงมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ

บาดทะยัก อาการอักเสบรุนแรงถึงตายไหม รักษาให้หายได้ไหม

         อันตรายของบาดทะยักอยู่ที่ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และก็ส่งผลอัตรายต่อการเสียชีวิต สาเหตุหลักที่ทำให้บาดทะยักเป็นอันตรายมากคือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อบาดทะยักอาจส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนี้

ใครที่ไม่ควรกินน้ำเย็น

ผลกระทบของโรคบาดทะยัก

  • ภาวะแทรกซ้อน ระบบทางเดินหายใจ บาดทะยักอาจทำให้หายใจลำบาก เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หายใจจะแข็งและแข็งเกร็ง สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การหายใจล้มเหลวและความจำเป็นในการใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • ภาวะแทรกซ้อน โรคปอดบวม ซึ่งเป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ภาวะแทรกซ้อน ระบบหัวใจและหลอดเลือดเกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้ ใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นผิดปกติ

บริจาคเลือดเตรียมตัว

  • ภาวะแทรกซ้อน ระบบประสาท พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคบาดทะยัก อาการบาดทะยัก จะมี อาการชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากผลของสารพิษบาดทะยักต่อระบบประสาท
  • ภาวะแทรกซ้อน ทางจิตใจอาจเกิดขึ้นได้จากประสบการณ์การเป็น โรคบาดทะยัก โรควิตกกังวลและโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ
  • ภาวะแทรกซ้อน จากการทำงานอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแต่ละคนอย่างมีนัยสำคัญ ความยากลำบากในการพูด การกลืน และการเคลื่อนไหว เป็นภาวะแทรกซ้อนในการทำงานทั่วไปที่สามารถคงอยู่ได้แม้หลังจากการติดเชื้อได้รับการรักษาแล้ว
แผลเบาหวาน ไม่ต้องตัดขา ป้องกันได้! เรื่องน่ารู้ที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรมองข้าม

วิธีป้องกันโรคบาดทะยัก อาการป่วยนี้

         แม้ว่าโรคบาดทะยัก อาการเจ็บป่วยและติดเชื้อนี้ จะสามารถสร้างความเจ็บปวด และอาจรุนแรงมากถึงขั้นเสียชีวิตได้นั้น แต่ถ้าหากเราได้รับการดูแลแผล รักษาความสะอาดแบบถูกวิธี แผลก็ไม่ติดเชื้อได้ ซึ่งเราได้ทำการรวบรวมวิธีป้องกันโรคบาดทะยักมาให้แล้ว

บาดทะยัก อาการ

วิธีป้องกันโรคบาดทะยัก อาการติดเชื้อนี้

  • ฉีดวัคซีนโรคบาดทะยัก จะให้ภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยักได้อย่างถาวรเป็นระยะยาว ถ้าฉีดได้ครบตามกำหนด โดยจะให้รวมกับ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ และไอกรน
  • หากได้รับบาดแผล ที่เสี่ยงจะเป็นแผลบาดทะยัก จะต้องรีบทำแผลให้สะอาดทันที โดยการล้างด้วยสบู่ให้สะอาด ซับแผลให้แห้ง แล้วเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือใช้ทิงเจอร์ใส่แผลสดเช็ดทำความสะอาดแผลก่อน ก่อนที่จะเข้าไปพบแพทย์
  • ในส่วนของคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักเลยสักเข็ม เมื่อมีแผลควรได้รับการฉีดท็อกซอยด์ป้องกันบาดทะยัก และแอนติท็อกซิน ในกรณีที่แผลใหญ่สกปรก ในรายที่เคยฉีดวัคซีนมาแล้ว เป็นระยะเวลานานเกิน 5 ปี  หรือหากเป็นแผลใหญ่ ที่มีความสกปรกมาก อาจจำเป็นจะต้องฉีดกระตุ้น เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้กับโรคนี้ และในรายที่มีการฉีดวัคซีนเกิน 10 ปี เมื่อมีแผลเกิน 24 ชั่วโมงเป้นต้นไป ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับรายที่ไม่เคยได้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักได้เลย

สรุป

         หากเราได้รับบาดแผล ไม่ว่าจะเป็นแค่รวยข่วน เป็นแผลเล็ก หรือเป็นแผลใหญ่ เราก็ควรมีวิธีการดูแล และรักษาความสะอาดให้กับแผลอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก อาการอักเสบ หรือติดเชื้อที่บาดแผลได้ แต่ถ้าหากแผลมีอาการอักเสบ ก็ควรมีการเข้าพบแพทย์เพื่อทำการดูแลรักษาให้หายดีต่อไป

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup